ความท้าทายด้านESGในปี66

แนวคิดเกี่ยวกับ “การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน Environment, Social และ Governance หรือ ESG กำลังเป็นกระแสที่ภาคธุรกิจและนักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่นักลงทุนจะใช้ประกอบในการพิจารณาการลงทุนมากขึ้น โดยจะให้ความสำคัญกับธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ในปี 2566 ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความกังวลทางด้านเศรษฐกิจที่เผชิญกับความไม่แน่นอนและชะงักงัน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG ของภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาครัฐก็มีแนวโน้มให้ความสำคัญด้าน ESG มากขึ้น จากการกำหนดนิยามกลุ่มกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) มาตรการภาษีคาร์บอนระหว่างประเทศ การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการด้าน ESG และมาตรการป้องกัน Greenwashing

สำหรับความท้าทายทางเศรษฐกิจในปี 2566 นั้นมาจาก แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนสูง และมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน และข้อจำกัดในการหาแหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ ส่งผลต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจในปีนี้ และการตัดสินใจลงทุนในด้าน ESG ของภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ การจัดทำร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ในภาคพลังงานและภาคการขนส่งนั้น เป็นตัวสะท้อนทิศทางการดำเนินนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากภาคพลังงานและภาคขนส่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากธุรกิจเหล่านี้มีแผนการปรับตัวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกก็จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสีเหลือง อันจะมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

 “ภาคธุรกิจสามารถใช้ Thailand taxonomy ในการวางแผนปรับตัวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำไปอ้างอิงเป็นข้อมูลเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ สถาบันการเงินสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อม หน่วยงานรัฐจะมีข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปกำหนดนโยบายส่งเสริมภาคธุรกิจในกลุ่มสีเขียวและสีเหลือง ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวได้รับโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนต่ำลง ในขณะที่กิจการในกลุ่มสีแดงอาจเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น”

ขณะที่ ทั่วโลกก็ได้มีการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ อียู ที่เตรียมปรับใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ตั้งแต่ 1 ต.ค.2566 เป็นต้นไป สำหรับสินค้านำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้มข้น และอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวเนื่อง และในอนาคตก็มีโอกาสที่จะขยายให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบผู้ส่งออกประมาณ 2,800 ราย มูลค่าการส่งออก 45,200 ล้านบาท

เช่นเดียวกับสหรัฐที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) จากสินค้านำเข้าในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้มข้น แม้ว่าร่างกฎหมายจะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาโดยวุฒิสภาสหรัฐ แต่ก็มีการประเมินว่าจะมีผู้ประกอบการส่งออกไทยไปยังสหรัฐตามอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1,600 ราย และมีมูลค่าการส่งออกในปี 2564 ของอุตสาหกรรมการส่งออกหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระดาษ และผลิตภัณฑ์แก้ว จำนวน 75,500 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า นอกเหนือจากประเด็นความท้าทายด้าน ESG 3 ข้อ ได้แก่ ความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจในปี 2566, Thailand Taxonomy ทิศทางการดำเนินนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่มีความชัดเจนขึ้น และแนวโน้มการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของทั่วโลกที่เข้มงวดขึ้นแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) เป็นต้น ที่จะมาเป็นอีกปัจจัยผลักดันให้การดำเนินการด้าน ESG และการบรรลุเป้าหมายทางการลดปัญหาสภาพภูมิอากาศตามแผนงานขององค์กรได้เห็นภาพมากขึ้น.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า