จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยมี Virtual Bank ‘ธนาคารไร้สาขา’?

เมืองไทยกำลังจะมี “Virtual Bank” หรือ “ธนาคารเสมือนจริง” หรือ “ธนาคารไร้สาขา” ในเร็วๆ นี้

ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับการปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก

ข่าวบอกว่าสมรภูมิการชิงใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยค่อนข้างจะคึกคัก เพราะในช่วงแรกแบงก์ชาติจะออกให้ 3 ใบก่อนเป็นการทดลองสนามจริง หลังจากฟังความเห็นประชาชนในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์นี้

เกณฑ์เบื้องต้นคือต้องมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่  5,000 ล้านบาท และต้องคุมเข้มระบบไอทีที่จะคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเต็มที่ โดยจะห้ามระบบล่มเกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้งเป็นต้น     

ความเข้มข้นในการควบคุมมีความสำคัญมาก เพราะเมื่อทุกอย่างเกิดขึ้นบนมือถือ และเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับคนไทย แบงก์ชาติก็ต้องตั้งกำแพงไว้สูงเพื่อสกัดพวกมิจฉาชีพที่จะคอยฉวยโอกาสช่วงเปลี่ยนผ่านนี้หลอกลวงประชาชน

เพราะเมื่อเทคโนโลยีสามารถเอื้อต่อการยกระดับคุณภาพบริการของภาคการเงินได้ มันก็เปิดทางให้มีการ  “ปล้นธนาคาร” ทางดิจิทัลได้เช่นกัน

แบงก์ชาติบอกว่า Virtual Bank จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์กลุ่มที่เข้าไม่ถึงบริการการเงิน (Under-Served) และกลุ่มที่บริการการเงินแบบเดิมหรือ  Physical Finance ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ คำว่า Virtual Bank กำลังจะเป็นจริงสำหรับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น

ก่อนหน้าจะเกิด “ธนาคารเสมือนจริง” วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานระบบการเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นระบบ Promptpay การยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล

การปรับกฎหมายเพื่อให้สถาบันการเงินสามารถให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจาก  Mobile Banking ที่ทุกคนคุ้นเคยยังมีผลิตภัณฑ์การเงินเกิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในการให้บริการแล้ว Virtual Bank มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากธนาคารที่เรารู้จักในวันนี้อย่างไร

สรุปง่ายๆ คือธนาคารในยุคดิจิทัลจะมีความแปลกแตกต่างไปจากธนาคารแบบเดิม เช่น

  • ไม่มีสาขาและตู้ ATM แต่มีสำนักงานใหญ่
  • ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งกระบวนการ
  • มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์รูปแบบเดิม
  • มีความยืดหยุ่นกว่าธนาคารรูปแบบเดิม สามารถออกนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ตามการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้บริโภค
  • สร้างประสบการณ์การให้บริการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีบัญชีเงินฝากแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก ซึ่งเจ้าของบัญชีสามารถแบ่งบัญชีออกเป็นบัญชีย่อยได้ตามวัตถุประสงค์ในการฝากเงิน
  • บัญชีเงินฝากจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป และอาจได้รับดอกเบี้ยเป็นรายวัน
  • มี AI ที่ช่วยแนะนำการออมและการใช้จ่ายให้เหมาะกับพฤติกรรมของเจ้าของบัญชี
  • เปิดบัญชีได้ง่ายๆ เพียงแค่มีสมาร์ทโฟน
  • ให้สินเชื่อโดยผู้กู้ไม่ต้องแสดงหลักฐานรายได้ และมีการอนุมัติสินเชื่ออย่างรวดเร็ว
  • มีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยเช่น เชื่อมบัญชีเงินฝากกับระบบทำบัญชีออนไลน์ เป็นต้น

ในต่างประเทศได้มีการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์รูปแบบเดิม และ Non-Bank ที่เคยทำธุรกิจทางการเงิน และมีความสามารถในด้านเทคโนโลยี  เช่น บริษัท  FinTech, บริษัทอีคอมเมิร์ซ, บริษัทโทรคมนาคม  หรือบริษัทที่ให้บริการบนแพลตฟอร์ม สามารถจัดตั้ง  Virtual Bank ได้หลายรูปแบบ ได้แก่

 1.ตั้งบริษัทลูกแยกออกจากธนาคารพาณิชย์รูปแบบเดิม

2.ตั้งเป็นบริษัทลูกของ Non-Bank

3.การร่วมทุนระหว่างธุรกิจต่างๆ เช่น การร่วมทุนระหว่างธนาคารพาณิชย์รูปแบบเดิมกับ Non-Bank  หรือการร่วมทุนระหว่าง Non-Bank ต่างประเภทที่สามารถเสริมจุดแข็งระหว่างกันได้

ประสบการณ์ต่างประเทศพบว่ามีลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะรับสมัครลูกค้าได้ง่าย และระบบ KYC  (Know Your Customer) หรือการระบุตัวตนของลูกค้าสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงได้มีการเชื่อมโยงฐานลูกค้าจากธุรกิจแพลตฟอร์มเดิมที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

ในหลายประเทศได้ออกหลักเกณฑ์ใบอนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank และดำเนินธุรกิจไปบ้างแล้ว เช่น  บราซิล สหราชอาณาจักร มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน  ฮ่องกง จีน เกาหลีใต้

ผลิตภัณฑ์และบริการที่น่าสนใจของ Virtual  Bank ในต่างประเทศ เช่น บัญชีเงินฝากที่ไม่มีสมุดคู่ฝาก โดยให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าบัญชีเงินฝากทั่วไป  และอาจได้รับดอกเบี้ยเป็นรายวัน

ที่เมืองจีนมี WeBank ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาของกลุ่ม Tencent ผู้ให้บริการ WeChat ทุกวันนี้ WeBank สามารถขยายฐานลูกค้าได้กว่า 100 ล้านคน โดยต่อยอดธุรกิจจากการที่มีฐานลูกค้าเดิมเป็นจำนวนมาก

สามารถนำข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้ามาประมวลผลเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

เช่น การนำพฤติกรรมของลูกค้าด้านการใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กมาจัดทำ Credit Scoring แบบใหม่ และอนุมัติสินเชื่ออย่างรวดเร็ว ทำให้ Virtual Bank ในจีนประสบความสำเร็จ

ของไทยเราไปถึงไหน?

​ลักษณะสำคัญของ Virtual Bank ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการ ได้แก่

1.ต้องมีขอบเขตการประกอบธุรกิจเหมือนธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิมอย่างเต็มรูปแบบ และอยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม

2.ต้องจดทะเบียนจัดตั้งและมีสำนักงานใหญ่หรือบริษัทแม่ในไทย เพื่อให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจผ่านหน่วยงานในไทยได้

ปัจจุบัน ธนาคารหลายแห่งก็เริ่มปรับตัวไปในทิศทาง  Virtual Bank มากขึ้น ถึงแม้จะยังไม่มี Virtual  Bank ในไทย แต่ไทยเรามีบริการทางการเงินในรูปแบบ  Social Banking หรือบริการธนาคารออนไลน์บนแอปโซเชียลมีเดียอย่าง LINE BK ซึ่งเป็นบริการทางการเงินที่ผู้ใช้บริการสามารถโอน ออม ยืม จ่ายได้ในแอปพลิเคชัน LINE เพียงแค่เปิดบัญชีเงินฝาก LINE  BK เท่านั้น ช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการทางการเงินให้ผู้ใช้งาน

​ผู้บริโภคควรเตรียมตัวอย่างไร

 จากทิศทางของระบบการให้บริการทางการเงินที่มีแนวโน้มเป็น Virtual Bank มากขึ้น แนะนำให้ผู้บริโภคเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ดังนี้

 -ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยใช้งาน Internet Banking และ Mobile  Banking อย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน

-เรียนรู้วิธีการจัดการเงินใหม่ๆ และวิธีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างปลอดภัย เช่น ตั้งรหัสผ่านให้คาดเดาได้ยาก เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน ใช้การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนเมื่อทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวแก่ผู้อื่น

-ศึกษาข้อมูล เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนใจให้แน่ใจก่อนตัดสินใจ เนื่องจากอนาคตผู้บริโภคจะสามารถเข้าถึงและมีทางเลือกมากขึ้นในการใช้บริการทางการเงินที่มีความหลากหลาย อาจได้รับข้อเสนอที่จูงใจ ทั้งที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากยิ่งขึ้น หรือข้อเสนอที่เกินจำเป็นนำไปสู่พฤติกรรมการเงินที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากที่สูง ได้รับอนุมัติสินเชื่ออย่างรวดเร็วทันใจในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

ประเทศแรกที่ออกใบอนุญาต Virtual Bank ในภูมิภาคนี้คือสิงคโปร์ โดย MAS ได้ออกใบอนุญาตสองรูปแบบคือ ประเภทที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป เช่นรับฝากเงิน โอนเงิน และกู้เงิน

โดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตนี้คือ Grab ที่จับคู่มากับ  Singtel และ Sea เจ้าของแพลตฟอร์ม Shopee

ส่วนอีกแบบคือ ให้บริการแก่ลูกค้าธุรกิจ เน้นปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มเอสเอ็มอี โดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตคือ  ANT Group

คำถามคือ แล้วธนาคารใหญ่ๆ ที่รู้จักกันดีอย่าง  DBS, UOB และ OCBC ทำไมไม่ได้ไลเซนส์นี้ คำตอบคือ ธนาคารพาณิชย์พวกนี้ได้รับใบอนุญาตไปในตัวแล้ว เพราะทำแพลตฟอร์ม Mobile Banking มาก่อนหน้านี้แล้ว

เท่ากับว่าสิงคโปร์มีผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน และไม่ได้เป็นลูกครึ่งลูกเสี้ยวด้วยมาสองสามปีแล้ว เห็นได้จาก Grab Singtel Sea  และ ANT Group ไม่มีใครเป็นสถาบันการเงินสักราย

ของไทยจะเป็นอย่างไร...อีกไม่นานก็รู้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ