บนเส้นทาง เซาเปาโล – รีโอเดจาเนโร

รถไฟบราซิลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรถไฟขนส่งสินค้า รถไฟโดยสารที่เคยเป็นของรัฐถูกแปรรูปเป็นของเอกชนในช่วงปี ค.ศ. 1996 – 1999 แต่หลังจากนั้นหลายเส้นทางประสบปัญหาขาดทุน รถและรางถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม และใช้การไม่ได้ จนต้องปิดตัวลงไปเป็นจำนวนมาก ทุกวันนี้เหลืออยู่เฉพาะในรัฐใหญ่ อาทิ เซาเปาโล และรีโอเดจาเนโร ส่วนรถไฟโดยสารข้ามรัฐนั้นมีแค่ 2 เส้นทาง และไม่ใช่ระหว่างเซาเปาโลและรีโอเดจาเนโร  

นครเซาเปาโลอยู่ห่างจากนครรีโอเดจาเนโรประมาณ 430 กิโลเมตร หากนั่งเครื่องบินจะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง เที่ยวบินระหว่าง 2 เมืองนี้มีทุกๆ 10 นาที ผมสามารถฝากสัมภาระไว้ที่เกสต์เฮาส์ในเซาเปาโลและบินตัวเบาโดยไม่ต้องจ่ายค่าน้ำหนักกระเป๋า แต่เลือกนั่งรถบัส แม้จะใช้เวลานานถึงประมาณ 7 ชั่วโมง เพราะรู้ดีว่าระหว่างการเดินทางจะมีเรื่องราวน่าตื้นเต้นมากกว่าเป็นไหนๆ

รถไฟบราซิลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรถไฟขนส่งสินค้า รถไฟโดยสารที่เคยเป็นของรัฐถูกแปรรูปเป็นของเอกชนในช่วงปี ค.ศ. 1996 – 1999 แต่หลังจากนั้นหลายเส้นทางประสบปัญหาขาดทุน รถและรางถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม และใช้การไม่ได้ จนต้องปิดตัวลงไปเป็นจำนวนมาก ทุกวันนี้เหลืออยู่เฉพาะในรัฐใหญ่ อาทิ เซาเปาโล และรีโอเดจาเนโร ส่วนรถไฟโดยสารข้ามรัฐนั้นมีแค่ 2 เส้นทาง และไม่ใช่ระหว่างเซาเปาโลและรีโอเดจาเนโร  

ลักษณะห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารของสถานีขนส่ง Terminal Tiete

นครเซาเปาโลอยู่ห่างจากนครรีโอเดจาเนโรประมาณ 430 กิโลเมตร หากนั่งเครื่องบินจะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง เที่ยวบินระหว่าง 2 เมืองนี้มีทุกๆ 10 นาที ผมสามารถฝากสัมภาระไว้ที่เกสต์เฮาส์ในเซาเปาโลและบินตัวเบาโดยไม่ต้องจ่ายค่าน้ำหนักกระเป๋า แต่เลือกนั่งรถบัส แม้จะใช้เวลานานถึงประมาณ 7 ชั่วโมง เพราะรู้ดีว่าระหว่างการเดินทางจะมีเรื่องราวน่าตื้นเต้นมากกว่าเป็นไหนๆ

ผมจองตั๋วโดยสารของ Flixbus เพราะเคยใช้บริการในยุโรปสองสามครั้ง ราคาถูกและมีความน่าเชื่อถือ ฝากกระเป๋าแบบล้อลากไว้ที่เกสต์เฮาส์ บอก “ไตส์” เจ้าของที่พักว่ากลับจาก “รีโอ” จะมาพักกับเธออีก

ลาก่อนชั่วคราวเซาเปาโล

แบกเป้ออกจากที่พักเวลา 7 โมงนิดๆ เดินไปนั่งรถไฟใต้ดิน 2 ต่อถึงสถานี Portuguesa-Tiete ราว 8 โมง สถานีรถบัส Terminal Tiete อยู่ติดกับสถานีรถไฟใต้ดิน ผมเดินหาป้าย Flixbus ตามช่องขายตั๋วที่เรียงกันอยู่เป็นตับนับจำนวนไม่ถ้วน คิดว่าจะนำตั๋วที่อยู่ในมือถือเปลี่ยนเป็นตั๋วกระดาษ หาอยู่นานก็ไม่เห็นป้าย Flixbus หาป้าย Adamantina ซึ่งเป็นผู้ให้บริการท้องถิ่นที่จับมือกับ Flixbus จากเยอรมนีในการทำตลาดและระบบจำหน่ายตั๋ว ก็ไม่เจอป้าย Adamantina เช่นกัน ตัดสินใจลงบันไดเลื่อนไปยังชั้นล่างซึ่งเป็นชั้นชานชาลา ตั๋วระบุไว้ว่าปกติแล้วรถของ Flixbus จะให้บริการที่ช่อง 61-67 ด้านบนของประตูหน้าชานชาลาแต่ละช่องมีจอแสดงเที่ยวรถและบริษัทรถ ผมไม่เห็นของทั้ง Flixbus และ Adamantina คงเพราะว่ายังเช้าเกินไป จึงขึ้นไปชั้นบนอีกครั้ง

สอบถามพนักงานในช่องขายตั๋วของบริษัทหนึ่ง เขาชี้บอกตำแหน่ง ผมก็ยังหาไม่เจอ ถามพนักงานอีกช่อง ก็ชี้เหมือนเดิม ผมหันกลับไปหาเขา คนนี้สามารถมองเห็นทั้งผมและป้าย Flixbus เขาโบกมือชี้นิ้วจนผมไปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วยกนิ้วโป้ง หมายความว่าถูกช่องแล้ว ผมก็ยังมองไม่เห็นป้าย Flixbus อยู่ดี หากแต่เป็นป้ายของบริษัท NSA Paraguay ถามคนที่ยืนเข้าคิวอยู่ว่า “ใช่ Flixbus มั้ย?” เขาตอบ Yes”

จอหน้าช่องขายตั๋วขึ้นภาพวนไปเรื่อยๆ แล้วภาพโลโก้ Flixbus ก็โผล่ขึ้นมา รวมถึง Adamantina ผมถ่ายภาพตอนเข้าคิวไว้ มาดูภาพนี้เมื่อผ่านไปหลายวันแล้ว เห็นป้ายสีเขียวทึมๆ ของ Flixbus พาดอยู่เหนือป้ายช่องขายตั๋วกินพื้นที่ 3 ช่อง ป้ายช่องขายตั๋วล้วนเป็นสีขาวและมีแสงนีออนอยู่ภายใน ทำให้มองป้าย Flixbus ไม่เห็นเพราะสีหม่นๆ ถูกกลืนไปกับพื้นหลังและเพดาน ยิ่งใจร้อน ไม่มีสติเพียงพอ ยิ่งหาไม่เจอ หลายคนที่เข้าคิวอยู่มีปัญหาเดียวกัน

พอถึงคิวของผม พนักงานหลังเคาน์เตอร์แจ้งแค่ว่าให้ไปรอที่ชานชาลาที่ 67 ตั๋วในมือถือใช้ได้แล้ว ไม่มีตั๋วกระดาษให้ ชายหนุ่ม-หญิงสาวชาวฝรั่งเศส พูดภาษาอังกฤษได้ดีถามผมว่าซื้อตั๋วยังไง ใช้บัตรเครดิตใช่ไหม ผมอธิบายวิธีซื้อตั๋วให้ทั้งคู่ฟัง พวกเขานึกว่าตัวเองมีตั๋วอยู่ในมือแล้ว แต่นั่นเป็นเพียงหน้าเว็บไซต์ที่แสดงเที่ยวรถ ยังไม่ได้จ่ายเงิน พอจะซื้อตอนนี้พนักงานก็ไม่ขายให้

พวกเขาเดินลงไปยังชั้นชานชาลา คิดว่าจะซื้อที่นั่นได้ ผมไปเจอพวกเขาอีกครั้งก็ยังไม่มีตั๋ว เพราะตรงชานชาลาไม่ใช่ที่ขายตั๋ว จึงบอกให้เขาซื้อจากเว็บไซต์ แต่พวกเขาไม่มีอินเตอร์เน็ต ผมจึงแชร์สัญญาณให้ เข้าเว็บไซต์ได้แต่ที่นั่งเต็มหมดแล้ว ผมแนะให้ไปซื้อตั๋วกับบริษัทอะไรก็ได้ที่ชั้นบน จำได้ว่าอย่างน้อยมีบริษัท Penha และ 1001 ที่ไปรีโอฯ และจะได้ไปวันนี้แน่นอนเพราะรถบัสไปรีโอฯ มีทั้งวัน

ชายหนุ่มถามว่าผมมี CPF ได้อย่างไร ต้องไปขอที่ไหน เขาไม่มี CPF จึงลงทะเบียนซิมการ์ดใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้ ผมตอบว่าใช้เบอร์เก่าที่มีคนให้ไว้เมื่อ 3 เดือนก่อน

เรื่อง CPF นี้วุ่นวายมาก ผมเคยอธิบายไว้ครั้งหนึ่งตอนอยู่ที่เมืองมาเนาส์ รัฐอามะโซนัส ซึ่ง CPF คือหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคนบราซิลและชาวต่างชาติที่อยู่อาศัยในบราซิล ก่อนเดือนพฤศจิกายน 2564 นักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องมี CPF สำหรับเปิดใช้ซิมการ์ดมือถือหรือเติมอินเตอร์เน็ต แต่จากการสำรวจศึกษาของรัฐบาลพบว่าการใช้ CPF จะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ลงได้ (คงคล้ายๆ การลงทะเบียนเบอร์มือถือแบบเติมเงินในบ้านเรา) ทว่านักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวบราซิลบางส่วนมองว่ากฎระเบียบใหม่นี้ขัดแย้งกับนโยบายรัฐบาลที่หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวนำเงินเข้าประเทศหลังจากมีวิกฤติเศรษฐกิจมาครึ่งทศวรรษแล้วต่อด้วยโควิด-19 อีก 2 ปีกว่า แต่รัฐบาลกลับเพิ่มความยุ่งยากให้กับนักท่องเที่ยว เพราะซิมการ์ดมีขายอยู่ทั่วไป แต่ร้านค้าขายซิมการ์ดเปิดเบอร์ให้ไม่ได้

หากจะเปิดใช้ซิมการ์ดหรือเติมเงินโทรศัพท์ พนักงานหรือแคชเชียร์ในร้านค้าจะถามหมายเลข CPF ถ้าเราไม่มีก็จะได้รับการแนะนำให้ไปขอที่ที่ทำการไปรษณีย์ วิธีที่ง่ายกว่าคือเปิดใช้เบอร์ใหม่กับศูนย์บริการของเครือข่ายมือถือ มีคนที่อยู่ในบราซิลโพสต์ลงเว็บไซต์ expat.com ว่าชาวต่างชาติสามารถขอหมายเลข CPF ล่วงหน้าก่อนเดินทางมายังบราซิลได้

ทุกครั้งที่ผมจ่ายเงินซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตของบราซิล แคชเชียร์จะถามว่าจ่ายด้วยวิธีใด “ดิงไยโร” คือเงินสด ถ้ายื่นบัตรให้ก็จะถูกถามว่าเป็นบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต “แครจิตู โอ แดบิตู?” จากนั้นก็จะถาม CPF ที่ถาม CPF นี้เพราะเมื่อถึงสิ้นปีหากเข้าเกณฑ์ของรัฐบาล ผู้มี CPF ก็จะได้รับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วนกลับคืนมา

ใกล้เวลา 9 โมงเช้า ผู้โดยสารของ Flixbus ที่จะเดินทางไปนครรีโอเดจาเนโรได้รับข้อความทางมือถือว่าการเดินทางจะล่าช้าออกไป 40 นาที ผมจึงกลับขึ้นชั้น 2 ไปหามื้อเช้า ได้แซนด์วิชมา 1 ชิ้น ราคา 20 เรียล และน้ำเปล่าขวดเล็กขวดละ 8 เรียล คูณ 7 เข้าไปก็จะเป็นเงินบาท ซึ่งถือว่าราคาสูงไม่ใช่เล่น ครบ 40 นาที ได้รับข้อความอีกครั้งว่ารถจะมาสาย 60 นาที และสุดท้ายแล้วสายไปถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง

ระหว่างกลับลงไปรอรถที่ชานชาลา ผมสังเกตเห็นวัยรุ่นชายคนหนึ่งสวมแจ็กเก็ตมีฮู้ด ท่าทางมีพิรุธ เดินมองพื้นแต่หางตานั้นคงทำงานอย่างหนัก เขาเดินเข้าไปในกลุ่มคนที่รอรถกันอยู่ บางคนนั่งกับพื้น แต่เด็กคนนี้ไม่ได้หยิบอะไรเพราะไม่มีใครเปิดช่อง ผมมองดูเขาอยู่นาน มั่นใจว่าไม่ได้เป็นผู้โดยสารที่กำลังจะเดินทางไปไหนอย่างแน่นอน พื้นที่ชานชาลานี้ไม่มีระบบป้องกันไม่ให้คนไม่มีตั๋วลงมาปะปนกับผู้โดยสาร นอกจากวัยรุ่นคนนี้แล้วก็ยังเห็นผู้หญิงคนหนึ่งจูงเด็กเล็ก 3 คนเดินไปเดินมา เดินเข้าไปในกลุ่มคน โดยไม่มีลักษณะว่าจะเป็นผู้โดยสารเดินทางไปไหนเช่นกัน แต่ก็เดินไปโดยไม่มองหาข้าวของมีค่า หรือทำท่าขอเงินขอความช่วยเหลือใดๆ เสร็จจากโซนหนึ่งก็ย้ายไปอีกโซน สักพักกลับมาใหม่

ที่นั่ง 2 ที่ติดกันฝั่งขวาของรถ หมายเลข 11 และ 12 มีคนนั่งอยู่คนหนึ่ง เป็นผู้หญิงคะเนอายุยากสักหน่อย เธอถามเป็นภาษาอังกฤษว่า “คุณอยากนั่งด้านในมั้ย?” ผมบอกเธอว่า “ที่นั่งของผมหมายเลข 12 ไม่รู้ว่าริมทางเดินหรือติดหน้าต่าง” เธอก็ไม่รู้ บอกให้ผมเลือกเอาเอง เธอไม่เกี่ยง ผมจึงขอนั่งติดหน้าต่าง และเมื่อผมเห็นใบหน้าเธอชัดๆ หลังจากคุยกันไปสักพักแล้ว เธอคงอายุประมาณ 20 ปีหรือ 20 ต้นๆ เท่านั้น

สาวน้อยคนนี้พูดภาษาอังกฤษเก่งเพราะชั้นมัธยมปลายเรียนโรงเรียนนานาชาติ ขณะนี้คงกำลังเรียนในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งผมไม่ได้ถามว่าเรียนทางด้านไหน เธอมาเยี่ยมบ้านที่เซาเปาโล และกำลังเดินทางกลับไปรีโอฯ ผมพูดเรื่องรถที่มาช้า เธอว่า Flixbus มีปัญหาบ่อย ต่อไปฉันจะไม่ใช้บริการอีกแล้ว คนชอบ Flixbus เพราะเหตุผลเดียวคือราคาถูก” อย่างคราวนี้ก็ถูกกว่าบริษัทอื่นๆ ผมซื้อมาแค่ 16 ยูโรเท่านั้น ขณะที่ของบริษัทอื่นตกอยู่ที่ประมาณ 20 ยูโร

หญิงสาวดูหน้าตาออกไปทางเยอรมัน ยิ่งร่างกายโตทุกส่วนสัดผมยิ่งมั่นใจ เธอให้คำตอบว่า “ถูกต้อง” บรรพบุรุษมาจากเยอรมนี อพยพไปเปรู แล้วค่อยมาปักหลักในบราซิล เธอพูดภาษาเยอรมันออกมาประโยคหนึ่ง ผมถามความหมาย เธอตอบว่า “มันหมายถึง ฉันไม่ต้องการพูดภาษาเยอรมันอีกต่อไป” แล้วระเบิดหัวเราะ อธิบายต่อว่านั่นเป็นประโยคเดียวในภาษาเยอรมันที่เธอพูดได้

หลังจากคุยกันเรื่องสนธิสัญญาตอร์เดซิยาส ค.ศ. 1494 ที่สเปนและโปรตุเกสขีดเส้นแบ่งโลกใบนี้นอกทวีปยุโรปออกเป็น 2 ส่วน แล้วถือวิสาสะเข้าไปยึดครอง เธอก็บอกว่า “ฉันจะหลับละนะ” แล้วเธอก็นอนยาวจนกระทั่งรถจอดที่จุดแวะพักเพื่อให้ผู้โดยสารลงไปรับประทานอาหารและเข้าห้องน้ำ ผมเข้าไปกินบุฟเฟต์แบบชั่งกิโล ราคาแพงกว่าทุกที่ที่เคยเห็นมา ตกขีดละ 70 บาท ผมตักมานิดเดียวเพราะกลัวกินไม่ทันเนื่องจากยังหวาดระแวงเรื่องตกรถอยู่ไม่หาย ราคาประมาณ 300 บาท กินสี่ห้าคำก็เกลี้ยง

กลับขึ้นรถสาวน้อยตัวใหญ่กำลังกินขนมที่พกมา เธอยื่นเม็ดอม Mentos ให้ผมแต่ผมไม่รับ เธอถามว่าแน่ใจนะ ผมก็ยังไม่รับ กลับมาคิดดูผมควรจะรับไว้ เธออาจจะรู้สึกดีและสบายใจกว่าในฐานะเจ้าบ้าน แต่ผมคิดได้เมื่อจังหวะที่เหมาะสมผ่านพ้นไปแล้ว

เธอจามขึ้น 3 – 4 ครั้งโดยอุดปากไว้ ทำให้เสียงออกมาเหมือนสะอึก แล้วพูดว่า “เมื่อวานนี้ฉันตรวจโควิดมาแล้วนะ ไม่มีเชื้อ” เธอไม่สวมหน้ากากอนามัย ส่วนผมสวมบ้างไม่สวมบ้าง แต่ที่รีโอฯ ผมยิ่งต้องสวมตลอดเวลาที่อยู่ในรถไฟฟ้า เพราะคนรีโอฯ 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ไม่สวม  

มุ่งหน้าสู่รีโอเดจาเนโร

ก่อนถึงรีโอฯ ผมถามหญิงสาวเรื่องการโดยสารรถไฟใต้ดินไปยังย่านชายหาดโคปาคาบานาเพราะผมจองที่พักไว้แถวนั้น เธอไม่รู้เรื่องรถไฟใต้ดิน เพราะย่านที่พักของเธอไม่มีรถไฟใต้ดิน เลยไม่เคยหาข้อมูล ผมถามอีกว่ารีโอฯ อันตรายไหม เธอตอบเสียงดัง YES แล้วหัวเราะออกมาอย่างน่ารัก ผมถามต่อ “อันตรายกว่าเซาเปาโล ?” เธออธิบายว่า “เซาเปาโลน่ะ คุณรู้ว่าย่านไหนอันตราย แล้วคุณก็จะไม่ไป แต่ในรีโอทุกย่านอันตรายพอๆ กัน ขึ้นอยู่กับดวง แต่เชื่อฉันเถอะ คุณจะรักรีโอ เพราะว่าฉันรักรีโอ”

รถบัสเข้าจอดที่สถานีขนส่ง Novo Rio ผมถามเรื่องรถไฟใต้ดินกับชายอ้วนผมเดรดล็อกที่เคยคุยกันก่อนขึ้นรถ เขาตอบว่า “ไม่มีเมโทร” ผมแย้งว่าผมเห็นสถานีเมโทรในแผนที่กูเกิล เขาแก้คำพูดเป็น “มันไกลน่ะคุณ” แล้วเขาก็เดินไปยังทิศทางอาคารผู้โดยสารขาออก  

จากแผนที่กูเกิลในมือถือ สถานีเมโทร Cidade Nova อยู่ห่างออกไป 1.6 กิโลเมตร ผมพยายามเดินไปในทิศทางที่แตกต่างกัน แต่เดินยังไงมือถือก็บอกว่าออกนอกเส้นทาง จึงกลับมาตั้งหลักที่หน้าอาคารผู้โดยสารขาเข้า สุดท้ายกดแอปอูเบอร์เรียกแท็กซี่ ชายคนหนึ่งทักขึ้นว่า Are you from Thailand?” ผมตอบว่าใช่ แล้วถามเขากลับไปว่ารู้ได้อย่างไร เขาตอบว่าเห็นแอปอูเบอร์ของผมแสดงบนหน้าจอเป็นภาษาไทย “ผมไม่เคยไปเมืองไทยหรอก เรียนภาษาไทยอยู่ในบราซิล ตอนนี้เลิกเรียนแล้วเพราะเป็นภาษาที่ยาก หินสุดก็คือเรื่องวรรณยุกต์ ตอนนี้หันไปเรียนจีนแทน”

พูดๆ อยู่เขาก็บอกว่า “ไปละ รถผมมาแล้ว อยู่อีกฝั่งถนน” ส่วนรถของผมจากที่ดูในแอปก็มาถึงแล้วเช่นกันแต่ผมต้องเดินไปหาตามทิศทางลูกศรในแอป พอใกล้ถึงจึงรู้ว่ารถจอดอยู่หน้าอาคารผู้โดยสารขาออก เลยหายสงสัยที่ชายอ้วนทรงผมเดรดล็อกเดินมาทางนี้ ทว่าโชเฟอร์กดยกเลิกไปแล้ว ระบุเหตุผลกลับมาว่ารอผมนานเกินไป ความจริงมีผู้โดยสารโบกเรียกมากกว่า อูเบอร์ในบราซิลมีทั้งแบบเรียกแอปและเรียกมือ ผมกดเรียกคันใหม่และได้รถทันที เปิดประตูวางกระเป๋าแล้วเข้าไปนั่ง โชเฟอร์ศีรษะล้าน แต่งตัวสุภาพ บุคลิกดี น่าไว้ใจ

จากสถานีรถบัสถึงหน้าที่พักย่านชายหาดโคปาคาบานา ระยะทาง 10 กิโลเมตร เราคุยกัน 2 ประโยค

ผมถามว่า Do you speak English? เขาตอบ No.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้าอยากได้อะไร...ข้าต้องได้

เราคนไทยมักจะอ้างว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ มีการบริหารกิจการต่างๆ ภายในประเทศตามหลักการของนิติธรรม แต่สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเวลานี้ หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐจริงหรือ

เมื่อ 'ธรรมชาติ' กำลังแก้แค้น-เอาคืน!!!

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาของบ้านเรา...ท่านเคยคาดๆ ไว้ว่า ฤดูหนาว ปีนี้น่าจะมาถึงประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม

จ่ายเงินซื้อเก้าอี้!

ไม่รู้ว่าหมายถึง "กรมปทุมวัน" ยุคใด สมัยใคร จ่ายเงินซื้อเก้าอี้ ซื้อตำแหน่ง ในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ตามที่ "ทักษิณ ชินวัตร" สทร.แห่งพรรคเพื่อไทย ประกาศเสียงดังฟังชัดในระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก

ไม่สนใจใครจะต่อว่า เสียงนกเสียงกา...ข้าไม่สนใจ

ถ้าหากเราจะบอกว่านายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีเสียงตำหนิ มีการนำเอาการพูดและการกระทำที่ไม่ถูกไม่ต้อง ไม่เหมาะไม่ควร

จาก 'น้ำตา' ถึง 'รอยยิ้ม' พระราชินี

ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา...ได้อ่านข่าวพระราชาและพระราชินีสเปน เสด็จฯ ทรงเยี่ยมเยียนผู้คนที่ประสบภัยน้ำท่วมในเมืองปอร์ตา แคว้นบาเลนเซีย