ถือเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจไม่น้อย หลังจากสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงการลดขนาดพื้นที่เสี่ยง ระบุให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการสามารถกักตัวที่บ้านได้ ลดวันกักตัวสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ ยกเลิกการกักตัวผู้ที่เดินทางจากนอกประเทศเข้ามายังประเทศจีนในวันที่ 8 ม.ค.นี้ รวมถึงเปิดทางให้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เจอกับวิกฤตโควิด-19 จนมีการล็อกดาวน์และออกมาตรการคุมเข้มภายใต้นโยบายโควิดเป็นศูนย์
แน่นอนว่า ประเทศไทยเป็นจุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวจีนตลอดมา ด้วยระยะทางที่ใกล้ เป็นประเทศที่คนจีนคุ้นเคย ไทยจึงเป็นจุดหมายที่คนจีนเลือกมาเที่ยวลำดับต้นๆ หลายจังหวัดอย่างกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นที่นิยมและรู้จักดีในหมู่คนจีน ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากข้อมูลพบว่าแต่ละปีมีนักเดินทางชาวจีนมาไทยถึงปีละ 11 ล้านคน หรือราว 1 ล้านคนต่อเดือน คิดเป็นกว่า 1 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
พบว่า การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนจึงเป็นเม็ดเงินสำคัญของเศรษฐกิจไทย สร้างงาน สร้างรายได้ให้ธุรกิจจำนวนมาก ก่อนโควิด นักท่องเที่ยวจีนสร้างรายได้ให้เศรษฐกิจไทยแต่ละปีมากกว่า 5 แสนล้านบาท คิดเป็น 28% ของรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากสถิติโดยเฉลี่ยคนจีนใช้เวลาอยู่ในไทย 5-7 วัน ใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 25,000-50,000 บาท ธุรกิจหลักที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม จึงเกิดการตื่นตัวเตรียมความพร้อมรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากจีน โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมายืนยันว่าไทยมีความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยว โดยไม่เจาะจงว่าเป็นประเทศใดในทุกมิติ ซึ่งมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นมาตรการที่มีความเหมาะสม ส่วนในกรณีที่ประเทศใดมีข้อกำหนดพิเศษขึ้นมา เช่น ต้องตรวจ RT-PCR ให้กับนักท่องเที่ยวก่อนเดินทางกลับประเทศต้นทาง นักท่องเที่ยวต้องซื้อบัตรประกันสุขภาพก่อนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยต้องครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่เท่าเทียม เป็นธรรมทั้งประเทศที่เปิดรับนักท่องเที่ยวและประเทศต้นทาง
เช่นเดียวกับกระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้ข้อมูลว่า ล่าสุดสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้มีข้อกำหนดในการเข้าประเทศไทยสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สายการบินต่างๆ ทราบ ดังนี้ 1.ผู้โดยสารอายุมากกว่า 18 ปี ต้องแสดงข้อมูลการได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือจดหมายจากแพทย์ที่รับรองว่าหายจากโรคโควิด-19 แล้วไม่เกิน 6 เดือน (180 วัน) ส่วนผู้โดยสารที่ไม่ได้รับวัคซีน ต้องมีจดหมายจากแพทย์พร้อมแสดงเหตุผล
2.ผู้โดยสารที่มาจากประเทศที่มีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ติดโควิดเดินทางกลับเข้าประเทศ จะต้องมีประกันสุขภาพครอบคลุมการรักษาโควิดตลอดช่วงระยะเวลาเดินทางในประเทศไทย และบวกเพิ่มอีก 7 วัน สำหรับผู้มาประกอบภารกิจ รวมถึงลูกเรืออาจจะใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าภาพรับรองแทน 3.ผู้โดยสารที่ถือพาสปอร์ตไทยได้รับการยกเว้นในการตรวจสอบเอกสารการได้รับวัคซีน และเอกสารประกันสุขภาพ
4.ผู้โดยสารที่เปลี่ยนเครื่อง หรือต่อเครื่อง ได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบเอกสารการได้รับวัคซีนและเอกสารประกันสุขภาพ โดยผู้โดยสารเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดของประเทศปลายทาง 5.สายการบินต้องตรวจสอบเอกสารตามที่กล่าวมา ถ้าผู้โดยสารไม่สามารถแสดงเอกสารเหล่านี้ได้สายการบินจะต้องปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารเดินทาง
6.สายการบินต้องยึดตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามคู่มือแนวทางตามความเหมาะสม เช่น ขอให้ผู้โดยสารสวมใส่หน้ากากตลอดการเดินทาง ยกเว้นช่วงรับประทานอาหาร หรือในภาวะฉุกเฉิน และ 7.ผู้โดยสารที่มีอาการของโรคโควิด-19 ระหว่างการเดินทาง จะได้รับการแนะนำให้ทำการตรวจการติดเชื้อเมื่อเดินทางมาถึงจุดหมาย อย่างไรก็ตามข้อปฏิบัติดังกล่าวจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.2566 เวลา 08.00 น. ถึงวันที่ 31 ม.ค.2566 เวลา 00.59 น.
ต้องยอมรับว่า มีหลายฝ่ายกังวลว่าโรคโควิด-19 จะกลับมาระบาดหลังจากมีการปลดล็อกนักท่องเที่ยวชาวจีน เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าไทยเรามีความพร้อมจริงๆ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการติดตามและประเมินสถานการณ์ช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 โดยจะมีการเฝ้าระวังโรคกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศที่มีอาการทางเดินหายใจ และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์โรคและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีผู้เดินทางจากต่างประเทศ
เห็นหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนแข็งขันเตรียมความพร้อมกันแบบนี้ก็ต้องเอาใจช่วย เพื่อที่จะให้เป็นไปตามเป้าหมายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยปีหน้า คือ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนที่ 20 ล้านคน การเปิดประเทศของจีน เชื่อว่าจะทำให้การบรรลุเป้าหมายเป็นไปได้โดยไม่ยากนัก.
กัลยา ยืนยง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ
ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’
อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ
เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม
แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ
ของขวัญรัฐบาล
อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว
ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ