สร้างเชื่อมั่นมุ่งสู่ Net zero

 ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา สถานการณ์ของทั่วโลกเริ่มคลี่คลายจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะประเทศไทย เปิดประเทศเต็มรูปแบบเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ด้วยความหวังที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับมาบูมอีครั้ง แต่ก็ถูกดับฝันเมื่อโลกต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ

โดยเฉพาะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่จะส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัวจนกลายเป็นวิกฤตด้านพลังงาน ทำให้เศรษฐกิจที่กำลังเริ่มฟื้นตัวต้องหยุดชะงักลง ซึ่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีเริ่้มเห็นได้ชัดเจนจากการส่งออกของไทยที่ติดลบต่อเนื่องมา 2 เดือน ถือว่าเป็นวิกฤตที่ซ้อนวิกฤตขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัจจัยที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยนั้น ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจากภายนอกทั้งสิ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชน ภาครัฐโดยกระทรวงพลังงานได้เดินหน้าออกมาตรการต่างๆ มาพยุงราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องให้กับประชาชน

จะเห็นได้จากล่าสุดคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้เห็นชอบให้ปรับค่าไฟฟ้าผันแปร หรือเอฟที งวดเดือน ม.ค.-เม.ย.2566 ส่งผลให้ทั้งกลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจออกมาแสดงความเห็นคัดค้านและเรียกร้องให้ปรับลดค่าเอฟที ดังนั้นเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีการพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรรอบใหม่ให้กับภาคธุรกิจถูกลงหน่วยละ 40 สตางค์ จากเดิมที่มติเดิมพิจารณาที่หน่วยละ 190.44 สตางค์ คิดเป็นค่าไฟฟ้าหน่วยละ 5.69 บาท ส่วนผลสรุปจะเป็นอย่างไรนั้นก็ต้องมารอลุ้นกัน

นอกจากนี้ ภาครัฐโดยกระทรวงพลังงานยังได้รักษาระดับราคาขายปลีกดีเซล และตรึงราคาขายก๊าซหุงต้มให้กับกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อย คิดเป็นมูลค่าการช่วยเหลือทางด้านพลังงานในปี 2565 รวมทั้งสิ้นมากกว่า 232,800 ล้านบาท รวมทั้งยังวางมาตรการช่วยเหลือในด้านราคาก๊าซหุงต้มต่อเนื่องถึงช่วงต้นปี 2566 ด้วย เนื่องจากราคาพลังงานโลกยังมีแนวโน้มผันผวน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์ด้านพลังงานอย่างใกล้ชิด โดยมีการประชุมติดตามสถานการณ์ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันมีความไม่แน่นอน ซึ่งทางกระทรวงพลังงานได้ยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นค่อนข้างรวดเร็วและกินระยะเวลายาวนาน

ดังนั้นที่ผ่านมานั้นจะเห็นว่ากระทรวงพลังงานได้ดำเนินมาตรการหลายด้านและเป็นรูปธรรม สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชนเกือบตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา ตามที่กล่าวมาข้างต้น และต้องยอมรับกันว่าการแก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องมีการพิจารณาหลายๆ แนวทางและมาตรการ ซึ่งบางมาตรการเป็นเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่ก็ต้องพยายามผลักดันให้ได้ผล และในบางกรณีอาจมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงพลังงานพยายามปลดล็อกข้อจำกัดเหล่านั้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนในยามวิกฤตได้ สำหรับฉายาที่มีการตั้งกันว่า power blank นั้น ก้อไม่ใช่ซะทีเดียวกับความตั้งใจและข้อจำกัด power นั้นมันมีอยู่ แต่เราต้องใช้อย่างจำกัด และรู้ใช้กันด้วย

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ามาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐส่งออกมาเพื่อช่วยผ่อนภาระของประชาชนนั้น เป็นเพียงมาตรการที่แลกมาด้วยการเสียเงิน คือการเอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน และเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้นๆ และก่อให้เกิดปัญหาสะสม

ดังนั้นหากจะแก้ไขกันจริงจัง สิ่งที่จำเป็นคือการสร้างสามัญสำนึกในเรื่องของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่สุด เหมือนกับที่ปัจจุบันหลายๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็มุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนอาจลืมเลือนการสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รักษ์โลก ไม่ทุจริต ทำงานอย่างโปร่งใส เต็มประสิทธิภาพ นั่นถึงจะเรียกว่าเชื่อมั่นที่จะเดินหน้าไปสู่ Net zero อย่างแท้จริง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุดเปลี่ยนผ่านอุตฯยานยนต์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศไทยเริ่มเห็นทิศทางอุตสาหกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ทั้งเครื่องมือแพทย์

“ความยั่งยืน” โอกาสการเติบโตทางธุรกิจ

สภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทั้งโลกต้องหันมาให้ความสนใจการไปต่อของโลกอย่างยั่งยืนมากขึ้น

เจาะกลยุทธ์“อาร์ตทอย”ตัวท็อปสุดแรร์

กระแสความนิยม “อาร์ตทอย” (Art Toy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไทยซึ่ง “อาร์ตทอย” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่กลายเป็นของเล่นและของสะสมที่มีการออกแบบสะท้อนถึงตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์

รณรงค์ใช้สินค้าไทย

ข่าวการปิดตัวโรงงานการผลิตของรถยนต์ ซูบารุ และซูซูกิ ในประเทศไทย เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงที่อ่อนแอ เพราะไม่เพียงอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปเท่านั้นที่กำลังสั่นคลอน แต่อีกหลายอุตสาหกรรมของไทยก็กำลังประสบปัญหา

ใช้ไอเดียพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไทย

สินค้าและผลิตภัณฑ์บนโลกนี้นอกจากจะต้องพัฒนารูปลักษณ์ หน้าตา ฟังก์ชัน หรือรสชาติใหม่ๆ ให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและสามารถดึงดูดความสนใจให้กับผู้ซื้อได้ก็คือบรรจุภัณฑ์

ตนเป็นที่เพึ่งแห่งตน

ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรมโอนเงิน การเรียกใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ