ใครหนอใจแคบ...แอบด่า...บ้าอำนาจ

หลังจากมีการลงคะแนนเสียงในรัฐสภาไม่รับหลักการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีคนสามคนเข้าไปนำเสนอและอภิปราย

ก็มีเสียงบ่นที่แสดงความไม่พอใจ บอกว่าสมาชิกรัฐสภาใจแคบและไม่ยอมฟังคำชี้แจงและการอภิปรายของเขา

แต่สำหรับคนที่ติดตามฟังสิ่งที่คนทั้งสามพูดในสภา น่าจะสรุปได้ว่า การไม่รับหลักการของการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พวกเขาเรียกว่าฉบับประชาชนนั้น ไม่น่าจะเป็นความใจแคบ

และไม่น่าจะเป็นการไม่รับฟังคำชี้แจงหรือการอภิปรายของคนทั้งสามที่อ้างความเป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปในสภา

ประการแรก การเรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับของประชาชนก็คงจะไม่ถูกต้องนัก เพราะประชาชนยังไม่ได้ลงประชามติยอมรับการแก้ไขดังกล่าว ไม่มีการร่วมร่าง ไม่มีการร่วมให้ข้อมูล ไม่มีการร่วมประชาพิจารณ์แต่อย่างใด ดังนั้นจะเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอาจจะเป็นการตีขลุมที่ง่ายไปหน่อย หากจะบอกว่าเป็น “รัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน” ก็อาจจะพอไปได้ ส่วนเนื้อในจะเป็นสาระเพื่อประชาชนจริงหรือเปล่าก็ค่อยไปดู ไปพิจารณากันเอา การที่ประชาชนร่วมลงชื่อจำนวน 130,000 กว่าๆ นั้น คงจะอ้างคำว่า “ประชาชน” เต็มปากเต็มคำไม่ได้ เพราะในตอนแรกบอกว่ามีคนลงคะแนนมากกว่า 150,000 คนนั้น พอตรวจสอบเข้าจริงๆ มีเพียง 130,000 กว่าๆ เท่านั้น ทำให้เกิดความแคลงใจว่าแล้ว 130,000 กว่าคนนั้นจะเป็นตัวจริงมากน้อยแค่ไหน เพราะเป็นการล่ารายชื่อ online ไม่ใช่ offline ดังนั้นการตรวจสอบก็ไม่ง่ายนัก

อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การใช้คำว่า “ฉบับประชาชน” นั้น เขาหมายถึงเฉพาะคนกลุ่มของพวกเขาเท่านั้นใช่ไหมที่เป็นประชาชน แล้วคนที่เคยลงคะแนนเสียงรับรัฐธรรมนูญในปี 2560 นั่นเล่า พวกเขาเป็นประชาชนหรือเปล่า แล้วพวกเขาเหล่านั้นมีความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ตามแนวทางที่คนทั้งสามเข้าไปนำเสนอในสภาหรือไม่ ในความเป็นจริง หลังจากมีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 ไปแล้วระยะหนึ่ง อาจจะมีคนบางคนเห็นข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ และมีความต้องการอยากแก้ แต่ก็ต้องตั้งคำถามว่าพวกเขาต้องการให้แก้ตามแนวทางที่คนทั้งสามนำเสนอหรือเปล่า หรืออยากจะแก้ในประเด็นอื่นที่แตกต่างจากการนำเสนอของทั้งสามคน แต่หากมีความต้องการที่จะแก้ไขในทำนองเดียวกันกับที่คนทั้งสามเสนอ ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วจำนวนคนที่ต้องการที่จะแก้ตามข้อเสนอดังกล่าวนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพียงพอต่อการที่จะทำให้เรียกรัฐธรรมนูญฉบับที่พวกเขานำเสนอเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้หรือไม่

อีกข้อกล่าวหาหนึ่งคือพวกเขาบอกว่าสมาชิกรัฐสภาไม่ฟังที่เขาอภิปรายหรือชี้แจง เรื่องนี้ก็น่าจะเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปชี้แจงนั้น สมาชิกรัฐสภาหลายคนเขาได้อ่านแล้ว ได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้ว ได้ยินได้ฟังความคิดเห็นคำชี้แจงทั้งจากกลุ่มผู้ร่าง และจากนักวิชาการและผู้นำทางความคิดทั้งหลาย ในขณะเดียวกันหลายคนก็ได้อ่านข้อเสนออย่างถี่ถ้วน และได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้าที่จะมีการชี้แจงในสภาแล้ว ดังนั้นการกล่าวหาว่าสมาชิกรัฐสภาลงคะแนนเสียงโดยไม่ฟังคำชี้แจงและการอภิปรายของเขา จึงเป็นคำกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริง อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เราได้เห็นก็คือวิวาทะที่มีการโต้แย้งกันในสภานั้น ถ้าหากไม่ได้ฟัง แล้วจะมีการโต้แย้งอย่างที่เราได้ยินได้ฟังได้อย่างไร นอกจากได้ฟังการชี้แจงของพวกคุณแล้ว สมาชิกรัฐสภายังได้ยินอีกว่า การที่พวกคุณเข้ามาชี้แจงการแก้รัฐธรรมนูญนั้น เนื้อหาในการชี้แจงของพวกคุณยังมีเรื่องของการเข้ามาเพื่อที่จะด่านายกรัฐมนตรีด้วยข้อความ สำนวนลีลาที่เป็นการดูหมิ่นอย่างคนที่ไม่มีมารยาทและขาดสัมมาคารวะอีกด้วย ดังนั้นคำกล่าวหาว่าสมาชิกรัฐสภาลงคะแนนเสียงโดยไม่ฟังคำชี้แจงก็สามารถสรุปได้ว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

คุณคงคิดว่าคุณเป็นคนเก่งเหนือใครที่สร้างวาทกรรมหลอกด่านายกรัฐมนตรี แต่แท้ที่จริงแล้วมันแสดงความไม่ประสาของคุณ การขาดวุฒิภาวะ และการเป็นคนไร้รสนิยม เปรียบเทียบประเทศไทยเป็นคนป่วย 3 โรค คือ 1) โรคความไม่ทัดเทียม (โรคนี้มันเกิดเพราะพลเอกประยุทธ์กระนั้นหรือ มันมีมานานแล้วไม่ใช่หรือ และรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งสมัยนี้ด้วย ก็มีความพยายามจะแก้ไขความยากจนอยู่ไม่ใช่หรือ และความทัดเทียมคงไม่ได้หมายความว่ามีทุกอย่างเท่ากัน แต่หมายความว่าอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และได้รับโอกาสอย่างเป็นธรรม การกล่าวหาว่าพลเอกประยุทธ์เป็นไวรัสของโรคคงไม่ใช่เรื่องจริง 2) โรคเศรษฐกิจตกต่ำ (แล้วมันเกิดขึ้นในประเทศไทยประเทศเดียวกระนั้นหรือ มันมีเรื่องของโควิดเป็นสาเหตุด้วยไม่ใช่หรือ ทำไมเรื่องแค่นี้จึงไม่ยอมเข้าใจ 3) โรคประชาธิปไตยจอมปลอม (คุณมองเห็นความเป็นเผด็จการตรงไหน คนที่ไม่ทำผิดกฎหมาย เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนในการดำเนินชีวิตแต่อย่างใด) พลเอกประยุทธ์ไม่ใช่ไวรัสแต่เป็นยารักษาโรคที่มีรัฐบาลที่ขาดธรรมาภิบาลปล่อยเชื้อเอาไว้ และพลเอกประยุทธ์เป็นวัคซีนป้องกันการโกงและการทำลายสถาบันที่ทำให้คนบางกลุ่มบางพวก และพรรคการเมืองบางพรรคต้องการที่จะกำจัด

อีกคนก็ด่าพลเอกประยุทธ์ด้วยการใช้คำที่ไม่ใช่ความจริง ไม่ว่าจะเป็นคำว่า “มักง่าย” หรือคำว่า “ไม่แยแส” คำเหล่านี้เป็นคำดูหมิ่นที่จงใจประดิษฐ์ขึ้นมาด่าพลเอกประยุทธ์ แม้ว่าไม่ใช่คำหยาบ แต่ก็เป็นคำดูหมิ่นที่ไม่สมควร เพราะมันไม่เป็นความจริง เมื่อพวกคุณได้โอกาสเข้าไปชี้แจง แต่เนื้อหาของคุณไม่ได้มุ่งเน้นที่จะชี้แจง แต่มุ่งเน้นที่จะสร้างวาทกรรมยกตนข่มท่าน ยโสอวดดี ใส่ร้ายคนอื่นด้วยข้อความเป็นเท็จอย่างคนที่ไม่มีมารยาท แล้วคุณจะหวังให้คนเขาเห็นด้วย แล้วให้พวกเขารับหลักการของคุณได้อย่างไรกัน และเมื่อคุณไม่ได้อย่างใจ คุณก็หาว่าพวกเขาใจแคบ พวกเขาไม่ฟังพวกคุณ พวกเขาไม่ให้โอกาสพวกคุณ เขาฟังและเขาก็พินิจพิจารณา คิดอย่างถี่ถ้วนแล้ว พวกเขาไม่อาจให้โอกาสพวกคุณได้หรอก ยิ่งคนที่เขาติดตามพฤติกรรมนอกสภาของพวกคุณและในสภาของแนวร่วมคุณ พวกเขายิ่งไม่มีวันที่จะให้โอกาสพวกคุณอย่างแน่นอน เพราะพวกเขายังรักบ้านเมือง ยังจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ สิ่งที่คุณพยายามอยู่ไม่มีวันที่จะสมหวัง

อันที่จริงคุณอาจจะรู้แล้วว่าเสนอไปก็ไม่มีทางผ่าน แต่คุณคงต้องการด่ารัฐบาล ด่านายกรัฐมนตรี ด่าวุฒิสมาชิก แล้วก็จะเอาความพ่ายแพ้นี้มาใช้ในการหาเสียงว่าพวกคุณได้พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเพื่อประชาชนแล้ว แต่ถูกคนใจแคบขัดขวาง ก็อยากเห็นพวกคุณทำตามที่พูดนะ แล้วเราจะได้เห็นกันว่าการใช้เรื่องนี้ไปหาเสียงในการเลือกตั้งจะมีผลต่อคะแนนเสียงของพวกคุณอย่างไร ถ้าจะให้ดีเตรียมฝึกความอดกลั้นที่จะระงับความโกรธ ความกลัว ที่จะต้องเจอกับการร้องเพลงของชาวบ้านที่พวกคุณเคยได้ยินมาแล้วในการลงพื้นที่หาเสียงในการเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นมาแล้วนะ ที่สำคัญตอนนี้มีอีกเพลงหนึ่งโผล่มาใน social media แล้วนะ เปลี่ยนจากคำว่า “หนัก” มาเป็นคำว่า “รก” พวกคุณอาจจะได้ฟังทั้งสองเพลงนะ ยังไงฝึกวิ่งให้เร็ว เพื่อให้ได้ยินเพียงครึ่งเพลงแล้วเผ่นให้ไกล แทนที่จะต้องฟังทั้งสองเพลง มันอาจจะทำให้หมดความอดทนจนทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรออกไปก็ได้นะ แล้วถ้าหากคนเขาร้องสองเพลงนี้ให้ฟังเวลาออกไปหาเสียง อย่าเที่ยวไปกล่าวหาใครเขาว่า “ใจแคบ” อีกล่ะ สำรวจตัวเองบ้างกดีนะ ว่าใจแคบหรือใจกว้าง เป็นประชาธิปไตยจริงหรือจำแลง.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มาเป็นชุด! 'ดร.เสรี' ฟาดคนโอหัง ความรู้ไม่มี ทักษะไม่มี ไร้ภาวะผู้นำ น่าสมเพชอย่างแท้จริง

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า เตือนก็แล้ว ตำหนิก็แล้ว ต่อว่าก็แล้ว เยาะเย้ยก็แล้ว ล้อเลียนก็แ

ข้าอยากได้อะไร...ข้าต้องได้

เราคนไทยมักจะอ้างว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ มีการบริหารกิจการต่างๆ ภายในประเทศตามหลักการของนิติธรรม แต่สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเวลานี้ หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐจริงหรือ

เมื่อ 'ธรรมชาติ' กำลังแก้แค้น-เอาคืน!!!

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาของบ้านเรา...ท่านเคยคาดๆ ไว้ว่า ฤดูหนาว ปีนี้น่าจะมาถึงประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม

จ่ายเงินซื้อเก้าอี้!

ไม่รู้ว่าหมายถึง "กรมปทุมวัน" ยุคใด สมัยใคร จ่ายเงินซื้อเก้าอี้ ซื้อตำแหน่ง ในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ตามที่ "ทักษิณ ชินวัตร" สทร.แห่งพรรคเพื่อไทย ประกาศเสียงดังฟังชัดในระหว่างขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก

ดร.เสรี ยกวาทะจัญไรแห่งปี 'เขาเว้นเกาะกูดให้เรา'

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ประโยควาทะอัปรีย์จัญไรแห่งปี "เขาเว้นเกาะกูดให้เรา" แสดงว่าเขาเมตตาเราสินะ เราต้องขอบคุณเขา สำนึกบุญคุณเขาใช่ไหม