AIความท้าทายอุตฯยานยนต์ไทย

ปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของเราในทุกวัน ทุกด้าน โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการธุรกรรมต่างๆ ของภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ หรือทำธุรกิจรูปแบบเดิมแต่เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต การใช้วัตถุดิบใหม่ๆ

จะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะการนำระบบเทคโนโลยีหุ่นยนต์เชิงอุตสาหกรรม ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการบริหารและการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยายนต์ที่นำระบบ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิต นอกจากลดต้นทุนแล้วยังมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ความต้องการแรงงานคนลดน้อยลง

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จึงเป็นอีกอุตสาหกรรมที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้เล่นในห่วงโซ่การผลิตอย่างมีนัยสำคัญ และกลายเป็นความท้าทายสำหรับไทยในฐานะฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 10 ของโลก ว่าจะปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปและเติบโตต่ออย่างไร

ซึ่ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center หรือ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ คือเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกใบใหม่ AI ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมยานยนต์เกือบทุกขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตที่สำคัญ เช่น การปรับปรุงกระบวนการผลิตยานยนต์ อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลภาพและระบบการมองเห็น, การประมวลผลด้านภาษาและการสื่อสารโต้ตอบกับผู้ขับขี่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีในด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน เช่น การวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ความต้องการชิ้นส่วนในอนาคต การติดตามตำแหน่งของชิ้นส่วนแบบ Real time, การพัฒนาระบบยานยนต์ไร้คนขับเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องมีคนควบคุม, พัฒนาระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่  ที่ช่วยแจ้งเตือนผู้ขับขี่ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพการจราจร สภาพอากาศ และการนำเสนอเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการข้อมูล อาทิ การวิเคราะห์และเชื่อมต่อข้อมูลของรถยนต์เพื่อคาดการณ์การบำรุงรักษา การตรวจสอบความผิดปกติและการควบคุมความปลอดภัยของรถยนต์ เป็นต้น

ดังนั้น ในปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆ ได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่มากขึ้น โดย Tesla เป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายแรกๆ ที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในระบบ Autopilot ตั้งแต่ปี 2014 และคาดว่าในอนาคตเทคโนโลยี AI จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สอดคล้องกับข้อมูลของ Goldman sachs ที่คาดการณ์แนวโน้มการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยานยนต์จะเพิ่มขึ้นถึง 24% ต่อปีในช่วงปี 2023-2030 มาอยู่ที่ราว 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 โดยเฉพาะการลงทุนพัฒนาระบบการขับเคลื่อนอัตโนมัติ แต่ต้องยอมรับว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยังคงมีความท้าทายอยู่มาก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว รวมถึงผู้ประกอบการเองยังจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สอดรับกับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้อีกด้วย

สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่อีอีซี โดยตั้งเป้าให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี พร้อมๆ ไปกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI ในการผลิตยานยนต์ ซึ่ง EIC มองว่า การพัฒนาเทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังมีความท้าทายอีกหลายด้าน อาทิ การพัฒนาแรงงาน ทั้งการเพิ่มทักษะและการเรียนรู้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายงานเดิม เพื่อสร้างแรงงานทักษะใหม่โดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อการประยุกต์ใช้ AI อย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และต้องมีการลงทุนในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค รวมถึงต้องมีการสร้างความร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอกอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกัน

ดังนั้น การปรับกรอบแนวคิดและเอาชนะความท้าทายเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตได้อย่างราบรื่น.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร