หนึ่งในประเด็นที่มีความคืบหน้าในการประชุมต่อต้านโลกร้อน COP26 ที่เพิ่งจบลงคือการเปิด “ตลาดค้าคาร์บอนระหว่างประเทศ”
เรียกกันว่า International Carbon Markets
ผมเห็นว่าเป็นเรื่องใหม่ที่เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นอย่างน่าสนใจยิ่ง
นั่นแปลว่ารัฐบาลต่าง ๆ รวมไปถึงบริษัทเอกชนทั้งหลายสามารถแลกเปลี่ยนเครดิตการปล่อยคาร์บอนข้ามพรมแดนกันได้
ภาพใหญ่ของการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศขององค์การสหประชาชาติโดยที่เมืองกลาวโกว์, สก๊อตแลนด์, สหราชอาณาจักรมีประเทศลงนามกว่า 190 ราย
ตกลงกันว่าปีหน้าจะกลับมาทบทวนแผนการลดการปล่อยมลพิษที่ทำให้อุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
รายละเอียดมีมากมายหลายประเด็น
บางคนบอกว่าแม้จะเป็นก้าวเล็ก ๆ เรื่องรับปากจะลดการใช้ถ่านหินและพลังงานฟอสซิล รวมไปถึงลดการทำลายป่า
แต่อีกบางคนที่คาดหวังมากกว่านั้นก็บอกว่าเนื้อหาที่ตกลงกันได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นมากมายนัก
ที่น่าติดตามสำหรับผมคือข้อตกลงการค้าคาร์บอนซึ่งกันและกันระหว่างประเทศและธุรกิจเอกชน
รัฐบาลจากเกือบทุกประเทศทั่วโลกรับรองกฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลและบริษัทต่างๆ สามารถสร้าง ประเมินมูลค่า และแลกเปลี่ยนเครดิตเพื่อขับเคลื่อนการปล่อยมลพิษสุทธิในระบบการค้าระดับโลก
นักบริหารของบริษัทข้ามชาติอย่างคุณ Thomas Lingard ผู้อำนวยการด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมโลกของ Unilever PLC บอกว่าเป็น “ข่าวดีอย่างไม่ต้องสงสัยที่ข้อตกลงได้บรรลุข้อตกลงกันเพื่อให้ทุกคนก้าวไปข้างหน้าได้”
การเจรจากันรอบนี้ทำให้ข้อตกลงการค้าคาร์บอนชัดเจนขึ้นกว่าที่เคยมีการพูดจากันมาก่อนหน้านี้หลายปี
เป้าหมายคือการสร้างเครดิตที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติเพื่อนำไปสู่มาตรฐานที่ทุกประเทศยอมรับ
ประเทศไหนทำเรื่องลดคาร์บอนได้ดีก็จะมีคะแนนหรือ “carbon credit” ที่ขายให้กับประเทศอื่นได้
รัฐบาลที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนการปล่อยมลพิษที่ส่งไปยังสหประชาชาติก็สามารถซื้อ “คะแนนคาร์บอน” ในตลาดเหล่านี้ได้
ข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นครั้งนี้คือการเขียนกฎกติกาที่จะช่วยในการกำหนดกรอบการทำงานสำหรับวิธีที่รัฐบาลสามารถใช้ภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศได้
ก่อนหน้านี้ไม่มีกรอบและกติกาที่ชัดเจนเท่าที่ควร จึงทำให้ “ตลาดคาร์บอน” ไม่เกิดอย่างจริงจัง
มาคราวนี้มีการร่างกรอบของตลาดคาร์บอนที่จับต้องได้ จึงเท่ากับเป็นการปล่อย “คลื่นลูกใหม่ของการลงทุน”
และบริษัทต่างๆ ก็สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการซื้อขายระหว่างตลาดในโลกได้
ก่อนหน้านี้มีการถกแถลงกันตั้งแต่การลงนามในความตกลงปารีสโดยเฉพาะในมาตรา 6 ซึ่งลงนามในปี 2558
ที่โต้เถียงกันมาตลอดคือจะนับ “คะแนน” กันอย่างไรจึงจะไม่ซ้ำซ้อนและเป็นธรรมเพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือน ๆ กัน
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ “ตลาดคาร์บอน” เป็นมาตรการทางเศรษฐศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่ใช้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก
ตลาดคาร์บอน หมายถึง ตลาดที่มีซื้อขายคาร์บอน (Carbon Market) โดยกำหนดให้ “คาร์บอนเครดิต”
เครดิตหรือคะแนนในที่นี้หมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก
หรืออีกนัยหนึ่งมันก็คือ “สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งหมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้ต่ำกว่าเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกที่กำหนดให้องค์กรดำเนินการ ภายใต้ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มันคือสินค้าที่สามารถซื้อขายได้ และสามารถนำมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ซื้อ
พรุ่งนี้มาคุยกันเรื่อง “ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทย” ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีอยู่ในประเทศไทย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ