จากกรณีที่มีการแพร่ข้อความในสื่อโซเชียลต่างๆ โดยระบุว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการทุบสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้วสร้างเป็นตึกสูงแทนนั้น ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นในกรณีดังกล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับการทุบหัวลำโพง ในเวลาต่อมาทางการรถไฟแห่งประเทศไทยและกระทรวงคมนาคมได้ออกมาชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวที่ถูกแชร์กันไปนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
โดยชี้แจงว่า กระทรวงคมนาคมไม่ได้มีนโยบายทุบหัวลำโพง แต่ได้มีนโยบายให้รถไฟทุกขบวนโดยเฉพาะรถไฟทางไกลปรับไปใช้สถานีปลายทางจากสถานีหัวลำโพงเป็นสถานีกลางบางซื่อ
เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร และระบุชัดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่สถานีกรุงเทพและสถานีกลางบางซื่อ เพื่อยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และศูนย์กลางระบบขนส่งแห่งใหม่ของประเทศไทย
ส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่หัวลำโพงนั้นมีแนวทางจะเติมเต็มศักยภาพ สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนในยุคใหม่ในทุกมิติ ทั้งด้านการเดินทางขนส่ง การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ โดยกำหนดกรอบเวลาการดำเนินงานให้ชัดเจน และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันจัดทำแผนรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ก่อนล่วงหน้า
พร้อมทั้งยังชี้แจงว่า แผนการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง การรถไฟฯ ได้มอบหมายให้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกการรถไฟฯ เข้ามาดำเนินการ หลังจากมีการย้ายการเดินรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อทั้งหมดแล้ว จะเริ่มพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีหัวลำโพง เน้นการเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมือง และเพิ่มศักยภาพเชิงพาณิชย์ ซึ่งรูปแบบการพัฒนานั้นยังคงความเป็นอัตลักษณ์เดิมให้สอดคล้องกับความสมัยใหม่ และปรับเข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน โดยจะยังคงอนุรักษ์อาคารหัวลำโพงและจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณนี้อย่างครบถ้วน
ขณะเดียวกันยังมีแผนจัดสรรพื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกเพศทุกวัย และเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยรอบ รวมถึงศูนย์ประชุมนานาชาติ และที่สำคัญคือ ยังคงอนุรักษ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ไว้ ได้แก่ อาคารสถานีหัวลำโพง ชานชาลา อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จะเชื่อมประวัติศาตร์ให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตจากอดีตสู่สังคมในอนาคต เพื่อเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างการอนุรักษ์มรดกอันมีค่าทางประวัติศาสตร์ กับการสร้างรายได้เพิ่มให้กับการรถไฟฯ และประเทศ
อย่างไรก็ตาม สถานีรถหัวลำโพงที่เปิดให้บริการอยู่คู่กับคนไทยเป็นเวลายาวนาน 105 ปี ถูกออกแบบเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรเนสซองส์ และมีนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่ติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถานีเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่จะยังคงอนุรักษ์ไว้ ส่วนพื้นที่ด้านในโถงสถานีจะมีการปรับปรุงให้เป็นโมเดิร์นมากขึ้น
ส่วนสถานีกลางบางซื่อจะใช้เป็นสถานีสุดท้ายหรือเป็นสถานีต้นทางและปลายทางแทน “หัวลำโพง” ภายในสิ้นปี 2564 หมายความว่าจะต้องไม่มีรถไฟที่วิ่งเข้าหัวลำโพงเพื่อแก้จุดตัดกับถนน แก้ปัญหาจราจรให้เป็นรูปธรรม และนำพื้นที่ย่านหัวลำโพงทั้งหมดมาพัฒนาปรับโฉมใหม่เพื่อสร้างรายได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อสายตาประชาชนทั้งประเทศที่คอยจับตาดูการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อย่างแน่นอน
ท้ายที่สุดแล้ว การรถไฟฯ ก็ย้ำชัดว่าไม่ได้จะทุบสถานีหัวลำโพงทิ้งแล้วสร้างเป็นตึกสูงแทนแต่อย่างใด แต่จะย้ายให้รถไฟทุกขบวนปรับเส้นทางให้สิ้นสุดจากสถานีหัวลำโพงเป็นสถานีปลายทางที่สถานีกลางบางซื่อ ส่วนสถานีหัวลำโพงจะพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะให้กับคนเมืองใช้ประโยชน์ต่อไป.
กัลยา ยืนยง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research