สารพัดปัจจัยลบดาหน้าถาโถม

หลังวิกฤตโควิด-19 คลี่คลาย กิจกรรมต่างๆ เริ่มขยับตัว โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. รายงานว่า ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนครบ 10 ล้านคนตามเป้าหมายปี 2565 ที่ตั้งไว้ และคาดว่าในปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทย 20 ล้านคน

จากเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นถือเป็นตัวเลขท้าทายของ ททท.อย่างมาก เพราะในปีหน้านั้นปัจจัยลบเตรียมที่จะถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งผู้ว่าฯ ททท. ยุทธศักดิ์ สุภสร ยอมรับว่าภาคท่องเที่ยวไทยปี 2566 ต้องเจอกับสถานการณ์จริงและความท้าทายหลายเรื่อง โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจถดถอย ภาวะเงินเฟ้อ วิกฤตค่าครองชีพ ค่าเดินทางแพงจากปัจจัยราคาน้ำมัน ประกอบกับเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (โลว์ซีซั่น) ตั้งแต่เดือน มี.ค.ปีหน้า และไม่มีการอัดอั้นการเดินทางอย่างเช่นปีนี้

ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายต่อการทำตลาด ซึ่งต้องแข่งกับทุกประเทศที่ต่างเปิดรับนักท่องเที่ยวกันแล้วอย่างมาก ขณะที่เป้าหมายของ ททท.ต้องการดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 20 ล้านคน คาดว่าจะมีรายได้ถึง 2.38 ล้านล้านบาท คิดเป็นการฟื้นตัว 80% ของปี 2562 ที่มีรายได้รวมจากตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวไทย 3 ล้านล้านบาท

เช่นเดียวกับ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หลังจากที่ทางการกลับมาเปิดประเทศรับชาวต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบ ประเทศไทยได้รับการตอบรับจากชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้ในปี 2565 นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวไทยคาดว่าจะมีจำนวน 11.0 ล้านคน ซึ่งดีกว่าที่ทางการได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10 ล้านคน

ส่วนในปี 2566 นั้น นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยน่าจะมีจำนวนประมาณ 20-24 ล้านคน หรือกลับมาคิดเป็นสัดส่วน 50-60% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2562 โดยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางคาดว่ากลับมาฟื้นตัวก่อนและเติบโตกว่าปี 2562 ส่วนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นในภาพรวมน่าจะฟื้นตัวได้ดี แต่ยังต้องใช้เวลากว่าที่จะกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาดของโควิด

สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวจีนยังต้องติดตามการระบาดระลอกใหม่ และการดำเนินนโยบายช่วงปีหน้า ซึ่งอาจทำให้การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนแบบปกติไม่เกิดขึ้นเร็ว

ขณะที่ การใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวไทยสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องในปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 0.84-1.01 ล้านล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อทริปยังต่ำกว่าปี 2562 จากหลายปัจจัย ทั้งความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระยะใกล้ กลุ่ม Younger Travelers กลุ่มที่เดินทางแบบแบ็กแพ็กเกอร์ และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวซึ่งมีผลต่องบประมาณในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว

ดังนั้นในปี 2566 ถือว่ายังเป็นปีที่เหนื่อยสำหรับภาคอุตสาหกรรม สารพัดปัจจัยลบยังคงดาหน้าถาโถมอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลต้องเร่งทำตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจ โดยเฉพาะ ททท.ในฐานะที่ดูแลงานด้านท่องเที่ยวต้องเป็นหัวเรือใหญ่ในเรื่องนี้ ส่วนภาคเอกชนต้องมีแผนการบริหารความเสี่ยงรองรับเพื่อให้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และไม่กระทบสภาพคล่องของธุรกิจ อาทิ แผนรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการเดินทางของนักท่องเที่ยว การลงทุนโครงการใหม่ที่ยังคงต้องระมัดระวัง การเจาะตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติหลากหลายมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง รวมถึงการศึกษาทิศทางเทรนด์ของตลาดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ท้ายสุดมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพการให้บริการยังเป็นสิ่งจำเป็น.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร