กางแผนบูรณาการดันอีอีซี

ก่อนหน้านี้เห็นอีอีซีเงียบๆ ไป เหมือนจะหมดวาระโปรโมตและอยู่ในช่วงดำเนินงานหลังบ้าน แต่ก็แว่วข่าวมาบ่อยๆ พอจะให้โล่งใจได้ว่าไม่ได้หายไปไหน ทั้งการร่วมลงนามกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งอนุมัติแผนงานและแผนลงทุนเป็นช่วงๆ ไหนจะออกมาตรการใหม่ๆ มากำกับดูแลการทำงาน

และล่าสุด พื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ก็ได้เปิดความสำเร็จแผนบูรณาการฯ ต้นแบบเชื่อมโยงร่วมมือรัฐ-เอกชน-ท้องถิ่น โดย นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ออกมากล่าวปาฐกถาพิเศษ “แผนงานบูรณาการอีอีซี สู่การสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศ” โดยมีผู้บริหาร สกพอ. พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ความสำเร็จการพัฒนาพื้นที่อีอีซี และชี้แจงสร้างความเข้าใจทิศทางดำเนินการแผนงานบูรณาการปีงบประมาณ 2567 มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

รวมพลัง รัฐ เอกชน ท้องถิ่น ขับเคลื่อน 5 ภารกิจหลัก ตอบโจทย์พัฒนาอีอีซีครบรอบด้าน การจัดเสวนาฯ ครั้งนี้จะสร้างการขับเคลื่อนพื้นที่อีอีซีอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ “แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” และจะได้ร่วมกันนำเสนอแผนงานบูรณาการอีอีซีในปีงบประมาณ 2567 โดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการ และงบประมาณปี 2567 ให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด พัฒนาพื้นที่อีอีซีอย่างสมดุลและยั่งยืน

แนวทางขับเคลื่อนแผนบูรณาการอีอีซีได้กำหนด 5 ภารกิจหลักเชื่อมโยงความร่วมมือทุกภาคส่วน ได้แก่ 1.สานต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค และดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบคมนาคมแบบไร้รอยต่อ ให้ทันสมัย คู่กับวางโครงข่ายดิจิทัล 5G เพื่อจูงใจภาคเอกชน 2.พัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัยและนวัตกรรม สร้างทักษะบุคลากรให้เพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติงานจริง รองรับความต้องการภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำไปขยายผลเชิงพาณิชย์

3.พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ทันสมัย มีมาตรฐาน ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในการรักษา และเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย 4.พัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดการพัฒนาทัดเทียมนานาชาติ พัฒนาศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ยกระดับสินค้าโอทอปพื้นที่ สร้างรายได้ให้ชุมชนต่อเนื่อง

และ 5. มุ่งให้เกิดการลงทุนด้านเศรษฐกิจ BCG ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มี และสร้างการรับรู้สู่ประชาชน ผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับผลการประชุมผู้นำเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (เอเปก) ที่ได้ประกาศร่วมกัน

ทั้งนี้ จากความสำเร็จแผนงานบูรณาการอีอีซี พร้อมอัตราขยายตัวของ GDP ในพื้นที่อีอีซีเพิ่มขึ้น 6.8% โดยแผนบูรณาการอีอีซีภายใต้แนวคิด “ร่วมคิด ร่วมลงทุน ร่วมพัฒนา” เป็นต้นแบบการจัดทำแผนงานบูรณาการของประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างรัฐ-เอกชน-ท้องถิ่น-ประชาชน พึ่งพางบประมาณแผ่นดินให้น้อยที่สุด ไม่เน้นการใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ซึ่งการจัดทำแผนบูรณาการอีอีซีตั้งแต่ปี 2561-2566 ได้มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม 15 กระทรวง รวมกว่า 44 หน่วยงาน ปัจจุบันได้รับอนุมัติงบประมาณ (จนถึงปีงบประมาณ 2568) รวม 94,514 ล้านบาท และสามารถดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจากมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรวม 1,182,538 ล้านบาท ซึ่งทำให้สามารถสร้างมูลค่าลงทุนจริงได้สูงกว่า 747,509 ล้านบาท

เชื่อว่า แผนบูรณาการอีอีซีจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่และชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นเรื่องเกษตรสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร การขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ เป็นศูนย์ธุรกิจรองรับและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและการเติบโตของธุรกิจ.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร