1เดือนต้องจบ

ก่อนหน้าไม่กี่วัน โลกโซเชียลได้มีการแพร่ภาพผู้โดยสารปริมาณหนาแน่นมากบริเวณจุดรอเข้ารับการตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า ด่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมทั้งระบุว่าสุวรรณภูมิแตก เพราะนักท่องเที่ยวแห่เข้าไทย เนื่องจากเป็นภาพที่ไม่เคยปรากฏมานานนับตั้งแต่สถานการณ์โควิดระบาดรุนแรงเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปี ซึ่งปัจจุบันพบนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลังสถานการณ์โควิด

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและหาแนวทางอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว หัวเรือใหญ่กระทรวงคมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในฐานะกำกับดูแลบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารขาเข้าและขาออก รวมถึงบริเวณจุดตรวจหนังสือเดินทางผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ

ซึ่งหลังจากตรวจบริเวณที่เคยมีปัญหาแออัด พบผู้โดยสารได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว โดยใช้เวลารอคิวเพื่อตรวจหนังสือเดินทางเฉลี่ย 15 นาทีต่อคน และใช้เวลาหน้าจุดตรวจหนังสือเดินทาง 60 วินาทีต่อคน แต่ยังพบปัญหาเครื่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติไม่สามารถสแกนหนังสือเดินทางผู้โดยสารชาวไทยบางคนได้ ต้องแก้ไขโดยให้ไปตรวจหนังสือเดินทางผ่านเคาน์เตอร์ตามปกติ

และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดความแออัดบริเวณจุดตรวจหนังสือเดินทางผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ได้จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการเต็มทุกเคาน์เตอร์ ส่วนเรื่องของอัตรากำลังที่ไม่พอนั้น ตม.ได้เกลี่ยเจ้าหน้าที่จากสนามบินนานาชาติอื่นที่ยังมีผู้โดยสารไม่หนาแน่น มาช่วยบริการที่สุวรรณภูมิก่อนในช่วงดำเนินการเรื่องการเพิ่มอัตรากำลัง

แม้ว่าบริเวณหน้า ตม.จะแก้ไขปัญหาได้ แต่กลับมีปัญหาที่จุดอื่นตามมา คือ บริเวณรับกระเป๋าสัมภาระมีความล่าช้า เนื่องจากปัจจุบันบริษัทผู้ให้บริการภาคพื้นที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (Bangkok Flight Services: BFS) ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ ทำให้การบริการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระขาเข้ามีความล่าช้าในบางเที่ยวบิน โดย BFS ลำเลียงกระเป๋าสัมภาระมาถึงผู้โดยสารใช้เวลาเฉลี่ย 25 นาที ขณะที่บริษัท การบินไทยฯ ใช้เวลามากกว่า 30 นาที บางเที่ยวบินใช้เวลารอนานสุดประมาณ 1.30 ชั่วโมง เกินเป้าหมายสถิติเดิมก่อนเกิดโควิด-19 เมื่อปี 62 ที่ผู้โดยสารใช้เวลารอกระเป๋าไม่เกิน 30 นาที

ดังนั้นในฐานะที่กำกับดูแล ศักดิ์สยาม ชิดชอบ สั่งด่วนให้ปลัดกระทรวงคมนาคม ชยธรรม์ พรหมศ เรียก 2 บริษัทผู้ให้บริการภาคพื้นมาหารือเกี่ยวกับกระบวนการทำงานทั้งหมดว่ายังมีข้อจำกัดใดบ้างในการให้บริการ และจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร โดยให้จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) 

พร้อมระบุอย่างชัดเจนว่า ต้องแก้ไขทันที 1 เดือนต้องจบ หากสามารถแก้ไขทำให้บริการได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ต้องไม่เกิน 30 นาที ก็ยินดีให้ดำเนินการให้บริการต่อไป          และยังย้ำอีกว่าหากไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะมีการเพิ่มผู้ให้บริการรายใหม่เข้ามาดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม เมื่อจุดตรวจคนเข้าเมืองแก้ปัญหาแออัดได้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะให้ปัญหารอรับกระเป๋ามาเป็นคอขวดอีก ทำให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก ขณะนี้การท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น จะเห็นได้จากเดือน พ.ย.2565 ที่มีผู้โดยสารรวม 1.15 แสนคน/วัน และมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านสนามบินแล้ว 3 ล้านคน และในเดือน ธ.ค.นี้คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศและภายในประเทศรวมประมาณ 1.3 แสนคน/วัน เพิ่มขึ้น 13%

ยังไม่นับรวมในปี 2566 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เป็นต้นไปจะได้เห็นนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาประเทศไทย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้ได้รับความสะดวก

เพราะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหน้าตาของประเทศ และเป็นประตูบานแรกที่ก้าวเข้ามา หากจะสร้างภาพจำที่ดีก็ควรจะเริ่มจากการอำนวยความสะดวกสบายจากสนามบิน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า