ช่วงแรกๆ ที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ และกฎหมายกำหนดต้องยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟ หรือ บก.รฟ. ในอีก 1 ปี
หรือประมาณเดือน ต.ค.2566
มีโอกาสได้นั่งคุยกับ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือ ผบช.ก. ต้นสังกัดของ บก.รฟ. ก็ได้สอบถามจะดูแล “ลูกน้อง” ตำรวจรถไฟอย่างไร เพราะบางคนก็ไม่ได้อยากโอนย้ายไปอยู่ภูธรตาม พ.ร.บ.ตำรวจใหม่ ที่ให้ตัดโอนไปสังกัดภูธร
“ผบช.ก้อง” ก็บอกจะไม่ทิ้ง “ลูกน้อง” จะดูแล “ลูกน้อง” ที่ยังต้องการอยู่ในสังกัด บช.ก.ทุกคน
ตอนนั้นบอกตรงๆ ยังไม่เชื่อว่าจะดูแลลูกน้องได้ หรือดูแลอย่างไร???
แถมในใจก็คิดว่าสุดท้ายก็คงปล่อย เพราะเจ้าของรหัสที่ลูกน้องเรียกว่า “JB” เติบโตส่วนใหญ่อยู่แต่ “กองปราบฯ” จะสนใจ “ตำรวจรถไฟ” แค่ไหน
แต่พอเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ได้ฟัง “ผบช.ก้อง” ให้สัมภาษณ์ถึงอนาคตตำรวจรถไฟ ที่หน่วยงาน บก.รถไฟ ต้องยุบในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ชื่นใจแทน “ลูกน้อง” และใจชื้นว่า “ตำรวจรถไฟ” ไม่เดียวดายแน่ๆ
พล.ต.ท.จิรภพ บอก...บช.ก.มีอำนาจหน้าที่ดูแลประชาชนทั่วประเทศอยู่แล้ว ดังนั้นในระหว่างที่ยังไม่มีทางเลือกอื่น บช.ก.จะส่งตำรวจรถไฟที่เลือกอยู่สังกัด บช.ก. ต่อ ไปทำหน้าที่คล้ายๆ เดิมไปก่อน
ซึ่งสิ่งที่ ผบช.ก้องบอกนั้นก็เชื่อมโยงมาจากการที่ บช.ก.ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟกับ รฟท. ยกระดับความปลอดภัย ป้องกัน และปราบปรามปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ทั้งการสนับสนุน แลกเปลี่ยน วางแผน ป้องกัน ปราบปราม หรือแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ การแลกเปลี่ยนข้อมูลคนร้าย ผู้ก่อเหตุ หรือผู้ต้องสงสัย เช่น ข้อมูลระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟทุกรูปแบบ
โดยมีเป้าหมายช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้โดยสารที่มาใช้บริการ และปิดช่องปัญหาการเกิดอาชญากรรม การโจรกรรมทรัพย์สินของ รฟท. รวมถึงปัญหาอาชญากรรมในรูปแบบอื่นๆ
ถูกต้อง... ครับ
อาชญากรรมบนรถไฟเกิดขึ้นได้เสมอ หลายครั้งเป็นการก่อเหตุที่รุนแรง รวมทั้งมีการลักลอบขนส่งสิ่งของผิดกฎหมายต่างๆ หากไม่มี “ตำรวจ” ตรวจบนรถไฟ ตรวจบนขบวนรถ
ลำพังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ รฟท.จะเพียงพอหรือ และจะทำให้คนร้ายเกรงกลัวแค่ไหน อย่างไร
หากจะไปพึ่งพาตำรวจโรงพัก ตำรวจที่ถูกตัดโอนไปในแต่ละภูธร แต่ละพื้นที่ที่ขบวนรถไฟผ่าน จะขึ้นมาตรวจขบวนแค่รถวิ่งยังไม่ทันเดินครบทุกโบกี้ก็เลยขอบเขตอำนาจของตำรวจแต่ละโรงพักแล้ว
ใครจะเป็นเจ้าภาพกันแน่???
การแก้ปัญหา “ตำรวจรถไฟ” ที่ติดล็อกจาก พ.ร.บ.ตำรวจใหม่ ของ พล.ต.ท.จิรภพ ครั้งนี้ ด้วยการทำ MOU กับ รฟท. ก็ถือเป็นอีกทางออกหนึ่งที่ทำให้ “ตำรวจรถไฟ” ทุกนายยังได้ทำหน้างานเดิมต่อไป
แบบไม่อ้างว้าง...เดียวดาย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นัดประชุม ก.ตร.
การนัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ที่มี นายกฯ อิ๊งค์-แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน
เกร็งไปหมด!
ออกอาการเกร็งอย่างเห็นได้ชัด การจัดโผ "นายพล" ล็อตสอง ระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.)-ผู้บังคับการ (ผบก.) วาระประจำปี 2567 หรือนายพลเล็ก ยศ พล.ต.ต. ทั่วประเทศ
แต่งตั้ง ตร.วุ่น!
ปวดหมองแทน ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร แม่ทัพใหญ่สีกากี กว่าจะฝ่าฝุ่นตลบงวดแต่งตั้ง "นายพลใหญ่" ระดับ รองผบ.ตร.และจเรตำรวจแห่งชาติ ถึง ผู้บัญชาการ(ผบช.) ยศ พล.ต.อ.-พล.ต.ท.วาระประจำปี 2567 มาได้ก็แทบต้องเรียกหายาพารา
เชื่อมือ 'ผบช.ไซเบอร์'
แก๊งคลอเซ็นตอร์ แก๊งมิจฉาชีพ แก๊งหลอกลงทุน ที่มาในหลากหลายรูปแบบ ยังคงออกอาละวาดสร้างความวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อน ให้ผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกสถานะ ไม่หยุดหย่อน
'นายพล' ล็อตสอง!
ไม่ปล่อยให้รอนาน บิ๊กต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. เคาะระฆังส่งสัญญาณเริ่มการแต่งตั้ง "นายพล" ล็อตสอง ระดับ รองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.) ถึง ผู้บังคับการ (ผบก.) วาระประจำปี 2567 เรียบร้อยแล้ว
ประสบการณ์ใหม่!
ต้องเรียกว่าเป็นการเปิดโลกแวดวง "สีกากี" ครั้งใหม่ ครั้งใหญ่ ครั้งสำคัญ ในการแต่งตั้ง "ตำรวจ" ระดับ "นายพล" ที่ "ก.ตร." จับมือยึดกฎ ยึดเกณฑ์ ยึดกติกา ยึดข้อกฎหมายเป็นกำแพงเหล็ก