คงต้องยอมรับว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตของผู้คน ตลอดจนภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการใช้ชีวิตแบบวิถีปกติสู่ชีวิตวิถีใหม่ มาจนถึงเน็กซ์นอร์มอล และในปี 2565 ก็จะเข้าสู่ยุคนาวนอร์มอล ยุคที่ผู้คนต่างปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ และต่างมองหาประสบการณ์แบบครบวงจร
แน่นอนว่า หากผู้ประกอบการไม่เตรียมพร้อมหรือปรับตัวเพื่อรับมือ การดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคนาวนอร์มอล (Now Normal) อาจเป็นเรื่องยาก
โดยในช่วงที่ผ่านมา บริษัท พีเพิลสเคป จำกัด ในเครือเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ มีการจัดงานสัมมนาขึ้น จึงอยากมาสรุปเนื้อหาที่น่าสนใจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการให้หาแนวทางการปรับตัวและทรานส์ฟอร์มองค์กรอสังหาฯ สู่อนาคตได้อย่างทันท่วงที
นางธีริศรา พวงประโคน กรรมการผู้จัดการบริษัท พีเพิลสเคป จำกัด ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนใกล้ชิดกับ AI มากขึ้น หลายองค์กรนำเรื่อง AI เข้ามาใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน มีการจ้างงานในรูปแบบพนักงานชั่วคราวมากขึ้น ส่งผลให้รูปแบบโครงสร้างองค์กรในยุค Now Normal เปลี่ยนไป สู่โครงสร้างองค์กรแบบ HYBRID STRUCTURE ที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
โครงสร้างองค์กรแบบไฮบริดสตรักเจอร์เป็นโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์เรื่อง Digital Disruption ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยเป็นการผสมผสานโครงสร้างแบบเดิม คือ นำเรื่องของลำดับขั้นในการบริหารจัดการรวมเข้ากับการทำงานแบบไม่มีใครเป็นหัวหน้าใคร ทุกคนในทีมสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ได้ตามความถนัดและความสามารถของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา รวมทั้งเรื่องการจ้างงาน จะเป็นพนักงานชั่วคราวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในงานที่ต้องการความชำนาญเฉพาะทาง
นายอลงกต บุญมาสุข ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และเลขาธิการสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย มองว่า กิจกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยทั่วประเทศอาจหดตัวถึงกว่า 30% เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชน แต่หากมองภาพรวมของตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย พบว่า ณ เดือนสิงหาคม 2564 ยอดคงค้างสินเชื่อบ้านของธนาคารพานิชย์ไทยมีอัตราการเติบโต 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อบ้านระดับราคามากกว่า 3 ล้านบาทยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
สำหรับในปี 2565 ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยหนุน อาทิ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดีขึ้น เศรษฐกิจเริ่มกลับมาขับเคลื่อนอีกครั้ง ตลอดจนมาตรการผ่อนคลาย LTV ของ ธปท.สำหรับที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เป็นต้นไป จากเดิม 70-90% เป็น 100% ขณะที่ในสัญญาซื้อหลังแรกยังคงเดิมอยู่ที่ 100% พร้อมให้เงินกู้เพิ่มอีก 10% เพื่อใช้ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ โดยมีผลบังคับใช้ถึง 31 ธ.ค.2565 จะเป็นการช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ คาดการณ์ได้ว่าตลาดสินเชื่อบ้านปี 2565 จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 0.3-0.7% แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องซัพพลายที่อยู่อาศัยรอขายสะสมกว่า 4 แสนหน่วย และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภาคครัวเรือนยังอยู่ในภาวะเปราะบาง
นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคัพ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า การแปลงสินทรัพย์ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล สามารถทำธุรกรรมได้ตลอดเวลา ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าในโลกจริง ต่างจากธุรกรรมทางการเงินแบบเดิมที่ยังมีข้อจำกัดด้านเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งในอนาคตอาจมีการผสานการทำงานร่วมกันระหว่าง Blockchain และ IoT ให้ผู้อยู่อาศัยใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น
ในวงการอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการนำคอนโดฯ และอาคารมาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบ Fractional Ownership แบ่งกรรมสิทธิ์ห้องพักให้มีเจ้าของร่วมกันได้หลายคน แล้วปันผลประโยชน์จากค่าเช่าตามสัดส่วนการลงทุน ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนเป็นเจ้าของห้องพักได้โดยไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวนมูลค่าสินทรัพย์นั้นๆ.
รุ่งนภา สารพิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research