บันทึกหน้า 4

เริ่มต้นสัปดาห์แห่งการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บรรยากาศประเทศไทยเริ่มคึกคักตั้งแต่สนามบินสุวรรณภูมิ ยันโรงแรมที่พัก    ผู้นำ และตัวแทน  จาก 21 เขตเศรษฐกิจ   ที่คึกไม่แพ้กันคือ การชุมนุม กลุ่มที่ถูกจับตามองคือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย หลังมีเอกสารหลุด ชื่อว่า “PROTECT THE PROTEST - FLAGSHIP CAMPAIGN ON THE RIGHT TO PROTEST AND PEOPLE’S MOVEMENTS, OPERATIONAL PLAN JUNE 2022-DECEMBER 2023”

เพจเฟซบุ๊ก The METTAD เอามาแฉว่า แอมเนสตี้ มีกำหนดการแทรกแซงในหลายประเทศ โดยมีการกำหนดเป้าประสงค์ กำหนดวิธีการ และตั้งปฏิทินไทม์ไลน์ตั้งแต่กลางปี 2022 ไปจนถึงปลายปี 2023 และไทยก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ตกเป็นเป้าหมาย ในการปฏิบัติการเคลื่อนไหวสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลไทยในทุกโอกาส โดยใช้ข้ออ้างเรื่อง “สิทธิเสรีภาพ”

เอกสารนี้ ก็บ่งชี้ชัดว่า แอมเนสตี้ ยังคงเคลื่อนไหวช่วยเหลือพวกม็อบ 3 นิ้วต่อไป เหมือนที่ทำมาตลอด ทั้งการออกมาปกป้องผู้ก่อเหตุจลาจล ปกป้องผู้กระทำความผิดม.112 ปกป้องคนปล่อยเฟกนิวส์ในโลกออนไลน์ และปกป้องอาชญากรคดีอื่นๆอีกมากมาย โดยอ้างเรื่อง “สิทธิเสรีภาพ” ซึ่งก็ดูเหมือนว่าไม่ได้มีเรื่องอะไรใหม่

ยังบอกอีกด้วยว่า มีเป้าประสงค์ในการเคลื่อนไหว คัดค้านขัดขวางการประชุมAPEC2022 และเคลื่อนไหวเพื่อ หวังผลสำหรับการเลือกตั้ง ในปี 2023 แบบนี้ก็เห็นได้ชัดเจนว่า ไม่ว่า ม็อบนั้น ๆ จะหัวรุนแรงหรือไม่ก็ตาม จะฝ่ายซ้ายฝ่ายขวาก็ไม่สำคัญ ขอให้ไล่รัฐบาลได้เป็นพอ และ หลังจากที่เอกสารชุดนี้หลุดออกมาไม่นาน สำนักข่าวสมพรนิวส์ก็รายงานข่าวเมื่อคืนวันที่ 10 พ.ย. 65  ว่า “เครือข่ายราษฎร” ประกาศเตรียมก่อม็อบประท้วงคู่ขนาน  การประชุม APEC วันที่ 16-18 พ.ย. เช่นกัน

ส่วนเฟซบุ๊กเพจ “Amnesty International Thailand” ก็โพสต์รูปภาพและข้อความ วันที่ 10 พ.ย.   ระบุว่า “แถลงการณ์ร่วม เจ้าหน้าที่รัฐไทยต้องยุติการดำเนินคดี” โดยในภาพแถลงการณ์ร่วม ก็มีโลโก้ NGOs ที่เป็นเครือพันธมิตรเดียวกันทั้งหมด นั่นหมายความว่า ทุกกลุ่มทุกก๊วนที่ออกมารวมตัวประท้วงช่วง APEC โดยมี แอมเนสตี้ คอยสนับสนุน อยู่เบื้องหลังใช่หรือไม่

ไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เคลื่อนไหวเรียกร้อง แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย วันเสาร์ที่ผ่านมา  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงนามโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่อง กำหนดสถานที่ตามนัยมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558  มีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน   กำหนดพื้นที่ห้ามชุมนุมทั้งสิ้น  20 แห่ง ดังนี้  1. สถานที่จัดการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  2. สถานที่พำนักผู้แทนประเทศในการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐ 2.1 โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ ผู้แทน บูรไน 2.2 โรงแรมอนันตรา สยาม ผู้แทน สหรัฐอเมริกา 2.3 โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพ ผู้แทน สิงคโปร์ 2.4 โรงแรมโรสวูด กรุงเทพ ผู้แทน นิวซีแลนด์ 2.5 โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพ ผู้แทน เปรู 2.6 โรงแรมดิ แอทธินี ผู้แทน ไต้หวันและเวียดนาม 2.7 โรงแรมคอนราด กรุงเทพ ผู้แทน ญี่ปุ่น 2.8 โรงแรมคิมป์ตัน มาลัย กรุงเทพ ผู้แทน อินโดนีเซีย 2.9 โรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพ ผู้แทน ฮ่องกงและกัมพูชา 2.10 โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท ผู้แทน ชิลีและปาปัวนิวกินี 2.11 โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพ ผู้แทน แคนาดา 2.12 โรงแรมโซ แบงคอก ผู้แทน ฝรั่งเศส 2.13 โรงแรมวอลดอร์ฟแอสโทเรีย ผู้แทน มาเลเซี 2.14 โรงแรมเดอะ เซนต์ รีจิส ผู้แทน ซาอุดิอาราเบีย 2.15 โรงแรมแบงคอก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ ปาร์ค ผู้แทน ฟิลิปปินส์ 2.16 โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพ ผู้แทน ออสเตรเลีย 2.17 โรงแรมบันยันทรี ผู้แทน เม็กซิโก 2.18 โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ ผู้แทน จีน 2.19 โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพ

เช็กเสียงผู้นำเอเปคที่ตอบรับแล้วว่ามาแน่มี แอนโทนี แอลบาเนซี  นายกรัฐมนตรี ออสเตรเลีย,สมเด็จพระราชาธิบดี  บรูไนดารุสซาลาม, นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรี แคนาดา, กาบริเอล โบริก ฟอนต์ ประธานาธิบดีชิลี , สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน, จอห์น ลี คา-ชิว ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง, โจโก วีโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย, คิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น, ฮัน ด็อก-ซู นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้, ตัน ซรี ดาโตะ เซอรี โมฮามัด ซูกี บิน อาลี เลขาธิการรัฐบาลมาเลเซีย, เบร์นาโด กอร์โดบา เตโย เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย, จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์, เจมส์ มาราเป นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี, ดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา รองประธานาธิบดีเปรู คนที่ 1,แฟร์ดีนันด์ โรมูอัลเดซ มาร์โคส จูเนียร์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์, อันเดรย์ เบโลอูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย คนที่ 1, ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์, มอร์ริส จาง  ผู้แทนจีนไทเป,คามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ, เหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีเวียดนาม

และแขกพิเศษ 3 ประเทศ  สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา,เอมานูว์แอล มาครง  ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย

เกษมราษฎร์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บันทึกหน้า 4

ถึงคิว "ฉายาสภาประจำปี 2567" หลังเปิดฉายารัฐบาลไปก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาตลอดของนักข่าวสายการเมือง ที่ต้องการสะท้อนภาพการทำงานของ 2 สถาบันหลักของบ้านเมือง ฝ่ายบริหารซึ่งก็คือรัฐบาล

บันทึกหน้า 4

ในวันที่เข้าสู่ช่วงเตรียมนับถอยหลังอำลาปี 2567 ปีมะโรง เพื่อเตรียมต้อนรับปีมะเส็ง งูเล็ก 2568 ทำให้ตอนนี้คนส่วนใหญ่วางแผนเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนาบ้านเกิดเพื่อพักผ่อนปีใหม่กันแล้ว

บันทึกหน้า 4

ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด "ฉายารัฐบาล" ปีนี้ออกมาเร็วกว่าปกติ สื่อทำเนียบรัฐบาลตั้งฉายาว่า "รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง"

บันทึกหน้า 4

“ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด” ตามธรรมเนียม ใกล้สิ้นปีสื่อประจำทำเนียบฯ จะตั้งฉายารัฐบาลและคณะรัฐมนตรี เพื่อสะท้อนการทำงาน และบทบาททางการเมืองต่างๆ ในตลอดปี 67

บันทึกหน้า 4

เริ่มนับถอยหลังสู่เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ใคร?!? หน้าแห้ง!! ใคร?!? กระเป๋าแห้ง!! ก็สามารถไปส่งเสียงร้อง "จิงเกิลเบล" ได้เอาที่สบายใจ เพราะสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าถนนสายช็อปปิ้ง ระดมกันจัดงานคึกคัก หวังว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายได้

บันทึกหน้า 4

ถึงมาช้าแต่เข้มข้น "ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี" ประธานอนุกรรมการสอบสวนเฉพาะกิจ แพทยสภา ประกาศขึงขังลุยสอบจริยธรรมโรงพยาบาลตำรวจ ปมป่วยทิพย์ชั้น 14 "เรื่องการสอบสวน ต้องมีอำนาจอยู่แล้ว ไม่มีอำนาจไม่ได้