จับตาเศรษฐกิจปี 65

เหลือเวลาอีกเพียงเดือนกว่า ปี 2564 ก็จะผ่านพ้นไป ต้องยอมรับว่าปีนี้ถือเป็นปีที่เศรษฐกิจมีความยากลำบากที่สุดนับย้อนไปกว่า 20 ปีตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า วิกฤตโรคระบาดอย่างโควิด-19 ได้ส่งผลต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ อาชีพการงานอย่างใหญ่หลวง ในปีนี้เราเจอการระบาดถึง 2 ระลอก ต้องปิดเมือง หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปหมด และจนถึงตอนนี้ก็ยังมีหลายอาชีพที่ยังไม่สามารถออกมาทำมาหากินได้ตามปกติ

แต่อย่างไรก็ดีในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้บรรยากาศและเศรษฐกิจต่างๆ น่าจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดต่างๆ

รวมถึงการเปิดให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวในไทยมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจในช่วงท้าย

โดยหลายฝ่ายประเมินกันว่า เศรษฐกิจในปี 64 จะโตอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1% และจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้หากรัฐบาลมีการออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งตอนนี้เอกชนโดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกก็เฝ้ารอว่าปีนี้จะมีมาตรการช้อปช่วยชาติออกมาเพิ่มเติมหรือไม่

ส่วนทิศทางในปี 2565 นั้นหลายฝ่ายมองตรงกันว่า เศรษฐกิจไทย มีสิทธิ์ขยายตัวได้มากกว่าปีนี้ โดยล่าสุด อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง ได้กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ WEALTH VIRTUAL FORUM ลงทุนอย่างไร...ให้รวย? ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเติบโตได้ที่ระดับ 4% เป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ยังมีขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงนโยบายที่ชัดเจนของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมไปถึงเม็ดเงินจากภาครัฐที่จะเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 3.7-4 ล้านล้านบาท

ขณะที่ ทางสภาพัฒน์ก็ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 จีดีพีไทยจะขยายตัวในช่วง 3.5-4.5% ค่ากลาง 4% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1.การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการผลิตตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน 2.การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของภาคท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายใต้นโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐ 3.การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการส่งออกสินค้า 4.การขับเคลื่อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ 5.ฐานการขยายตัวที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

ด้านสถาบันเอกชน อย่าง ttb analytics เผยเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัว 3.6% จากทุกองค์ประกอบที่มีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวกลับมาได้เร็วใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ส่วนการลงทุนภาครัฐยังขยายตัวเพิ่มขึ้น การส่งออกเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่การท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัว และใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีในการกลับสู่ระดับปกติ

ทั้งนี้ประเมินปัจจัยการลงทุนภาครัฐ ก็จะเป็นพระเอกสำคัญสำหรับทิศทางการขยายตัวของปีหน้า เห็นได้จากเม็ดเงินที่มีมหาศาลถึง 3-4 ล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งจะมาจากโครงการลงทุนในอีอีซี ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ 12 อุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และระบบอัตโนมัติต่างๆ จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย

แต่ถึงจะมีความหวังว่าเศรษฐกิจในปี 65 จะโต 3-4% ก็ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญมากอีกประการ คือ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งยังถือเป็นตัวแปรสำคัญ เห็นบทเรียนได้จากประเทศในแถบยุโรปที่ขณะนี้โควิด-19 ได้กลับมาระบาดอย่างรุนแรงใหม่ และในบางประเทศก็มีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง นี่คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแน่ๆ และสิ่งนี้จะกลายเป็นต้นทุนด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นไปอีก และเป็นตัวฉุดการเติบโตอย่างแน่นอน.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร