มาตรการรัฐบรรเทาพิษโควิด

การระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ไม่เพียงส่งผลกระทบในด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังสร้างความเสียหายให้กับสังคมและเศรษฐกิจด้วย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการควบคุมการแพร่ระบาด หลายมาตรการกระทบต่อการจ้างงาน รายได้ ความมั่นคงทางอาหาร กลไกการรับมือ การศึกษา ไปจนถึงสุขภาพ

ทั้งนี้ ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ร่วมกับ UNICEF Thailand และ Gallup Poll ทำการสำรวจครัวเรือนและความยากจนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

โดยเป็นการสำรวจทางโทรศัพท์อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.-15 มิ.ย.2564 จากประชาชนที่มีอายุเกิน 18 ปี จำนวน 2,000 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 50% ได้รับผลกระทบด้านการงาน บางคนต้องออกจากงาน หยุดงานชั่วคราว ถูกลดชั่วโมงทำงาน หรือได้รับค่าตอบแทนที่น้อยลง และครัวเรือนที่ให้สัมภาษณ์กว่า 70% มีรายได้ลดลงตั้งแต่เดือน มี.ค.2563 ขณะเดียวกันการทำเกษตรกรรมและประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่เกษตรกรรมได้รับผลกระทบอย่างมากจากรายได้ที่ลดลง ประมาณ 50% มีรายได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ส่วนประเด็นด้านการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 57% บ่งชี้ว่าเด็กในครัวเรือนประสบปัญหาด้านการเรียน เด็กในพื้นที่ชนบทและครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ มีแนวโน้มว่าจะมีอุปสรรคด้านการเข้าถึงอุปกรณ์ในการเรียนสูงกว่า ขณะที่ด้านสุขภาพ พบอีกว่า ครัวเรือนประมาณ 1 ใน 3 ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ เนื่องจากกังวลเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 และ ณ เวลาที่ได้ทำการสำรวจนี้ ระบุว่า ความกังวลเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ประชาชนลังเลไม่กล้าฉีดวัคซีน โดยกลุ่มที่มีการศึกษาไม่สูง มีรายได้ต่ำ และกลุ่มเยาวชนกว่า 36% ไม่มีแผนจะเข้ารับการฉีดวัคซีน

ส่วนในด้านความคุ้มครองทางสังคมนั้น พบว่า ครัวเรือนกว่า 80% ได้รับประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือในสภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลที่เริ่มในปี 2563 โดยคิดเป็นสัดส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ และผู้ที่มีรายได้ปรับลดลงอย่างรุนแรงประมาณ 90% ขณะที่สัดส่วนผู้ขอรับประโยชน์จากสวัสดิการสังคมในปี 2563 เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 2562

โดยพบว่า การดำเนินมาตรการภาครัฐที่ผ่านมาช่วยลดผลกระทบได้มาก เพราะสามารถครอบคลุมและเข้าถึงกลุ่มเปราะบางได้ถึง 80% ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของคนยากจนเพิ่มขึ้นในระดับต่ำ จาก 6.2% ในปี 2562 เป็น 6.4% ในปีที่ผ่านมา แต่!! หากไม่มีการดำเนินมาตรการภาครัฐก็มีโอกาสที่คนยากจนในประเทศไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 7.4%

ขณะที่ กระทรวงการคลังระบุว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้งบประมาณในการเยียวยาประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ไปเกือบ 1 ล้านล้านบาทแล้ว โดยมีประชาชนที่อยู่ในระบบสวัสดิการราว 44 ล้านคน ส่วนทิศทางการดำเนินการในระยะต่อไปจะมีการจัดสวัสดิการให้กลุ่มคนเปราะบาง การนำ Big Data มาใช้ในการออกแบบนโยบายให้เหมาะสมกับกลุ่มคนและพื้นที่ การเชื่อมข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ การลดบทบาทการเยียวยา แต่เพิ่มบทบาทการฟื้นฟูและกระตุ้นการบริโภค ภายใต้การดำเนินการตามกรอบวินัยทางการคลัง

ขณะที่ ภาคเอกชนอย่างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มองว่า ระบบสวัสดิการไม่ใช่เรื่องการสงเคราะห์ แต่เป็นระบบที่จะช่วยการพัฒนาประเทศโดยใช้คนเป็นศูนย์กลาง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนการใช้งบประมาณให้เหมาะสมกับภารกิจ โดยลดการใช้จ่ายด้านเศรษฐกิจ แล้วเพิ่มด้านสังคม นำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ใช่นำไปลงทุนผลิตสินค้าเพื่อแข่งขันกับภาคเอกชน

ต้องยอมรับว่า “สถานการณ์การระบาดของโควิด-19” ส่งผลกระทบกับรายได้ของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยที่ผ่านมาเวิลด์แบงก์ได้เคยทำการประเมินว่า นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้ในปี 2563 คนไทยยากจนเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 ล้านคน ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะมีคนไทยที่มีความยากจนเพิ่มขึ้นอีก 1.7 แสนคน การเร่งแก้ปัญหาในทุกมิติจากทุกภาคส่วนจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะด้านสวัสดิการทางสังคมอย่างเพียงพอกับความต้องการ ตรงจุด ตรงเป้าหมาย รวมถึงการเร่งเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการศึกษา ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางในการมีงานทำ การเข้าถึงสินเชื่อในระบบและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นอกจากจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่อยู่คู่ประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้ว ยังอาจจะเป็นการช่วยพัฒนาประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0

อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต

แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น

OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย

ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง

แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ

จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว

ซึมยาวถึงกลางปีหน้า

ข้อมูลจากสถาบันยานยนต์จะพบว่า ในปี 2566 ตลาดยานยนต์ในไทยมีมูลค่ารวมกว่า 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ของ GDP ประเทศ และจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ของภาครัฐที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก อันดับ 5 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของอาเซียน

ความท้าทายเศรษฐกิจโลก2025

ดูเหมือนว่าในปีหน้า 2568 การค้าโลกและเศรษฐกิจไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายและโอกาส โดย finbiz by ttb ฉายภาพเศรษฐกิจภาพใหญ่ และเจาะความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลต่อการค้าโลกและการค้าของไทยไว้ได้อย่างน่าสนใจ