เว้นวรรครัฐประหาร (ตอนที่ ๑๒): การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการยุบสภาเมื่อใกล้ครบวาระของอังกฤษ

 

ในปี ค.ศ. 2011 อังกฤษได้มีการออกพระราชบัญญัติที่เรียกว่า the Fixed-Term Parliament ที่กำหนดให้การยุบสภาก่อนครบวาระจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับเสียงเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรเป็นจำนวนสองในสาม ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบแผนประเพณีในการยุบสภาครั้งใหญ่ของอังกฤษและของโลกเลยก็ว่าได้ ผู้ที่มีบทบาทในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขเงื่อนไขในการยุบสภาผู้แทนราษฎรคือ โทนี เบน (Tony Benn) นักการเมืองปีกซ้ายจัดของพรรคแรงงาน โดยโทนี เบนแสดงถึงความกังวลถึงแบบแผนการยุบสภาเดิมที่ให้ลำพังนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯขอให้พระมหากษัตริย์ยุบสภา เพราะถ้าพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจวินิจฉัยส่วนพระองค์ไปในทางใดก็ตามที่เป็นการปฏิเสธหรือยืนยันคำแนะนำของรัฐบาล ที่ไม่ได้มาจากการลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎร การใช้พระราชอำนาจดังกล่าวนี้อาจจะทำให้เกิดการต่อต้านจากพรรคที่มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น และนำพาให้อนาคตของตัวสถาบันพระมหากษัตริย์เองไปสู่ใจกลางของปัญหาข้อถกเถียงทางการเมือง  

ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกติการในการยุบสภา โดยการเสนอให้มีกฎหมายกำหนด “วาระที่ตายตัวของสภาฯ” มีเหตุผลดังต่อไปนี้คือ   ๑. เพื่อความเป็นธรรมในการเลือกตั้ง  (ดูรายละเอียดในตอนที่แล้ว) และ

๒. เพื่อลดทอนอำนาจในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี

ด้วยกติกาแบบเดิม ทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นเหนือเพื่อนร่วมงานของเขา ทำให้เขาสามารถควบคุมรัฐมนตรีและบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรุ่นใหม่ในพรรคของเขาโดยถ้าคนเหล่านี้ตั้งท่าจะแตกแถว นายกรัฐมนตรีจะตอบโต้โดยใช้การยุบสภาฯเป็นมาตรการในการบีบบังคับควบคุมคนเหล่านั้น อย่างกรณีของนาย John Major สามารถควบคุมกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนุรักษ์นิยมที่จะแตกแถวในกรณีนโยบายเกี่ยวกับ the Maastricht ด้วยการขู่ว่าจะยุบสภาฯก่อนครบวาระ แต่ถ้ามีกฎหมาย “วาระที่ตายตัว” นายกรัฐมนตรีจะไม่สามารถใช้มาตรการดังกล่าวนี้ได้อีกต่อไป

๓. เพื่อการจัดการการเลือกตั้งที่ดีขึ้น

คณะกรรมาธิการการเลือกตั้งได้ให้ความสนใจในการมีสภาผู้แทนราษฎรที่มีวาระที่แน่นอนตายตัว (fixed term parliaments) มาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว  ดังนั้น หากมีแบบแผนกำหนดวาระของสภาผู้แทนราษฎรที่ตายตัวจะช่วยให้ผู้จัดการการเลือกสามารถตั้งเตรียมตัวได้ดีขึ้น เพราะรู้กำหนดการเลือกตั้งที่แน่นอนล่วงหน้าแล้ว

๔. เพื่อให้รัฐบาลสามารถวางแผนการบริหารงานได้ดีขึ้น

การที่สภาผู้แทนราษฎรมีวาระที่แน่นอนจะช่วยสร้างความคาดหวังที่สภาฯจะสามารถอยู่ได้ครบวาระ (ที่บ้านเราเรียกภาษาปากว่า ครบเทอม)  ซึ่งการอยู่ครบวาระได้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกรณีที่รัฐบาลเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยหรือเป็นรัฐบาลผสม หรือเมื่อเสียงข้างมากของรัฐบาลมีจำนวนน้อยลง  สภาฯที่มีวาระแน่นอนตายตัวจะช่วยให้รัฐบาลมีเวลาที่เหมาะสมในการออกกฎหมายและพัฒนาโครงการนโยบายต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาอื่นๆที่จำเป็นต้องอาศัยเวลาในการบรรลุผล

๕. เพื่อเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

จากการลดการใช้พระราชวินิจฉัยหรือกำหนดการใช้พระราชอำนาจวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์ จะช่วยหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่มีการถวายคำแนะนำต่อองค์พระมหากษัตริย์เพื่อให้มีการยุบสภาฯก่อนครบวาระ

ขณะเดียวกัน ก็มีข้อโต้แย้งต่อการกำหนดให้สภาฯมีวาระที่ตายตัวด้วย นั่นคือ

๑. การขาดความยืดหยุ่นและลดทอนความรับผิดชอบ (accountability)

การที่สภาฯมีวาระที่กำหนดไว้ตายตัวทำให้การเลือกตั้งทั่วไปไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในยามที่มันอาจจะมีความเหมาะสมที่จะยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้ง ตัวอย่างได้แก่ ในกรณีที่นาย Antony Eden ตัดสินใจขอให้มีการเลือกตั้งก่อนสภาฯควรวาระในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๕๕ ถือเป็นกรณีที่การยุบสภาฯมีความชอบธรรมที่จะยุบเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้น เขาได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก Churchill เร็วขึ้นเก้าวันหลังจากที่ Churchill ลาออก

การกำหนดวาระสภาฯที่ตายตัวจะทำให้รัฐบาลไม่มีอำนาจหรือถูกลดทอนอำนาจที่จะทดสอบความเห็นของประชาชนผ่านการเลือกตั้งในประเด็นสำคัญๆที่อาจจะเป็นผลประโยชน์ของชาติที่จะหยั่งเสียงประชาชน

การกำหนดวาระที่แน่นอนของสภาฯก่อให้เกิดความเคร่งครัดตายตัวสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่สภาวะที่รัฐบาลเป็น “เป็ดง่อย”  ขาดเสียงไว้วางใจจากสภาฯ แต่ก็ไม่สามารถยุบสภาฯได้ ความกังวลดังกล่าวนี้มักจะอ้างอิงกรณีของ New South Wales ที่รัฐบาลที่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้จนกว่าสภาฯจะครบวาระ เพราะเสียงข้างมากในสภาฯไม่ยอมลงมติให้มีการยุบสภา

๒. ไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ได้จริงๆ

ประสบการณ์ของสภาฯที่มีวาระที่แน่นอนในประเทศต่างๆชี้ให้เห็นว่า ข้อกำหนดให้สภาฯมีวาระที่แน่นอนนั้นอาจจะไม่ได้ผล  เพราะในที่สุดแล้ว หากรัฐบาลใดมีความจำเป็นที่ต้องการยุบสภาฯก่อนกำหนด รัฐบาลก็มักจะหาทางใดทางหนึ่งที่จะยุบสภาฯจนได้ อย่างเช่นในกรณีของ ผู้นำเยอรมนี Helmut Kohl ในปี ค.ศ. ๑๙๘๒ และ Gerhard Schroder ในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ ที่ตัวผู้นำเองพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้รัฐบาลพ่ายแพ้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อให้มีการยุบสภาฯ  

เฮอร์มุท โคลฮ์
เกอร์ฮาร์ท ชโรเดอร์

ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องประหลาดมากที่ตัวรัฐบาลเยอรมันเองต้องการไม่ได้รับความไว้วางใจ  แต่ความต้องการให้เสียงข้างมากของรัฐบาลคว่ำรัฐบาลนี้เป็นกุศโลบายที่หาทางจัดตั้งรัฐบาลผสมใหม่ที่มีเสถียรภาพความมั่นคงมากขึ้นกว่าเดิม

เรื่องราวการพยายามยุบสภาในการเมืองเยอรมันในปี ค.ศ. ๑๙๘๒ และ ค.ศ. ๒๐๐๕ ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน และส่งผลให้เราอดคิดไม่ได้ว่า นักการเมืองที่ไหนๆก็ซับซ้อน ไม่ว่าจะตรากฎหมายออกมาอย่างไร พวกเขาก็มีปัญญาจะหากุศโลบายต่างๆในการหาช่องได้อยู่ดี

โปรดติดตามในตอนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' ยันไม่ได้พูดเอาหล่อ ภูมิใจไทยค้านกม.สกัดรัฐประหาร ขอไม่โต้ 'ทักษิณ'

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แซวว่านายอนุทินชิงหล่อกรณีคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม

เหลี่ยมจัด! 'หัวเขียง' ขอปรับแก้ 24 จุด กม.สกัดรัฐประหาร ก่อนดันเข้าสภาฯอีกรอบ

นายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมสส. พรรคถึงเรื่องการเตรียมถอนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า ตนมีปัญหาสุขภาพมาตั้งแต่ช่วงเดือนเม.ย. ถึงต.ค. 67

วิสุทธิ์พลิ้ว! ปมกฎหมายยึดอำนาจกองทัพ

'วิสุทธิ์' ลั่นพรรคไหนก็ไม่เอาด้วยทั้งนั้น 'รัฐประหาร' ยอมรับ ร่าง กม.'ประยุทธ์' จัดระเบียบกลาโหม หลายคนติงให้ถอนมาปรับปรุง ชี้บางพรรคยังไม่เห็นของ 'เพื่อไทย' เลยไม่สบายใจ แต่ต้องคุยกัน

'ประเสริฐ' มั่นใจ 'เพื่อไทย' ไม่โดนปฏิวัติรอบ 3 ร่างกม.ยังไม่ผ่านที่ประชุมพรรค

'ประเสริฐ' มั่นใจ 'เพื่อไทย' ไม่โดนปฏิวัติรอบ 3 เหตุ สังคมโลกเปลี่ยนไป ชี้ ร่างกฎหมายของ 'ประยุทธ์' ยังไม่ผ่านที่ประชุมพรรค

'ธนกร' ดีดปาก 'ปิยบุตร' เลิกเสี้ยมปม กม.จัดระเบียบกลาโหม

'ธนกร' สวน 'ปิยบุตร' หยุดเสี้ยมปม กม.จัดระเบียบกลาโหม ยัน สส.ฟังเสียงประชาชน ปัดมีใบสั่งจากชนชั้นนำ ย้ำชัด กองทัพเป็นความมั่นคงของชาติทุกมิติ ชี้หากทำผิดก็อยู่ยาก ป้องกันรัฐประหารไม่ได้