'ศก.โลก-ไทย'ปี66ยังท้าทาย!

ขณะนี้หลายฝ่ายต่างประเมินว่า “เศรษฐกิจโลก” กำลังเผชิญกับแรงต้านที่รุนแรง และมีสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นความท้าทายสำคัญให้กับหลายประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเริ่มจะฟื้นตัว หลังจากซมพิษโควิด-19 มานานหลายปี โดยล่าสุด ฟิชท์ เรทติ้งส์ ได้ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2566 ยังคงมีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปที่เริ่มเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยตั้งแต่ช่วงปีนี้

ขณะที่คาดว่าสหรัฐจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อยในช่วงกลางปี 2566 จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงและตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนเศรษฐกิจของจีนเองก็ยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ และความเสี่ยงต่อเนื่องในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

สำหรับประเทศไทยนั้น ฟิชท์ เรทติ้งส์ มองว่า ยังมีภาคการเงินต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเทียบกับอันดับเครดิตของประเทศ และยังเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปี 2566 การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยบวกเหล่านี้ ทำให้ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประมาณการว่าอัตราการเติบโตของเศษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปีนี้อยู่ที่ 3.1% และปี 2566 ที่ 4.2%

ขณะที่ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center : EIC) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณชะลอลงชัดเจนขึ้น จากเงินเฟ้อโลกที่ชะลอลงช้า และคาดว่าจะอยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางนาน 1-2 ปี โดยการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเร็วขึ้น เป็นผลจากธนาคารกลางทั่วโลกดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะการเงินตึงตัวทั่วโลก เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มแผ่วลงมากขึ้น และคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จากนโยบายการเงินตึงตัวที่เข้าสู่ระดับ Restrictive นานขึ้น

เศรษฐกิจยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงปลายปี 2565 จากวิกฤตพลังงานและนโยบายการเงินตึงตัวเร็ว ขณะที่เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงมากจากมาตรการซีโรโควิดที่ยังคงดำเนินอยู่ ประกอบกับความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์

EIC มองว่า หากนโยบายการเงินโลกตึงตัวมากขึ้นอีก 100-200 BPS จากกรณีฐานเศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวรุนแรงหรือเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในปีหน้า สำหรับเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) ที่มีหนี้สูง ภาครัฐจะเผชิญต้นทุนกู้ยืมแพงขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางการเงิน (Financial distress) และมีข้อจำกัดทางการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

               สำหรับ “เศรษฐกิจไทย” ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและมีไม่แน่นอนสูง และในระยะต่อไปยังมีปัจจัยหนุนจากการจ้างงาน โดยเฉพาะในภาคบริการและรายได้ภาคท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น แต่ก็ยังมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อสูงและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น การส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องจากฐานต่ำ ซึ่งเริ่มเห็นการหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนในเกือบทุกกลุ่มสินค้าหลักและในตลาดสำคัญ ในระยะต่อไปการส่งออกจะชะลอลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เช่นเดียวกับทิศทางการลงทุนและการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

สำหรับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปีนี้ EIC ประเมินว่า ในกรณีฐานผลกระทบจะไม่รุนแรงเท่าในปี 2554 โดยเบื้องต้นคาดว่าพื้นที่เกษตรจะได้รับผลกระทบ 1.9 ล้านไร่ หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 12,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น จะต้องติดตามประเมินผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และการท่องเที่ยวเพิ่มเติม และคาดว่า กนง.จะทยอยขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จำนวน 3 ครั้ง สู่ระดับ 2% ณ สิ้นปี 2566 โดยในเดือน พ.ย.2565 คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 1.25% ต่อปี เนื่องจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดแล้ว แม้จะไม่ปรับลดลงเร็วนัก รวมทั้งเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไประดับ Pre-COVID ได้ในช่วงกลางปี 2566 แต่จะอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพไปอีก 1-2 ปี จากแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกและมีหนี้สูงขึ้น!!.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐช่วย

แม้ความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ของคนรุ่นใหม่ แต่ความต้องการซื้อนั้นยังคงมีอยู่ โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z จากผลการสำรวจของ

บาทแข็งลามกระทบเศรษฐกิจ

‘แบงก์ชาติ’ ออกมายอมรับเองตรงๆ ว่า ตอนนี้ค่าเงินบาทของไทยปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำของทุกสกุลเงินภูมิภาค และช่วงที่ผ่านมามีการผันผวนอย่างมาก จากที่อ่อนค่าที่ 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขยับมาอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐในเวลาอันรวดเร็ว

'ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน'ยังสดใส!!

“ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน” เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต เพราะเกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพและการรักษาชีวิตผู้คน อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง ซึ่งนอกจากจะสะท้อนจากตัวเลขรายได้ของธุรกิจที่มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว

บูรณาการทำงานให้ทวีคูณ

ไปกันต่อกับมาตรการเดินหน้าประเทศไทย ที่นอกจากกำลังเป็นที่จับตามองแล้ว ความร่วมมือแบบบูรณาการก็ต้องตามมา อาจจะเพราะคำว่า "รวมกันเป็นหนึ่ง" ไม่น่าจะเป็นคำที่ดูโฆษณาเกินควร

ขับขี่ปลอดภัยช่วงหน้าฝน

ปัจจุบันหลายพื้นที่ทั่วไทย เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ แม้แต่ในพื้นที่ ของกรุงเทพมหานครก็เช่นกัน ที่มักจะเกิดฝนตกทำให้น้ำท่วมขังรอการระบายในหลายพื้นที่ ดังนั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน

เอาจริงปฏิรูปอุตสาหกรรม

หลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ รมว.อุตสาหกรรมคนใหม่ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ได้มอบนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ให้กับข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมระบุว่า ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องใส่ใจ คือ การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน