จับตาน้ำท่วมฉุดภาคการผลิต

สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันยังมีความน่าเป็นห่วงอย่างมาก แม้ในกรุงเทพฯ นั้นจะยังเห็นภาพไม่ชัด แต่ในพื้นที่ต่างจังหวัดได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในภาคอีสาน ภาคกลาง แม้กระทั่งภาคใต้ จากผลพวงของพายุและมวลน้ำที่มากขึ้นจนความสามารถของเขื่อนกักเก็บไม่เพียงพอ รวมถึงน้ำทะเลที่หนุนสูงจนส่งผลรวมมาที่เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ทั่วประเทศไทย

แน่นอนว่าปีนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่น้ำท่วม แต่ก็ไม่ใช่เหตุการณ์ที่จะสามารถคาดเดาได้อย่างชัดเจน รวมถึงการเตรียมพร้อมของบางพื้นที่ก็อาจจะไม่เพียงพอ ขณะที่เมื่อเกิดการท่วมแล้วการระดมความช่วยเหลือก็อาจจะล่าช้าได้ เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีแผนงานเพื่อดูแลประชาชนที่ชัดเจนต่อไป แต่อีกหนึ่งฝ่ายที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือเรื่องของกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการผลิต ทั้งบริษัทหรือโรงงานต่างๆ

เนื่องจากหากประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมจะทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และส่งผลกระทบกับสินค้าที่จะส่งออกสู่ตลาด จนทำให้เกิดความต้องการสูงแต่ไม่มีสินค้า และส่งผลไปสู่ภาวะของแพง ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากจะไม่ใช่แค่การท่วมเพียงแห่งหรือสองแห่งเท่านั้น แต่จะเสียหายเป็นวงกว้าง รวมถึงภาคแรงงานเองก็ต้องหยุดชะลอการทำงานไป

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ออกมายืนยันว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ 3 แห่ง ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า รวมถึงชุมชนรอบข้างนิคมฯ ปัจจุบันระดับน้ำตามจุดเฝ้าระวังต่างๆ เมื่อเทียบกับคันป้องกันน้ำท่วมของแต่ละนิคมอุตสาหกรรมแล้วยังอยู่ในระดับที่ห่างพอสมควร ถือว่าปลอดภัย

โดยมวลน้ำยังอยู่ภายนอกแนวคันป้องกันชั้นนอก (ถนนทางหลวง) ยังไม่ข้ามเข้ามายังคันป้องกันน้ำท่วมของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ส่วนข้อกังวลของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม หากน้ำสูงขึ้นท่วมถนนภายนอกนิคมอุตสาหกรรมที่มีระดับต่ำกว่าแนวป้องกันน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม อาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางมาทำงานของคนงาน การขนส่งวัตถุดิบ-สินค้านั้น ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันเส้นทางสัญจรในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ด้วย เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ตามนโยบายของรัฐบาล

ซึ่ง กนอ.ได้เฝ้าระวังและเตรียมมาตรการรับมืออย่างเต็มที่ ล่าสุดได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นประธานการประชุม โดยได้รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งความพร้อมในการรับมือสถานการณ์น้ำของแต่ละนิคมอุตสาหกรรม อาทิ ระบบป้องกันน้ำท่วม เช่น คันป้องกันน้ำท่วม ระบบสูบน้ำ และพื้นที่รองรับน้ำภายในนิคมอุตสาหกรรมที่มั่นคงเพียงพอ อย่างไรก็ตาม

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น ปริมาณฝน รวมทั้งการปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนหลักต่างๆ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนป่าสักฯ ที่เริ่มลดการระบายน้ำลงแบบเป็นขั้นบันได ทำให้ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและลดลงตามลำดับ ถึงแม้ว่าจะยังคงมีมวลน้ำค้างทุ่งที่ถูกระบายลงมาเติมบ้างเล็กน้อยแต่ก็ไม่ส่งผลกระทบมากนัก ดังนั้นหากไม่มีพายุเข้ามาเพิ่มเติมอีก สถานการณ์น้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่งน่าจะอยู่ในระดับปกติ ถึงระดับเฝ้าระวัง ขอยืนยันว่าภาพรวมขณะนี้ยังสามารถรับมือและป้องกันสถานการณ์น้ำท่วมได้ และเชื่อว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

ที่ต้องคอยรายงานสถานการณ์น้ำท่วม แน่นอนว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ยังเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อดูแลวิกฤติที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของประเทศได้ และยังทำให้ประชาชนทั่วไปพอที่จะประเมินสถานการณ์และเตรียมตัวที่จะรับมือได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร