วิกฤตเรื่อง ‘คน’:จบใหม่ตกงาน แต่ธุรกิจขาดแคลนบุคลากรหนัก

การปรับตัวครั้งใหญ่ของไทยไม่ใช่เพียงแค่ที่เราติดตามข่าวของสถาบันการเงินดั้งเดิมกับธุรกิจของคนรุ่นใหม่เท่านั้น

แต่ยังกำลังกระทบเศรษฐกิจภาพรวมของไทยด้วย

เพราะเราไม่ได้สร้าง “ทุนมนุษย์” ที่ตอบสนองความต้องการของเศรษฐกิจยุคเปลี่ยนผ่านได้เลย

บุคลากรด้านเทคโนโลยีของไทยทุกวันนี้มีรายงานทางการว่าขาดแคลนอย่างหนัก

มีความต้องการปีละอย่างน้อย 1 แสนคน แต่ที่สถาบันการศึกษาผลิตได้นั้นห่างไกลจากความต้องการมากมายนัก

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) พบว่า ทั้งประเทศมีอยู่ประมาณ 2 หมื่นคน และผลิตใหม่เฉลี่ยปีละ 1,000-2,000 คน

แต่ความต้องการในตลาดสูงถึง 1 แสนคน

จึงทำให้เกิดการแข่งขันและ “แย่งตัว” กันอย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

องค์กรขนาดใหญ่ต้องการคนเก่งที่มีคุณภาพ จึงเสนอผลตอบแทนและแรงจูงใจสูง

ผลที่ตามมาก็คือบริษัทเทคฯ ที่เป็นสตาร์ทอัปขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ เพราะไม่สามารถจะแข่งกับองค์กรใหญ่ได้

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มมองหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีในต่างประเทศ ถึงกับต้องไปติดต่อทาบทามนักศึกษาของไทยในสถาบันการศึกษาต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อ “จองตัว” เอาไว้ตั้งแต่ก่อนจะจบด้วยซ้ำ

อีกทางออกหนึ่งก็คือการจับมือสร้างพันธมิตรมาก

จนเกิดปรากฏการณ์ที่เห็นคนทำงานธนาคารแบบดั้งเดิมลาออกกันมากขึ้น มีอัตราที่สูงกว่าสายงานอื่นๆ

นักการธนาคารคนหนึ่งบอกว่าคนทำงานแบงก์นั้นเดิมอาจจะอยู่ในตำแหน่งเฉลี่ย 3-4 ปี

แต่ช่วงหลังนั้นลดลงมาเหลือ 2 ปี

เพราะมีข้อเสนอไปทำงานในแวดวงเทคโนโลยีที่น่าสนใจกว่า สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่มากกว่า

จึงไม่ต้องแปลกใจที่องค์กรเหล่านี้จะเริ่มให้คนรุ่นเก่าเลือกทางออกของตน

ถ้าอยู่ต่อต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง หรือไม่ก็ “เกษียณก่อนเวลา” หรือ early retirement พร้อมข้อเสนอเงินชดเชยที่น่าสนใจ

เป้าของกลุ่มพนักงานที่เข้าข่ายจะขอเกษียณก่อนวัยน่าจะอยู่ที่บุคลากรที่มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไป หรือพนักงานที่มีอายุ 55-60 ปี

บางองค์กรเสนอให้พนักงานเดิมเข้าสู่กระบวนการฝึกเรียนรู้ทักษะใหม่

เข้าข่าย Reskill, Up-Skill หรือสร้าง New Skills

ในทางปฏิบัติ องค์กรไหนทำได้สำเร็จเพียงใดยังเป็นคำถามที่ต้องมีการประเมินกันอย่างจริงจัง

เพราะแต่ละสายงานของแต่ละอุตสาหกรรมก็มีประสบการณ์เรื่องนี้ที่แตกต่างกันไป

เพราะเมื่อมีเรื่องของ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ Artificial Intelligence เข้ามาทดแทนงานตำแหน่งเดิมที่ถูกทดแทนโดยเทคโนโลยีได้ ก็เท่ากับเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำของแต่ละองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ

หนีไม่พ้นว่าจะต้องโยงไปถึงการปฏิวัติการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา

ที่น่ากังวลเป็นพิเศษคือ ด้านหนึ่งเด็กจบมหาวิทยาลัยใหม่จะตกงานกันเป็นแสนเป็นล้าน

ขณะที่ตลาดงานบอกว่าขาดแคลนบุคลากรที่ต้องการเป็นแสนเช่นกัน

นั่นแปลว่าระบบการผลิต “ทุนมนุษย์” ของประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาพบิดเบี้ยวและผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น

เพราะเราไม่ได้ผลิตคนที่ตรงกับความต้องการ

ขณะที่เอกชนเองก็ต้องแย่งชิงคนที่มีคุณสมบัติที่ต้องการจนบิดเบี้ยวไปจากภาพที่ควรจะเป็นเช่นกัน

นี่คือวิกฤตของสังคมไทยที่กำลังจะต้องก้าวเข้าสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีความพร้อมด้าน “คน” ซึ่งเป็นหัวใจของการสร้างชาติในทุกยุคทุกสมัย

แต่ “คน” ที่ต้องการนั้นย่อมจะแตกต่างไปตามยุคสมัยเช่นกัน

เมื่อสถาบันการศึกษายังไม่ปรับเปลี่ยนให้ทัน “คน” ที่ผลิตออกมาก็มีปัญหา

เพราะคนจบมหาวิทยาลัยตกงาน

แต่องค์กรเอกชนขาดแคลนบุคลากร

จนเอกชนเองต้องสร้างกิจกรรมการฝึกฝนคนให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง

ความสิ้นเปลืองในด้านงบประมาณและเวลาของระบบการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ยุคสมัยนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นเรื่องเปลืองเปล่าและผลาญทรัพยากรของชาติเท่านั้น

แต่ยังจะสร้างปัญหาสังคมที่จะมีความเหลื่อมล้ำ, ขัดแย้งและซึมเศร้ามากขึ้นอีกด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ