ค้าปลีกไทยโตกลางปัจจัยเสี่ยง

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายส่วนก็เริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น เช่นเดียวกับการจับจ่ายใช้สอยที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น ซึ่งส่งผลดีกับหลายธุรกิจ โดยเฉพาะ ธุรกิจค้าปลีก แต่ก็ต้องยอมรับว่าการฟื้นตัวดังกล่าวยังอยู่ภายใต้ปัจจัยกดดันอีกหลายประการที่ต้องติดตาม

ก่อนหน้านี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retail Sentiment Index) ประจำเดือน ส.ค.2565 พบว่าดัชนีฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แม้ว่าจะมีสัญญาณบวกเพราะผู้บริโภคเริ่มออกมาใช้ชีวิตปกติ หลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ แนวโน้มดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น และค่าแรงขั้นต่ำที่ประกาศเพิ่มขึ้นอีก 5-8% ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกในอีก 3 เดือนข้างหน้าดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการฟื้นตัวของธุรกิจยังต้องใช้เวลา และผู้ประกอบการยังมีความกังวลอย่างต่อเนื่องต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความรู้สึกในการจับจ่ายใช้สอยไม่คึกคักเท่าที่ควร!! โดยยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จลดลง ขณะที่ความถี่ในการจับจ่ายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รวมทั้งยอดขายสาขาเดิม Same Stroe Sale Growth (SSSG-MoM) เดือน ส.ค.ก็ปรับลดลงด้วยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มชะลอการใช้จ่ายลง ไม่เพียงเท่านี้กำลังซื้อที่อ่อนแอ ทำให้การจับจ่ายโดยรวมไม่เติบโตอีกด้วย

 “ความกังวลต่อภาวะหนี้ครัวเรือนและรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เป็นเหตุผลสำคัญเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคมุ่งเน้นการซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนัก โดยผู้ประกอบการมีความกังวล 2 ด้าน คือผลกระทบต่อผู้บริโภค เพราะกำลังซื้อยังไม่กลับมา อีกด้านหนึ่งคือ ผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับต้นทุนจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นและแรงงานขาดแคลน”

ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์ว่า ยอดขายค้าปลีก Convenience store (CVS) ปี 2565 จะกลับมาฟื้นตัวราว 13-15% จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า จากปัจจัยหนุนทั้งการกลับมาของลูกค้าหลักอย่างพนักงานออฟฟิศและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ราคาสินค้าบางรายการที่ปรับสูงขึ้น และการเปลี่ยนรูปแบบสาขาจากโชห่วยมาเป็นพันธมิตรหรือเครือข่ายของค้าปลีกใหญ่ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในกลุ่มค้าปลีกท้องถิ่น ที่แม้ว่าจะยังมีสัดส่วนยอดขายไม่สูงนัก ราว 10% ของยอดค้าปลีก Convenience store ทั้งหมด แต่สัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น

แต่!! ธุรกิจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากจำนวนผู้เล่นในตลาดที่มีมากรายและค่อนข้างหนาแน่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคยังคงเผชิญกับสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูง ภาวะเงินเฟ้อ และมีกำลังซื้อที่จำกัดหรือฟื้นตัวไม่เร็ว ส่งผลให้ ตัวเลขการเติบโตในภาพรวมอาจไม่สะท้อนถึงผลประกอบการของผู้ประกอบการที่ดีขึ้นทุกราย และมองว่าธุรกิจยังคงเผชิญกับความยากลำบากในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงพอ แต่การแข่งขันภายใน Segment เดียวกัน แต่ยังรวมไปถึงการแข่งขันกับค้าปลีก Segment อื่นๆ รวมถึง E-commerce ที่มีบทบาทมากขึ้น ขณะที่สินค้าในแต่ละ segment อาจไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก

 “Convenience store ในไทย ถือว่าค่อนข้างอิ่มตัวหากเทียบกับฐานการบริโภค และถ้าเทียบกับประเทศที่มีโมเดลใกล้เคียงกันอย่างญี่ปุ่น มองไปข้างหน้า ด้วยข้อจำกัดการเติบโตจากประเด็นโครงสร้างประชากร ท่ามกลางแผนการขยายสาขาที่ยังคงเพิ่มขึ้น จะทำให้ Convenience store ในไทยหนาแน่นขึ้นอีก นำมาซึ่งความท้าทายในการที่จะรักษายอดขาย โดยเฉพาะยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ให้มีความสม่ำเสมอหรือเพิ่มขึ้น”

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการสร้างยอดขายต่อสาขาให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกแต่ละราย โดยร้านค้าที่ได้ทราฟฟิกจากลูกค้าประจำอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสไปต่อในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็ว.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี68สินเชื่อระบบแบงก์ไทยหืดจับ

ปี 2568 ยังเป็นอีกปีที่ต้องจับตากับทิศทางของเศรษฐกิจไทย เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งบวกและลบ ที่จะเข้ามามีผลกับภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์กดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน

แผนดัน ‘เกษตรครบวงจร’

อุตสาหกรรมเกษตร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และที่ผ่านมาเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนไปได้ด้วยสินค้าเกษตร แต่ก็มีบางช่วงที่ติดขัดและไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ จากปัจจัยกระทบต่างๆ

เคาต์ดาวน์ปลอดภัยส่งท้ายปี

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เป็นวาระแห่งการเริ่มต้นใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความหวัง โดยในปีนี้สถานที่จัดงาน Countdown ทั่วประเทศไทยหลายหน่วยงานได้เตรียมกิจกรรมไว้ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกและสัมผัสความงดงาม

แชร์มุมมอง‘อินฟลูเอนเซอร์’ในตลาดอาเซียน

การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวต์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ