ภาษีคาร์บอนโจทย์ใหม่ส่งออกไทย

สู่เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน พร้อมกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นเพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ โดยมีหลายประเทศทั่วโลกเริ่มหันมาใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนสินค้าข้ามแดน หรือ Carbon Border Tax จากสินค้านำเข้าที่ผลิตจากต่างประเทศซึ่งไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (อียู) สวีเดน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เอเชีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น

รวมถึงไทยก็กำลังเร่งศึกษาการเก็บภาษีคาร์บอนเช่นกัน เพื่อผลักดันไทยเป็น Net Zero ลดก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในปี 2065 ซึ่ง เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2566

กรมสรรพสามิตเตรียมศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ท้าทายต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต หลังจากที่ทั่วโลกต่างเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบจนทำให้ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้มาตรการทางภาษีเป็นตัวขับเคลื่อน

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพสามิตมีแนวทางในการสนับสนุนการนำเอทานอลบริสุทธิ์มาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือ Bio Plastic, เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน หรือ Bio Jet ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสินค้า และช่วยส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ด้าน ชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด (EKA GLOBAL) ผู้ดำเนินธุรกิจนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร ระบุว่า ตลาดโลกเริ่มพูดถึงประเด็นการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดยุโรป อเมริกา ซึ่งถือเป็นปัจจัยท้าทายใหม่ของภาคส่งออกไทยที่ต้องตระหนักและต้องเร่งมือปรับตัว โดยสินค้ากลุ่มเสี่ยงแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบคือ อะลูมิเนียม เหล็ก ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ ฯลฯ และในอนาคตอันใกล้อาจจะมีการเพิ่มรายการสินค้ามากขึ้นอีก โดยคาดว่าจะขยายไปยังกลุ่มสินค้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออกทั้งรายใหญ่และขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอีไทย จำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์รอบด้าน ทั้งการวางโมเดลธุรกิจ การคินค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน การทำธุรกิจแบบ Low Carbon เพื่อจะก้าวได้ทันสถานการณ์โลก และสามารถแข่งขันในตลาดการค้าบนเวทีโลกได้

ชัยวัฒน์ ยังระบุว่า เอกา โกลบอล มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมและเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อย่างสมบูรณ์ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนเช่นกัน โดยมุ่งเน้นในงานด้านวิจัยและพัฒนา ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น พร้อมกำหนด “กรีนโปรดักต์” เป็นโรดแมปธุรกิจในปี 2565 ล่าสุดเปิดตัวสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ Bioplastic หรือ PLA ที่ผลิตจากวัตถุดิบส่วนหนึ่งที่มาจากธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด หรืออ้อย เป็นต้น

 บรรจุภัณฑ์ Biodegradable ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR) หรือเรซิน รีไซเคิล เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า นอกจากนั้นบรรจุภัณฑ์ของบริษัททุกกลุ่มผลิตภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ 100%

อย่างไรก็ตาม ในด้านการดำเนินธุรกิจนั้นแนวโน้มในไตรมาส 3-4/2565 บริษัทได้รับผลบวกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตใหม่หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีความต้องการบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนและบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีออเดอร์จากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้นในทุกตลาดทั่วโลก ทั้งในอเมริกา ยุโรป จีน อินเดีย และไทย จนล้นกำลังการผลิตสูงสุด 2,850 ล้านชิ้นต่อปีแล้ว ทั้งนี้บริษัทจึงอยู่ระหว่างเตรียมแผนงานเพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานที่ไทย และเตรียมเร่งก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่อินเดียให้แล้วเสร็จ และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2565.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร