เครื่องพิสูจน์เศรษฐกิจครึ่งปีหลัง

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 นี้ถือเป็นช่วงวัดใจที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศจะโตได้จริงที่เท่าไหร่ แม้ว่าหลายหน่วยงานจะออกมาการันตีและยืนยันแล้วว่ายังไงเศรษฐกิจไทยก็ต้องโต และโตกว่าปีก่อนหน้านี้ที่ยังคาราคาซังกับปัญหาของโควิดแน่นอน แต่เท่าที่ดูก็อาจจะมีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากปัจจุบันไทยได้เปิดประเทศและรับนักท่องเที่ยวเข้ามา ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางในการฟื้นอุตสาหกรรมทำเงินของประเทศให้กลับคืนมาได้ถูกช่วงถูกเวลา แต่จากตัวเลขประเมินเศรษฐกิจจริงๆ นั้น ส่วนใหญ่มักจะมาจากกลุ่มอุตสาหรรมขนาดใหญ่ หรือธุรกิจที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาค

แต่ในมุมของกลุ่มธุรกิจรายย่อยๆ นั้นอาจจะยังได้รับผลกระทบต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะเริ่มเห็นช่องทางที่กลับมาแล้วแต่ก็อาจจะฟื้นตัวไม่ทัน เนื่องจากต้องใช้เวลามากกว่ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้เองหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีเครื่องมือและมาตรการเข้ามาช่วยสนับสนุน

ซึ่งแน่นอนว่ามีมากมายเหลือเกิน อย่างโครงการ Angel Fund (แองเจิล ฟันด์) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ร่วมมือกับบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

โดยโครงการดังกล่าวเป็นการสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่า และโครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup Connect มุ่งพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจ เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกกลุ่มเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม โดยจัดต่อเนื่องมาอย่างยาวนานกว่า 7 ปีแล้ว ควบคู่ไปกับโครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup Connect ซึ่งล่าสุดผลการดำเนินงานทั้ง 2 โครงการในปี 2565 สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้ประเทศรวมถึง 420 ล้านบาทแล้ว

ซึ่งในภาพรวม ดีพร้อมได้ส่งเสริมและพัฒนาสตาร์ทอัประยะเริ่มต้น จำนวน 44 ธุรกิจ จำนวนนี้มี 6 ธุรกิจได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ Angel Fund เกิดการจัดตั้งบริษัทใหม่และจ้างงานในประเทศไม่น้อยกว่า 130 คน สร้างมูลค่าเศรษฐกิจรวมไม่น้อยกว่า 70 ล้านบาท ขณะที่โครงการ Startup Connect ซึ่งมุ่งเน้นกิจกรรม Co-creation การสร้างนวัตกรรมร่วม หรือการเปิดช่องทางให้สตาร์ทอัปได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพันธมิตรเอกชนรายใหญ่ และทดลองใช้นวัตกรรมหรือโซลูชันส์ในตลาดจริง (Proof of Concept: POC) 

อีกทั้งยังช่วยเชื่อมโยงสตาร์ทอัปเข้าถึงตลาดภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่ากว่า 250 ล้านบาท พร้อมเชื่อมโยงไปสู่แหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ (VC/CVC) 115 ล้านบาท รวมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท 

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ผลการดำเนินงานยังแสดงให้เห็นถึงแนวคิดการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัปในหลากหลายสาขาที่มีความน่าสนใจ และมีความเกี่ยวข้องกับ “เทคโนโลยีเชิงลึก” (Deep Technology) ทั้ง 12 ด้าน อาทิ การแพทย์ครบวงจร การเกษตร อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ แพลตฟอร์มดิจิทัล เทคโนโลยีการเงิน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ เกิดเป็นนวัตกรรมที่หลากหลาย 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้มีกลุ่มธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการและสามารถพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงเกิดการลงทุนในด้านต่างๆ มากมาย อาทิ EMMA-เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 12 ลีดอัจฉริยะ สามารถวิเคราะห์และจำแนกเคสที่ผิดปกติของโรคหัวใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ราคาเข้าถึงได้, Planet C-แพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบเรียลไทม์สำหรับอุตสาหกรรม, Electronic Nose เครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ, MUU นมวัวที่ผลิตโดยไม่ใช้วัว ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารของโลก 

รวมถึงยังมี YABEZ Sorderm Cream/Lotion ยารักษาผิวหนังอักเสบ, Maxflow-เครื่องปรับคุณภาพน้ำด้วยสนามแม่เหล็กถาวร สำหรับการเพาะปลูก, UPCYDE leather หนังเทียมจากขยะทางการเกษตร, iRon-X ชุดฝึกแขนกลหุ่นยนต์, OXYMILK เครื่องนวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ในช่วงให้นมลูก และ Renewsi ซิลิกอนเกรดแบตเตอรี่จากขยะโซลาร์เซลล์ สำหรับทำเป็นขั้วไฟฟ้าในเซลล์แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยานยนต์ไฟฟ้า

แน่นอนว่า ความมุ่งมั่นที่จะผลักดันกลุ่มสตาร์ตอัปและธุรกิจรายย่อยๆ ของโครงการดังกล่าวนี้น่าจะเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่ทำให้เศรษฐกิจภาพรวมในปี 2565 นี้เติบโตได้อย่างเต็มที่ และเติบโตครบถ้วนในทุกกลุ่มธุรกิจ.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า