พัฒนาคอนเทนต์ตีตลาด

โลกของธุรกิจในปัจจุบันที่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับปรุง แข่งขัน และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจผ่านคอนเทนต์ก็เป็นเรื่องสำคัญและกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการเกิดขึ้นของกลุ่มคนที่เรียนตัวเองว่าเป็นนักรีวิว หรือยูทูบเบอร์ ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเองก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ในการกระตุ้นยอดขายของธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยทุกช่องทาง

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจโลกภายหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมานิยมการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความช่วยเหลือในกลุ่มผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจตลาด หรือแนวทางการปฏิบัติงานอยู่เช่นกัน ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการให้เข้าสู่ตลาดออนไลน์ สร้างยอดขายฝ่าแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น 

จึงได้ดำเนินการผ่านการขยายผลกิจกรรม DIPROM to Creative Content ประจำปี 2565 ปั้นทักษะสร้างสรรค์ให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาคอนเทนต์เพื่อเป็นตัวแทนสื่อสารผลิตภัณฑ์ (Storytelling) ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายให้กับแต่ละธุรกิจได้ไม่น้อยกว่า 10% โดยชูเรื่องการใช้เนื้อหา (คอนเทนต์) เป็นแนวทางหลัก ซึ่งจากที่มีการสำรวจข้อมูลมาแล้วนั้น เห็นได้ว่าจะเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงผู้บริโภคเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ กระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ไม่น้อยกว่า 70%

และจากข้อมูลนั้น มูลค่าอุตสาหกรรมโฆษณาสื่อดิจิทัล ปี 2564 มีมูลค่ากว่า 23,315 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 11% จากปีก่อน และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท ในปี 2565 ซึ่งมูลค่าการลงทุนในด้านนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนศักยภาพในการสร้างกำไรตอบแทนจากยอดขายผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่ากับการลงทุน ดีพร้อมจึงเข้ามาลุยเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อที่จะส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการในการผลิตและพัฒนาคอนเทนต์ เพื่อกระตุ้นยอดขายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นปีที่ 2 ที่จัดขึ้นเพื่อผลักดันผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจในยุคดิจิทัล ผ่านการพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ (Storytelling) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศไทย (Content Creator) ถ่ายทอดประสบการณ์ในมิติใหม่ที่สามารถต่อยอดการพัฒนารูปแบบที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์และธุรกิจของตนเอง

โดยกิจกรรมในปีนี้ ดีพร้อมขับเคลื่อนภายใต้นโยบายดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) มุ่งปรับรูปแบบการส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์กับผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานเป็นรายบุคคล ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการจำนวนกว่า 100 ราย สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งผ่านการคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 41 ราย ฝึกฝนทักษะปฏิบัติการและผลิตผลงานจริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการออกแบบเนื้อหา ผลิตสื่อทางการตลาด จนถึงขั้นตอนสุดท้าย

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำในเชิงลึกบนมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ คือ การตลาดออนไลน์ในโลกความเป็นจริง ทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภค สร้างยอดขายผลิตภัณฑ์ได้เป็นจำนวนมาก โดยภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมพบว่ายอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 10% หรือเป็นจำนวนกว่า 100,000 บาท และคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายตลอด 1 ปีได้ไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านบาท

แน่นอนว่าในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจ จนบางรายอาจจะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน แต่หากมีหน่วยงานที่ชี้แนะแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ก็จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้กลุ่มธุรกิจนั้นๆ สามารถพัฒนาตัวเอง ปรับตัว และทำการตลาดที่สะท้อนความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น. 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า