ถึงเวลาที่นายจ้างต้องคิดใหม่และปรับตัว

จากผลสำรวจของ PwC ดูเหมือนว่าแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประมาณ 1 ใน 5 ของลูกจ้าง มีแผนที่จะเปลี่ยนงานใหม่ ขณะที่ 1 ใน 3 ต้องการขอขึ้นเงินเดือน-เลื่อนตำแหน่ง โดยจะมีปรากฏการณ์ “การลาออกครั้งใหญ่” ของลูกจ้างที่จะยังดำเนินต่อไป หากงานที่ทำอยู่ไม่เติมเต็ม-ขาดธรรมาภิบาล นอกเหนือจากการได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ขณะที่แรงงานไทยเกือบครึ่งให้ความสำคัญและต้องการให้นายจ้างสนับสนุนความหลากหลายและผสานความแตกต่างภายในองค์กร

สำหรับรายงานล่าสุด “Asia Pacific Workforce Hopes & Fears Survey 2022 : Time for a rethink?” ของ PwC ยังระบุอีกว่า มีพนักงานที่ถูกสำรวจเพียง 57% เท่านั้น ที่มีความพึงพอใจกับงานที่ทำอยู่ ขณะที่ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ประมาณ 1 ใน 3 มีแผนที่จะขอขึ้นเงินเดือน และในสัดส่วนที่เท่ากันต้องการที่จะขอเลื่อนตำแหน่ง นอกจากนี้ 1 ใน 5 ของลูกจ้าง

ยังมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานใหม่ ผลลัพธ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านแรงงานที่บริษัทต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคจะต้องเร่งแก้ไข ในขณะที่นายจ้างหลายรายก็ได้เผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและความสามารถสูงมาหลายปีแล้ว

ท่ามกลางภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว การจ่ายผลตอบแทน ที่มากขึ้นของนายจ้างเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ยั่งยืนนัก แม้ว่าบางอุตสาหกรรมจะเสนอค่าจ้างสูงขึ้นถึง 20-40% โดยผล สำรวจชี้ว่า 68% ของลูกจ้างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต้องการได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น 64% ของแรงงาน ต้องการทำงานที่ให้ความรู้สึกเติมเต็มและมีความหมาย และ 62% ต้อง การทำงานในสถานที่ที่ตนจะได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งความต้องการเหล่านี้ ถือเป็นความต้องการพื้นฐานที่เหมือนกัน ไม่ว่าพนักงานจะทำงานจากที่บ้าน ทำงานแบบไฮบริด หรือทำงาน ณ สถานที่ทำงานก็ตาม

เมื่อพูดถึงการรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้คงอยู่กับองค์กร ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ยังมีสิ่งที่องค์กรในภูมิภาคนี้จะต้องปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญนั้น มีพนักงานเพียง 36% ที่กล่าวว่า นายจ้างของพวกเขามีการสนับสนุนการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ส่วน 66% ของพนักงานรู้สึกว่านายจ้างไม่ได้สนับสนุนให้พวกเขามีการตัดสินใจอย่างมีจริยธรรม ขณะที่ 73% ของพนักงานรู้สึกว่า นายจ้างไม่ได้สนับสนุนให้มีการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ

จากการสำรวจยังพบว่า นายจ้างน้อยกว่าครึ่ง หรือ 45% มีการยกระดับทักษะแรงงานของตัวเอง โดยบ่อยครั้งพบว่า มีหลายองค์กรที่มองว่า การยกระดับทักษะเป็นวิธีแก้ปัญหาระยะสั้นในการอุดช่องว่างด้านทักษะ แทนที่จะใช้วิธีพัฒนาแรงงานเชิงกลยุทธ์ โดย 1 ใน 3 ของพนักงานระบุว่า องค์กรของพวกเขาขาดคนที่มีทักษะในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการยกระดับทักษะในลักษณะองค์รวมมากขึ้น โดยพิจารณาความต้องการของทั้งพนักงานและบริษัทในระยะยาว ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของตลาดในภาพรวมด้วย

แน่นอนว่ารูปแบบการทำงานแบบผสมผสานการทำงานจากที่บ้านและสถานที่ทำงาน (Hybrid work) จะคงดำเนินต่อไป โดย 68% ของผู้ถูกสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคิดว่า นายจ้างของพวกเขาจะใช้นโยบายการทำงานแบบไฮบริดในอีก 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ลูกจ้างก็เห็นด้วยกับการทำงานรูปแบบนี้ในสัด ส่วนเดียวกัน อย่างไรก็ดี มีเพียง 10% ของแรงงานทั่วทั้งภูมิภาค ที่ต้องการทำงาน ณ สถานที่ทำงานในช่วง 12 เดือนนับจากนี้

แม้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ต้องการที่จะทำงานแบบไฮบริด แต่องค์กรก็ไม่ควรมองข้ามพนักงานที่ต้องทำงานทางไกล หรือทำงาน ณ สถานที่ทำงานอย่างเต็มรูปแบบด้วยเช่นกัน โดย 38% ของลูกจ้างที่ไม่สามารถทำงานทางไกลได้ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกไม่พอใจต่องานที่ทำในขณะที่พนักงานที่สามารถทำงานทางไกลได้ ก็มีความกังวลมากเป็นสองเท่าว่า จะถูกมองข้ามในการเลื่อนตำแหน่งและมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานในที่สุด

นายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มทยอยเรียกพนักงานกลับมาปฏิบัติงานที่ออฟฟิศกันมากขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย แต่ผู้บริหารจะต้องพิจารณารูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับตัวธุรกิจ และลักษณะงานของบุคลากรเป็นสำคัญด้วย วันนี้เราคงต้องยอมรับว่า สิ่งที่กลายเป็นวิถีใหม่แห่งโลกการทำงานยุคนิวนอร์มอลที่คนต้องการและคาดหวังจากนายจ้าง คือ ความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งหากขาดจุดนี้ไปเมื่อไหร่ ย่อมจะทำให้พนักงานตั้งคำถามกับนโยบายขององค์กร จนอาจทำให้พนักงานที่เป็นทาเลนต์หลุดมือไปจากบริษัทในที่สุด ประเด็นนี้ถือว่ามีความละเอียดอ่อนมาก

ไม่ว่าองค์กรจะเลือกรูปแบบการทำงานแบบไหน ควรให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นก่อนตัดสินใจและกำหนดเป็นนโยบายของบริษัท ในขณะเดียวกัน การลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรรุ่นใหม่จะต้องไม่มองข้าม.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร