ผู้นำอินโดนีเซียโจโค วิโดโดทำอะไรที่ผู้นำชาติอื่นไม่ทำ...เช่นเป็นผู้นำเอเชียคนแรกที่บินไปพบปูติน, เซเลนสกี, ไบเดนและสี จิ้นผิงเพื่อให้ทุกคนมาร่วมประชุมสุดยอด G-20 ที่บาหลีสิ้นปีนี้
ตอนที่ไปเยือนสหรัฐฯ เพื่อร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนเมื่อเดือนพฤษภาคม นอกจากจะประชุมกันที่ทำเนียบขาวแล้ว แกก็ยังแวะไปหาอีลอน มัสก์แห่ง Teslaและ SpaceX ด้วย
เป็นทั้งนักการทูตและนักกลยุทธ์ผสมผสานกับความเป็นเซลส์แมนได้อย่างน่าสนใจ
แกไปหาอีลอน มัสก์ทำไม?
วันก่อน โจโควีให้สัมภาษณ์ Bloomberg เผยรายละเอียดเพิ่มเติมที่สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ว่าอินโดนีเซียยินดีใช้เวลาในการโน้มน้าวให้ อีลอน มัสก์ เห็นว่าประเทศของเขาไม่ได้มีเพียงแค่ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่เท่านั้น
แต่ยังมีศักยภาพด้านอื่น ๆ อีกมากมายนัก
โจโควียืนยันว่าแกต้องการให้มีการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา (Tesla) ในอินโดนีเซีย ไม่ใช่แค่มาผลิตแบตเตอรี่ขายไปทั่วภูมิภาคนี้เท่านั้น
การเปิดเผยเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน มีข่าวแจ้งจากทางการอินโดนีเซียว่า Tesla ได้เซ็นสัญญามูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ (1.78 แสนล้านบาท) ในการจัดซื้อแร่นิกเกิลจากบริษัทอินโดฯ ไปใช้ในแบตเตอรี่ลิเทียมของ Tesla
ล่าสุด โจโควีอธิบายว่าสัญญาที่ว่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการหารือ
“ทุกอย่างต้องใช้เวลา ผมไม่อยากจะเร่งรัดให้เกิดขึ้นรวดเร็วแต่ลงท้ายไม่ได้ผลลัพธ์ เราต้องพูดคุยกันให้ทะลุปรุโปร่งและอย่างเข้มข้น นั่นแหละ ผลที่เป็นรูปธรรมก็จะเกิดขึ้นได้เอง” แกบอก
อินโดนีเซียมีทรัพยากรแร่ที่หลายอุตสาหกรรมในหลายประเทศต้องการ
เช่นสินแร่นิกเกิลของประเทศนี้มีเกือบ 1 ใน 4 ของทั้งโลก
กลายเป็นที่สนใจของผู้ผลิตรถยนต์และแบตเตอรี่ทั่วโลก
โดยเฉพาะในภาวะที่โลกกำลังวิ่งเข้าสู่การผลิตรถไฟฟ้ากันอย่างคึกคักและต้องแข่งขันกันหาแร่ที่มีความสำคัญสำหรับการปฏิรูปกระบวนการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังหาทางจัดการประชุมระหว่างโจโควีกับอีลอน มัสก์ อีกครั้งเพื่อยืนยันความตั้งใจของทั้งสองฝ่าย
อีลอน มัสก์ ก็ออกข่าวทำนองว่าแกก็มีแผนจะเยือนอินโดนีเซียในเดือนพฤศจิกายนนี้
เพราะอีลอนคงได้ยินชัด ๆ จากที่โจโควีบอกกับ Bloomberg ว่า
“สิ่งที่เราต้องการคือรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่แบตเตอรี่ เราต้องการให้พวกเขาเข้ามาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งคันที่นี่ เราต้องการระบบนิเวศของรถยนต์ไฟฟ้าขนาดมหึมา”
คำว่า “ระบบนิเวศ” หรือ ecosystem นี่แหละที่เป็นหัวใจของยุทธศาสตร์เรื่องรถไฟฟ้าของอินโดนีเซีย
และแน่นอนว่าโจโควีไม่ได้มองแค่ Tesla เท่านั้น
แกต้องการจะส่งสัญญาณถึงบริษัทรถยักษ์ ๆ ทั่วโลกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Ford, Hyundai, Toyota และ Suzuki ว่า
สิ่งที่อินโดนีเซียมุ่งหวังตั้งใจที่จะเปิดทางให้บริษัทรถยนต์เหล่านี้ได้ยินพร้อม ๆ กันก็คือการลงทุนที่ไม่มองอินโดฯในฐานะแค่แหล่งวัตถุดิบหรือผู้ผลิตชิ้นส่วนในห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น
เพราะหากเป็นเช่นนั้นอินโดฯก็จะไม่ได้อะไรเป็นกอบเป็นกำเพื่อสร้างอนาคตของตนเอง
เพียงแค่คนข้างนอกอยากได้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเป็นการคิดสั้น ไม่ตอบสนองแผนพัฒนาประเทศในระยะกลางและระยะยาว
อินโดนีเซียนั้น นอกจากจะเป็นผู้ผลิตแร่นิกเกิลใหญ่ที่สุดชองโลกคือมีกำลังการผลิตเป็น 3 เท่าของผู้ผลิตอันดับ 2 อย่างมาเลเซีย
ก็ยังมีสัดส่วนการผลิตกว่า 30% ของปริมาณแร่ชนิดนี้ทั้งหมด
ก่อนหน้า Tesla จะแสดงความสนใจ อินโดฯก็เปิดประตูให้กับหลายบริษัทของเกาหลีใต้ไม่ว่าจะเป็น LG Energy Solution และ Hyundai Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับสองของโลกเข้ามาปักหลักในอินโดฯแล้ว
เรียกได้ว่าเป็นนโยบายเปิดกว้างและไม่หวังพึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งชาติ
ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมาก็เริ่มมีข่าวว่า Tesla ก็ขอร่วมขบวนด้วย
เป็นรายงานข่าวที่พูดถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอรี่ครบวงจรในประเทศอินโดนีเซียของ Tesla หลังจากที่รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายที่ต้องการเป็นแหล่งผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นำไปสู่เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา หลังการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โจโควีก็นัดไปคุยกับอีลอน มัสก์
ว่ากันว่าคุยกันตั้งแต่เรื่อง Tesla ไปถึงอุตสาหกรรมอวกาศของ SpaceX ด้วย
ผมจะไม่แปลกใจเลยหากโจโควีต้องการจะไปเยี่ยมอีลอนเพราะจะไปดูด้วยตาตัวเองว่า Starbase ฐานปล่อยจรวดของอีลอนที่รัฐเท็กซัสนั้นมีหน้าตาและศักยภาพอย่างไร
โจโควีมองหาโอกาสทุกด้านที่เป็นไปได้สำหรับประเทศของตัวเอง
ไม่รู้สึกต้องเสียหน้าหรือลดตัวต่ำลงด้วยการไปจับมือพูดคุยกับนักธุรกิจระดับโลก
เพราะโลกวันนี้คือการ “สานประโยชน์” หรือ collaborate กับกับทุกฝ่าย (แม้แต่คู่แข่ง) เพื่อสร้าง “สูตรวิน-วิน” ให้กับ “ผู้มีส่วนได้เสีย” ทุกด้าน
เพราะผู้นำที่ชาญฉลาดจะไม่คอยแต่จะอ่านรายงานจากลูกน้องอย่างเดียว
ไม่เพียงแค่ตั้งคณะกรรมการชุดแล้วชุดเล่าแต่ไร้ผลงาน
หรือประกาศยุทธศาสตร์โดยไม่มีแผนปฏิบัติการที่แน่ชัดและที่ต้องปรับแก้ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ