ปักกิ่งยังเดินหน้ากดดันไต้หวันต่อไป...เหมือนจะต้องการสั่งสอนว่าต่อไปนี้จะโดนปิดล้อมการติดต่อกับตะวันตกทุกวิถีทาง
ล่าสุดจีนประกาศห้ามสหรัฐฯเจรจาการค้ากับไต้หวัน
ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้กันว่าวอชิงตันกับไทเปมีข้อตกลงการค้ากันอย่างต่อเนื่อง
เรื่องขุ่นข้องหมองใจล่าสุดนี้บอกว่าเดิมไต้ไหวันเตรียมจะเปิดเจรจาการค้าอย่างเป็นทางการกับสหรัฐฯ เพื่อขยายความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นด้านเศรษฐกิจอยู่แล้วให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น
เพราะทั้งสองอ้างได้ว่าเป็นการไปมาหาสู่ด้านที่ไม่เกี่ยวกับความมั่นคง
ขนาดเรื่องขายอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ยังทำกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวมาแล้ว ไฉนจะค้าขายกันมากขึ้นไม่ได้
แต่จากนี้ไปจะไม่เหมือนเดิม เพียงแค่มีข่าวเท่านั้น กระทรวงการต่างประเทศของจีนก็ออกมาแสดงจุดยืนคัดค้านความเคลื่อนไหวนี้
โดยปักกิ่งอ้างว่าขัดต่อหลักการ “จีนเดียว” อีกเช่นกัน
แปลว่าถ้าอเมริกาจะทำข้อตกลงการค้ากับไต้หวันก็ต้องทำกับปักกิ่งเท่านั้น
หวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงเรียกร้องสหรัฐฯยุติความเคลื่อนไหวใดๆ ที่เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไต้หวัน
นั่นรวมถึงให้หยุดการเจรจาข้อตกลงใด ๆ ที่สื่อถึงการยอมรับการเป็นประเทศอธิปไตยของไต้หวัน
โดยย้ำอีกว่าไต้หวันเป็นดินแดนของจีนที่แบ่งแยกมิได้ และการเข้าร่วมทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างไต้หวันและประเทศอื่น ต้องเป็นไปตามหลักการจีนเดียว
"เราขอเรียกร้องให้ฝ่ายสหรัฐฯยึดมั่นในหลักการจีนเดียว และบทบัญญัติในแถลงการณ์ร่วมจีน-สหรัฐฯ 3 ฉบับ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเป็นรูปธรรม หยุดการมีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไต้หวัน หยุดการเจรจาข้อตกลงที่แฝงนัยยะด้านอธิปไตย และ ความชอบธรรมของเจ้าหน้าที่ไต้หวัน และ หลีกเลี่ยงการส่งสัญญาณผิดๆให้กลับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในไต้หวัน...”
และสำทับว่าจีนพร้อมจะใช้มาตรการที่เด็ดขาดปกป้องอธิปไตยของชาติและบูรณภาพเหนือดินแดน
“เราขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ อย่าเข้าใจสถานการณ์ผิด และ หลีกเลี่ยงการทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า"
เสียงร้อนแรงล่าสุดชุดนี้จากกระทรวงการต่างประเทศของจีน เกิดขึ้นหลังจากที่มีรายงานข่าวว่า สหรัฐฯ และไต้หวันตกลงที่จะเริ่มการเจรจาหารือประเด็นการค้า
โดย ผู้แทนการเจรจาการค้าของไต้หวัน แสดงความหวังว่า การหารือนี้จะเริ่มต้นได้ในเดือนหน้า และหวังด้วยว่า การเจรจานี้จะนำไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรีที่ไต้หวันต้องการทำกับสหรัฐฯ ให้ได้ในอนาคตอันใกล้
หัวข้อที่เตรียมการเจรจากันคือสหรัฐฯ และไต้หวันมีตั้งแต่การอำนวยความสะดวกทางการค้า หลักปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีไปจนถึงการกำจัดอุปสรรคทางการค้าที่มีการเลือกปฏิบัติออกไปให้หมด
ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือผู้แทนการเจรจาการค้าของไต้หวันแจ้งว่าหนึ่งในหัวข้อการประชุมก็คือ ประเด็น “พฤติกรรมข่มขู่ทางเศรษฐกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่”
นั่นหมายถึงการที่จีนพยายามจะปิดกั้นการค้ากับประเทศต่าง ๆ ที่จีนมีปัญหาด้วย
ซึ่งก็เกิดขึ้นแล้วเช่น กรณีของประเทศลิทัวเนีย
หลังจากที่ประเทศนั้นเปิดทางให้ไต้หวันเปิดทำการสถานทูตทางพฤตินัยที่กรุงวิลนีอุส
นาง ฮุง ซิว-ชู (Hung Hsiu-chu) อดีตหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งของไต้หวันซึ่งสนับสนุนจีนแผ่นดินใหญ่บอกสื่อรัฐบาลจีนว่าเธอเชื่อว่าการรวมชาติจะได้รับการยอมรับจากชาวไต้หวันค่อนข้างแน่นอน
นักการเมืองหญิงบนเกาะไต้หวันแห่งนี้บอกว่าสาเหตุที่คนไต้หวันรุ่นใหม่มีความรู้สึกผูกพันกับจีนแผ่นกินใหญ่น้อยก็เพราะทางการไต้หวันมีแก้ไขเนื้อหาสาระตำราเรียน และปรับแก้หลักสูตรของโรงเรียนในระดับต่าง ๆ
จนมีผลให้ขาดความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ระหว่างแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน
แต่เธอก็เชื่อว่าคนไต้หวันรุ่นใหม่ต่างก็แสวงหาอนาคตที่สดใส
ดังนั้นพวกเขาและเธอก็คงจะพยายามแสวงหาความรู้และ
ข้อมูลที่จะเข้าใจจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งกำลังเติบโตเจริญก้าวหน้าอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินยังยืนหยัดต่อต้านจีนแผ่นดินใหญ่อยู่อย่างไม่ลดละ
วันก่อนเธอไปเยือนกองทัพเรือก็ถือโอกาสแสดงความเห็นตอกย้ำจุดยืนนั้นอีกครั้ง
เธอเปรียบเทียบไต้หวันเหมือนเรือที่บางครั้งต้องเผชิญกับคลื่นลมซึ่งบางครั้งก็ไม่อาจจะคาดเดาได้ล่วงหน้า
ที่สำคัญหากทุกคนที่อยู่บนเรือมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเธอก็เชื่อว่าจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคไม่ว่าจะยากเย็นเพียงใดได้
อีกด้านหนึ่งมีการสนทนาที่น่าสนใจของเอกอัครราชทูตจีนประจำวอชิงตัน Qin Gang (ฉินกาง) กับคำถามว่า “จีนได้เรียนรู้อะไรจากความข้ดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน”
Mary Louise Kell แห่งสถานีวิทยุ NPR ของอเมริกาคือคู่สนทนานั้น
ตอนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนคือ
Mary Louise Kelly (NPR): มีการพูดคุยกันมากมายในวอชิงตันเกี่ยวกับบทเรียนที่จีนได้รับจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย คุณกำลังเรียนรู้อะไรจากสงครามในยูเครน คุณเห็นความคล้ายคลึงกันหรือไม่? คุณเห็นความแตกต่างหรือไม่?
เอกอัครราชทูต Qin Gang: ผมไม่รู้ว่าสหรัฐฯ ควรเรียนรู้บทเรียนใดจากวิกฤตยูเครน จีนไม่มีส่วนเกี่ยวพันกับวิกฤตครั้งนี้ นี่ไม่ใช่เรื่องระหว่างจีนและยูเครน จีนไม่ใช่นาโต้
จีนคือพลังแห่งสันติภาพ ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤต จีนเรียกร้องให้มีสันติภาพ หยุดยิง แก้ปัญหาทางการเมืองผ่านการปรึกษาหารือทางการทูต และเราไม่ส่งอาวุธ กระสุนปืน สิ่งที่จีนส่งไปยังยูเครนคือถุงนอน ยารักษาโรค ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
หากมีบทเรียนใดที่สหรัฐฯ, นาโต้ หรือฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะหยิบยกขึ้นมาได้ นั่นอาจเป็นวิธีการพยายามรักษาความปลอดภัยให้จงได้ ประเทศไม่สามารถสร้างความปลอดภัยโดยใช้เงินประเทศอื่น และต้องคำนึงถึงข้อกังวลด้านความปลอดภัยที่ถูกต้องตามกฎหมายของทุกประเทศด้วย...”
น่าสนใจตรงที่ท่านทูตจีนพยายามจะรักษาจุดยืนที่ไม่ต้องการให้ฝ่ายใดฝ่ายใดลากเข้าไปพัวพันในสงครามยูเครน...แม้ว่าจะสนับสนุนรัสเซียในหลักการก็ตาม
อย่างนี้ต้องอ่านระหว่างบรรทัดจึงจะเข้าใจความหมายที่แท้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ