“ของแพง”ทำครัวเรือนปรับพฤติกรรมใช้จ่าย

ต้องยอมรับว่า “สถานการณ์ค่าครองชีพ” ในปัจจุบันมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนตามทิศทางอัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น จากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการเร่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้กดดันกำลังซื้อของประชาชนอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่ยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ครัวเรือนส่วนใหญ่ขาดรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายเหมือนปกติ

แต่ในช่วงที่ผ่านมา ครัวเรือนส่วนใหญ่ก็มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจและรายได้ในปัจจุบัน โดย “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ระบุว่า ครัวเรือนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย หลังส่วนใหญ่มีมุมมองว่าสถานการณ์ราคาสินค้าสูงจะลากยาวไปอีกอย่างน้อย 1 ปี

แม้ราคาพลังงานจะยังอยู่ในระดับสูง แต่ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย.2565 หนุนให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบัน และ 3 เดือนข้างหน้าที่สำรวจในเดือน ก.ค.2565 ปรับดีขึ้นจากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 32.5 และ 34.0 จาก 30.8 และ 32.9 ในเดือน มิ.ย.2565 ได้รับปัจจัยหนุนจากระดับราคาน้ำมันที่แม้จะอยู่ในระดับสูงแต่ก็ปรับลดลงจากเดือน มิ.ย.2565 เล็กน้อย สะท้อนจากดัชนีเงินเฟ้อในหมวดพลังงานที่ลดลง 4.69% เมื่อเทียบกับรายเดือน หรือการรายงานข่าวเกี่ยวกับราคาน้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ในเดือน ก.ค. ที่ปรับลดลงรวม 6.40 บาทต่อลิตร ทำให้ครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อราคาน้ำมัน

ขณะเดียวกัน มุมมองเกี่ยวกับการจ้างงานปรับดีขึ้น อีกทั้งการทยอยผ่อนคลายมาตรการการเปิดประเทศ ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือน ก.ค.2565 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากกว่า 1 ล้านคน ถือเป็นเดือนแรกตั้งแต่เกิดโควิด-19 ช่วยหนุนมุมมองเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงาน และเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบของดัชนี พบว่า ครัวเรือนส่วนมากยังมองว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงขึ้น ขณะที่จำนวนครัวเรือนที่กังวลเรื่องอนาคตจึงใช้จ่ายลดลงในปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นเรื่องระยะเวลาและสถานการณ์ราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูง พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่กว่า 65.6% มองว่าระดับราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงไปอีกเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี ขณะที่ครัวเรือนเริ่มมีการระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลสำรวจในเดือน เม.ย. โดยปัจจุบันได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย ส่วนมากกว่า 27.7% มีการปรับลดการใช้จ่ายในกิจกรรมที่ไม่จำเป็นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เช่น กินเลี้ยงสังสรรค์ บริโภคสินค้าเดิมในปริมาณที่ลดลง และใช้สินค้าในปริมาณที่น้อยลงเพื่อให้ใช้ได้นานขึ้น

 “ปัจจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่า การฟื้นตัวของการบริโภคในภาคครัวเรือนจะยังถูกดันจากความเชื่อมั่นที่อยู่ในระดับต่ำ และมุมมองที่ว่าสถานการณ์สินค้าราคาสูงจะยาวนาน จึงต้องระมัดระวังการใช้จ่าย”

และเมื่อมองไปในระยะข้างหน้า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีแนวโน้มเปราะบาง จากสถานการณ์ราคาสินค้าที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง การส่งผ่านต้นทุนจากผู้ประกอบการสู่ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยครอบคลุมไปถึงอาหารและบริการ ขณะที่ราคาสินค้าและบริการต่างๆ เช่น แก๊สหุงต้ม ค่าไฟฟ้า ยังมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นในลักษณะขั้นบันได

 “การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจะเข้ามาช่วยให้มุมมองเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงานปรับดีขึ้น โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเดินทางเข้ามามากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 (high Season) นอกจากนี้มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 5 วงเงิน 800 บาท ที่มีเป้าหมายครอบคลุม 26.5 ล้านสิทธิ ที่จะเริ่มใช้ในเดือน ก.ย.-ต.ค.2565 ก็จะเข้ามามีส่วนช่วยประคับประคองครัวเรือนได้บางส่วน”

โดยสถานการณ์ราคาที่สูงขึ้นนี้ยังไม่มีจุดสิ้นสุดในระยะอันใกล้ นอกจากเงินช่วยเหลือแล้ว ภาครัฐอาจต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเชื่อมั่น หรือสร้างเสริมในส่วนของรายได้และการจ้างงานเพิ่มเติมอย่างยั่งยืน.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐช่วย

แม้ความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ของคนรุ่นใหม่ แต่ความต้องการซื้อนั้นยังคงมีอยู่ โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z จากผลการสำรวจของ

บาทแข็งลามกระทบเศรษฐกิจ

‘แบงก์ชาติ’ ออกมายอมรับเองตรงๆ ว่า ตอนนี้ค่าเงินบาทของไทยปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำของทุกสกุลเงินภูมิภาค และช่วงที่ผ่านมามีการผันผวนอย่างมาก จากที่อ่อนค่าที่ 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขยับมาอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐในเวลาอันรวดเร็ว

'ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน'ยังสดใส!!

“ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน” เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต เพราะเกี่ยวเนื่องกับการดูแลสุขภาพและการรักษาชีวิตผู้คน อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง ซึ่งนอกจากจะสะท้อนจากตัวเลขรายได้ของธุรกิจที่มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว

บูรณาการทำงานให้ทวีคูณ

ไปกันต่อกับมาตรการเดินหน้าประเทศไทย ที่นอกจากกำลังเป็นที่จับตามองแล้ว ความร่วมมือแบบบูรณาการก็ต้องตามมา อาจจะเพราะคำว่า "รวมกันเป็นหนึ่ง" ไม่น่าจะเป็นคำที่ดูโฆษณาเกินควร

ขับขี่ปลอดภัยช่วงหน้าฝน

ปัจจุบันหลายพื้นที่ทั่วไทย เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ แม้แต่ในพื้นที่ ของกรุงเทพมหานครก็เช่นกัน ที่มักจะเกิดฝนตกทำให้น้ำท่วมขังรอการระบายในหลายพื้นที่ ดังนั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน

เอาจริงปฏิรูปอุตสาหกรรม

หลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ รมว.อุตสาหกรรมคนใหม่ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ได้มอบนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ให้กับข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมระบุว่า ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องใส่ใจ คือ การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน