ลือกันใหญ่
นายกฯจะยุบสภา ก่อนวันที่ ๒๓ สิงหาคมนี้
ไม่รู้ ไม่รู้ ครับ
ยุบ ไม่ยุบ อยู่ที่ "ลุงตู่" คนเดียว เพราะคนเดียวที่ยุบสภาได้คือ นายกรัฐมนตรี
รองนายกฯไม่เกี่ยว
มีสัญญาณอะไร ถึงได้เกิดข่าวลือยุบสภา
บางคนบอกว่าเป็นการชิงยุบสภา เพราะหากปล่อยเวลาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ "ลุงตู่" สิ้นสุดลงในวันที่ ๒๓ สิงหาคมนี้ เพราะครบ ๘ ปี ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เหมือนขับรถชนคนแล้วหนี ถึงมอบตัวทีหลัง ก็ถูกสังคมพิพากษาไปแล้ว
ไม่รับผิดชอบ ไม่มีสปิริต
สู้เชิดหน้าชิงยุบสภาไปก่อน เหมือนรอมอบตัวในที่เกิดเหตุ มันเท่กว่าเยอะ
สุดแต่จะคิดกันครับ
กรณีนี้ นายกฯควรแสดงสปิริตด้วยการยุบสถา ลาออกหรือไม่
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีห้ามเกิน ๘ ปี เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่ตีความแตกต่างกัน คนกลางที่จะทำให้ทุกอย่างกระจ่างได้คือศาลรัฐธรรมนูญ
ฉะนั้นความจำเป็นในการยุบสภาก่อนวันที่ ๒๓ สิงหาคม แทบเป็นศูนย์
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการยุบสภามาแล้วทั้งสิ้น ๑๔ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๑ กันยายน ปี ๒๔๘๑ ครั้งนั้น พระยาพหลพลหยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ยุบสภาเพราะรัฐบาลขัดแย้งกับสภาหลังเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๘๘ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ยุบสภาด้วยเหตุผลพิเศษ เพราะสภาชุดดังกล่าวยืดอายุมานานจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
มีการออกพระรชบัญญัติขยายกำหนดเวลาให้สภาชุดนี้อยู่ในตำแหน่งต่อถึง ๒ ครั้ง เนื่องจากไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งในระหว่างสงคราม ทำให้ ส.ส.ชุดดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งนานเกินควร
การยุบในครั้งนี้ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรแก่เวลา
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๖ เกิดขึ้นในรัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ สาเหตุ เนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติลาออกเหลือ ๑๑ คน จนไม่สามารถทำหน้าที่ของสภาได้
เป็นที่น่าสังเกตุว่าการยุบสภาครั้งที่ ๒ กับครั้งที่ ๓ ทิ้งระยะยาวนานร่วม ๒๘ ปี เพราะช่วงเวลาดังงกล่าวส่วนใหญ่ เป็นรัฐบาลจากการรัฐประหารซ้ำๆกันหลายครั้ง
ครั้งที่ ๔ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๙ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภา ในพระราชกฤษฎีการะบุสาเหตุว่าสภาผู้แทนราษฎรปัจจุบันประกอบด้วยพรรคการเมืองต่างๆหลายพรรค แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมีจำนวนมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้
จำเป็นต้องอาศัยพรรคการเมืองหลายพรรคเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เกิดอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดิน และกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพของรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง
และถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นอีกก็ตาม อุปสรรคดังกล่าวนี้ก็ไม่อาจสิ้นสุดลงได้ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นใหม่
ถัดมาในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสลานนท์ มีการยุบสภาถึง ๓ ครั้ง คือ...
ครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๖ ป๋าเปรม ยุบสภา เนื่องจากเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ครั้งที่ ๖ วันที่ ๑ พฤษภาคม ป๋าเปรม ยุบสภา เนื่องจากรัฐบาลขัดแย้งกับสภากรณีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.๒๕๒๒
ครั้งที่ ๗ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๓๑ ป๋าเปรม ยุบสภา นื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในรัฐบาล ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่มั่นคงในเสถียรภาพของรัฐบาล และส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดิน
ครั้งที่ ๘ เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เนื่องจากการเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อยุบสภาภายหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในเดือน พ.ค.๒๕๓๕
เป็นไปตามเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกที่ นายอานันท์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๙ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา เพราะเกิดความขัดแย้งในรัฐบาล
ครั้งนั้นหลายพรรคการเมืองและระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลจนไม่สามารถจะดำเนินการในทางการเมืองได้อย่างมีเอกภาพ โดยเฉพาะพรรคพลังธรรม ที่ประกาศถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
ประกอบกับมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องการออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.๔-๐๑ ) ซึ่งพรรคพลังธรรมลงมติงดออกเสียง
ครั้งที่ ๑๐ วันที่ ๒๙ กันยายรน ๒๕๓๙ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ยุบสภา เพราะเกิดความขัดแย้งในรัฐบาล ภายหลังมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
โดยฝ่ายค้านเน้นอภิปรายที่ตัวนายบรรหาร เรื่องประเด็นสัญชาติ เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ที่ประชุมพรรคร่วมรัฐบาล คือพรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน มีมติร่วมกันว่าจะขอให้นายบรรหาร ลาออกจากตำแหน่ง
ซึ่งนายบรรหารประกาศจะลาออกภายใน ๗ วัน
แต่สุดท้ายเปลี่ยนใจ ยุบสภา เป็นการดัดหลังพรรคร่วมรัฐบาล
ครั้งที่ ๑๑ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ยุบสภาด้วยเหตุผล เนื่องจากปฏิบัติภารกิจสำคัญแล้วเสร็จหรือลุล่วงลง
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี ๒๕๔๐
การยุบสถาครั้งนี้จะคล้ายๆกับ ครั้งที่ ๘ ที่นายอานันท์ ยุบสภา เป็นเจตนารมณ์เดิมหลังสามารถแก้ปัญหาได้ลุล่วง
ครั้งที่ ๑๒ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ในรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์ทางการเมืองต่อการขับไล่นายกฯ โกงกิน
ถึงแม้รัฐบาลขณะนั้นได้เปิดให้มีการอภิปรายโดยไม่มีการลงมติในที่ประชุมรัฐสภา ก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันระหว่างผู้ชุมนุมเรียกร้องกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลถูกมองว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา จึงไม่สามารถใช้กระบวนการในรัฐสภาแก้ปัญหาได้
ครั้งที่ ๑๓ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาหลังเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง เป็นอีกครั้งที่เป็นการยุบสภาภายใต้สัญญาทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจกันใหม่
และครั้งที่ ๑๔ ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ ธันวาม ๒๕๕๖ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ประกาศยุบสภา หลังรัฐบาลต้องเผชิญกับวิกฤตทางการเมือง มวลมหาประชาชนเรือนล้านออกมาขับไล่รัฐบาลี่พยายามจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ "ทักษิณ ชินวัตร"
จะเห็นได้ว่าการยุบสภาส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลเอง รองลงมาคือต้องยุบสภาเพราะเกิดวิกฤตทางการเมือง รัฐบาลไม่สามารถไปต่อได้
คราวนี้หากยุบสภาสาเหตุจะต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
ไม่ใช่เพราะคอร์รัปชั่น
ไม่ใช่เพราะความขัดแย้งรุนแรงในพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน
แต่เป็นปัญหาในข้อกฎหมาย
ครับ...เมื่อลือกันมาก็ต้องวิเคราะห์กันไป
ดูท่าที่จาก "ลุงตู่" ยังไม่อาจสรุปได้ว่าจะสรุปสภาในเร็วๆนี้ เพราะยังคงตั้งการ์ดสูงอยู่
พูดถึงสภาเมื่อไหร่ "ลุงตู" มักตอบว่า เป็นเรื่องของสภา ผมไม่เกี่ยว
วานนี้ (๑๖ สิงหาคม) นักข่าวถามเรื่องยุบสภา "ลุงตู่" ไม่ตอบแต่ยิ้่มมุมปาก
ตามประวัติศาสต์การยุบสภาแต่ละครั้งจะมีการส่งสัญญาณถึงความขัดแย้ง ทั้งระหว่างรัฐบาลกับสภา หรือ ในรัฐบาลกด้วยกันเอง
แต่ครั้งนี้ ไม่มีเหตุให้ต้องมีอุบัติเหตุในสภาแล้ว
ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลยังกอดคอกันอยู่
ก็ยังมองไม่ออกว่าจะยุบสภาก่อนวันที่ ๒๓ สิงหาคมทำไม
วาระการดำรงตำแหน่ง เป็นปัญหาทางกฎหมาย หากยังไม่ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องยุบสภา
แต่ถ้ายุบสภาวันนี้ เขามาแน่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เจอตอ ชั้น ๑๔
งวดเข้ามาทุกทีครับ... หากไม่มีอะไรผิดพลาด วันที่ ๑๕ มกราคมนี้ พยานหลักฐานกรณีนักโทษเทวาดาชั้น ๑๔ น่าจะอยู่ในมืออนุกรรมการสอบสวนชุดเฉพาะกิจแพทยสภา ชุดที่ คุณหมออมร ลีลารัศมี เป็นประธาน ครบถ้วนสมบูรณ์
'ทักษิณ' ตายเพราะปาก
แนวโน้มเริ่มมา... ปลาหมอกำลังจะตายเพราะปาก เรื่องที่ "ทักษิณ ชินวัตร" ไปปราศรัยใหญ่โต เวทีเลือกตั้งนายก อบจ.หลายจังหวัด ทำท่าจะเป็นเรื่องแล้วครับ
พ่อลูกพาลงเหว
มันชักจะยังไง.... พ่อลูกคู่นี้จะไปได้สักกี่น้ำกันเชียว ก่อนนี้ "ทักษิณ" ริ "ยิ่งลักษณ์" ยำ
นี่แหละตัวอันตราย
การเมืองปีงูเล็กจะลอกคราบ เริ่มต้นใหม่ ไฉไล กว่าเดิม หรือจะดุเดือดเลือดพล่าน ไล่กะซวก เลือดสาดกันไปข้าง
แก้รัฐธรรมนูญแกงส้ม
ก็เผื่อไว้... อาจจะมีการลักไก่ ลัดขั้นตอนแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
เบื้องหลังผู้ลี้ภัย
เริ่มต้นปีก็ประกาศกันคึกคักแล้วครับ ทั้งฝั่งตรวจสอบ "ทักษิณ" ยัน "ผู้ลี้ภัย" สำหรับ "ทักษิณ" ปีนี้น่าจะโดนหลายดอกตั้งแต่ต้นปี