เหล็กโลกผันผวน เอกชนปวดหัว

ท่ามกลางความโกลาหลของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง และกระทบมายังผู้บริโภคเกือบทุกกลุ่ม ที่เห็นได้ชัดที่สุดน่าจะเป็นราคาพลังงาน ที่ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเองก็อ่วมเอาการ องค์กรระดับประเทศอย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต้องแบกรับภาระราคาพลังงานเพื่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด แต่แม้ว่าจะมีการเยียวยาหรือช่วยเหลือแล้วในหลายส่วน ประชาชนก็ยังต้องมารับภาระจากผลกระทบของโลกอยู่ดี

ขณะที่อุตสากรรมอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบทางตรง แต่ผลกระทบทางอ้อมก็ตามไปหลอกหลอนอยู่ดี อย่างพวกราคาของต้นทุน-วัตถุดิบการผลิตเพิ่มขึ้น ราคาค่าขนส่งและคมนาคมเพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนคนงาน หรือแม้แต่ไม่มีตลาดในการขายสินค้า

ล้วนแล้วแต่เป็นผลกระทบที่ทุกคนต้องแบกรับไว้อย่างน่าเห็นใจ ขณะที่ล่าสุด! อุตสาหกรรมเหล็กเริ่มสะท้อนความต้องการหลังจากที่ผ่านมาเริ่มได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ออกมาชี้แจงว่า จากสถานการณ์เหล็กโลกที่ราคาได้ขึ้นไปสูงในช่วงต้นปี 2565 เนื่องจากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครนต่อวัตถุดิบและการผลิตเหล็ก ตลอดจนความกังวลว่าสินค้าเหล็กอาจขาดแคลนนั้น ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2565 เป็นต้นมา ราคาเหล็กโลกได้อ่อนตัวและตลาดมีแนวโน้มผันผวนลดลง เนื่องจากตลาดเหล็กโลกได้ปรับตัวในเชิงห่วงโซ่อุปทาน และเน้นการค้าในระดับภูมิภาคเป็นหลัก เตือนภัยสัญญาณเหล็กทุ่มตลาดชัดเจน

กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท.มองว่า ทั่วโลกกำลังพาเหรดใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็ก โดยนายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก กล่าวถึงราคาตลาดเหล็กโลกว่า ได้ปรับลดลง โดยราคาสินค้าเหล็กสำเร็จรูปในภูมิภาคเอเชีย ปรับลดลง 3.2-4.9% ในเดือน มิ.ย.2565 และลดลงอีก 5.2-16.3% ในเดือน ก.ค.

ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการที่ประเทศจีนมีการล็อกดาวน์เมืองต่างๆ ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศจีนชะลอตัว โดยครึ่งแรกของปี 2565 ความต้องการใช้เหล็กของประเทศจีนลดลง 6.9% เหลือ 501 ล้านตัน และมีการส่งออกสินค้าเหล็กรวม 34.25 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในราคาต่ำมาก เพราะกำลังซื้อภายในประเทศจีนลดลง นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ประเทศรัสเซียมีการส่งออกสินค้าเหล็กสำเร็จรูปราคาต่ำเข้ามายังภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากถูกคว่ำบาตรไม่สามารถส่งสินค้าไปยังสหภาพยุโรปได้ 

สำหรับ ภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2565 มีปริมาณความต้องการใช้สินค้าเหล็กสำเร็จรูปทั้งหมด 8.78 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ประมาณ 13% จากภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนก่อสร้างในประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้การใช้กำลังการผลิตจริงของอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยอยู่ที่เพียง 33.3% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำมากๆ 

ในขณะผู้ผลิตเหล็กในประเทศไทยต้องเผชิญกับต้นทุนที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจาก 1.ราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้น 39.97% และ 2.ราคาวัตถุดิบที่ผู้ผลิตได้สั่งซื้อไปเมื่อช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.2565 แต่ก็ได้ปรับราคาขายสินค้าเหล็กให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดเหล็กโลกซึ่งอ่อนตัวลงแล้ว ดังนั้นประเทศต่างๆ ที่รู้ทันสถานการณ์ได้ออกมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยการใช้มาตรการทางการค้าต่างๆ อาทิ การตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

ในปัจจุบันราคาสินค้าเหล็กได้ปรับลดลงแล้ว และปรากฏว่ามีการทุ่มตลาดที่ไม่เป็นธรรมจริง ดังนั้นประเทศไทยควรเร่งไต่สวนกรณีที่ยังค้างอยู่ และเร่งทบทวนเก็บอากรทุ่มตลาดอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันผลกระทบจากสินค้าเหล็กทุ่มตลาดที่ทะลักเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยอยู่ไม่ไกลจากประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กใหญ่สุดอันดับ 1 และ 2 ของโลก โดยสองประเทศนี้ผลิตเหล็กออกมาเกือบ 1,200 ล้านตันต่อปี 

อาจจะยังคงเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวต่อไป แต่ก็เชื่อว่าหากมีการพิจารณาไตร่ตรองและเตรียมตัวให้ทันในกลุ่มผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล็ก เชื่อว่าจะสามารถรับมือกับปัญหาที่จะตามมาได้แน่นอน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า