เงินเฟ้อ-พลังงาน ความเสี่ยงสภาพคล่อง

แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ทุกประเทศต่างก็คาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมา แต่แล้วก็เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด หรือสงครามระหว่างรัฐเซีย-ยูเครนที่กดการเติบโตไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอย และล่าสุดมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่มีความขัดแย้งและเริ่มทำสงครามเศรษฐกิจ ยิ่งส่งผลกระทบมายังวงการต่างๆ ของไทยในปีนี้ มีแนวโน้มสั่งสมปัญหาท้าทาย ทั้งเงินเฟ้อ การจ้างงานชะลอลง กำลังซื้อลด องค์กรอยู่รอดและเติบโตในภาวะวิกฤตได้อย่างไร

ซึ่งนายเคน เพ็ง นักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 นักวิเคราะห์ซิตี้คาดการณ์ว่าทั่วโลกยังต้องเผชิญกับสภาวะสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังสูงในหลายประเทศ ปัญหาห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานที่ไม่สมดุล นโยบายและมาตรการด้านการเงินและธนาคารของแต่ละประเทศที่เข้มงวดขึ้น ปัญหาราคาพลังงานจากเหตุการณ์รัสเซีย-ยูเครน เป็นต้น

ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจอย่างสหรัฐนั้น แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังพบอุปสรรคจากทั้งปัญหาเงินเฟ้อยังคงพุ่งขึ้นต่อเนื่อง อัตราการว่างงานและการปรับขึ้นค่าจ้าง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ยกเว้นก๊าซธรรมชาติ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการ ตลอดจนการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายเชิงรุกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทำให้นักวิเคราะห์ซิตี้มองว่ากว่าสถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐจะกลับไปยังจุดเดิมก่อนเกิดสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน อาจใช้ระยะเวลาถึง 10 ปี

ในขณะที่ประเทศจีนแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ แม้ยังได้รับแรงกดดันจากนโยบายควบคุมโควิดเป็นศูนย์ หรือ Zero COVID Policy โดยพบว่าดัชนี PMI ภาคบริการมีการดีดตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงการที่รัฐบาลจีนได้เตรียมออกนโยบายต่างๆ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดทุน โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจประเทศ

จากข้อมูลข้างต้นทำให้ภาพรวมตลาดการลงทุนยังคงเผชิญความท้าทายต่อเนื่อง ดังนั้น การลงทุนครึ่งปีหลัง 2565 ควรลดการถือเงินสดด้วยการลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ที่คาดการณ์ว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี ต่อด้วยการลงทุนในผู้นำอุตสาหกรรมระยะยาว เพื่อแสวงหาผลตอบแทนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีรายได้ดีอย่างสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มพลังงานสะอาด กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีดิจิทัลไลเซชัน ฟินเทค กลุ่มการดูแลสุขภาพและเภสัชกรรม ฯลฯ รวมถึงการลงทุนทางเลือกนอกเหนือจากสินทรัพย์หลัก เพื่อกระจายความเสี่ยงและรักษาผลประโยชน์พอร์ตลงทุนในระยะยาว ควบคู่ไปกับการจับตาประเด็นสำคัญของสถานการณ์โลกอย่างใกล้ชิด

สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยนั้น นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ระบุว่า คาดหวังถึงการมาถึงของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 และในปี 2566 จากปัจจัยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทยที่แสดงให้เห็นถึงแข็งแกร่งกว่าที่คาด เป็นผลจากการยกเลิกข้อจำกัดการเดินทาง รวมถึงการที่ประเทศเพื่อนบ้านกลับมาเปิดพรมแดนอีกครั้ง

 ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดแนวโน้มที่จะยังคงขาดดุลในปี 2565 เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงและการใช้จ่ายในภาคค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น แต่ในปี 2566 มองว่าการเกินดุลเริ่มทยอยสูงขึ้นจากรายได้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่กลับมา

 โดยซิตี้ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีไทยในปี 2565 ลดลงเล็กน้อยที่ 3.5% จากเดิม 3.6% และปี 2566 อยู่ที่ 4.5% จากเดิม 4.8% เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐและการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว และคาดว่า กนง.จะเตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สามครั้ง โดยครั้งแรกคือในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 และอีกสองครั้งภายในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ก่อนหน้านี้เช่นเดิม.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร