ทักษะในเรื่องของดิจิทัลนับว่ามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในยุคนี้ แต่ในช่วงที่ผ่านมาจากรายงานของ Workday หรือรายงานดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลของ IDC-Workday สำหรับเอเชีย-แปซิก ประจำปี 2565 ระบุว่า องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย 91% ยังคงล้าหลังในเรื่องของความคล่องตัวทางดิจิทัล โดยจัดอยู่ในระดับที่ดำเนินการล่าช้าหรือกำลังวางแผน ซึ่งนับว่าสวนทางกับโอกาสในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และการปรับใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบอีกด้วยว่า ในแง่ของการสรรหาและดึงดูดบุคลากร ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญถือเป็นหนึ่งในปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรไทย และเป็นอุปสรรคต่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
จากผลการศึกษาพบว่า 9 ประเทศที่ได้รับการสำรวจในภูมิภาค APAC มีระดับความก้าวหน้าด้านความคล่องตัวทางดิจิทัลที่แตกต่างกัน โดยสำหรับองค์กรไทยมีเพียง 9% เท่านั้นที่มีความคล่องตัวทางดิจิทัลในระดับสูง ส่งผลให้ไทยครองอันดับ 9 ตามดัชนี DAI ลดลงหนึ่งอันดับเมื่อเทียบกับการจัดอันดับเมื่อปี 2563 ซึ่งไทยถูกแซงหน้าโดยอินโดนีเซียที่ครองอันดับ 8 ในปีนี้ เพราะมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เหนือกว่า องค์กรในออสเตรเลียมีความก้าวหน้าสูงสุดในแง่ของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และครองอันดับ 1 ในปีนี้ ส่วนอันดับรองลงมาได้แก่ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และฮ่องกง ขณะที่ไต้หวันซึ่งเพิ่งได้รับการเพิ่มเติมเข้ามาในปีนี้ ครองอันดับ 6 ตามมาด้วยมาเลเซีย
ในมุมมองระดับภูมิภาค พบว่าองค์กรใน APAC มีเพียง 38% เท่านั้นที่มีความคล่องตัวทางดิจิทัลระดับสูง อย่างไรก็ตามถือว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เพราะตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 18 จุด เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่วน 62% ขององค์กรใน APAC ที่จัดว่าล้าหลังในแง่ของความคล่องตัวทางดิจิทัล มีการปรับใช้เทคโนโลยี โดยเป็นผลมาจากความต้องการของหน่วยงานต่างๆ และความจำเป็นทางธุรกิจ เช่น อี-คอมเมิร์ซ มาตรการด้านความปลอดภัย และการทำงานจากที่บ้านในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด
ขณะเดียวกัน การขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญในการดำเนินโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันถือเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขในไทย โดย 80% ของผู้บริหารฝ่าย HR ประสบปัญหาในการกำหนดทักษะที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และมีองค์กรไทยเพียงส่วนน้อย 7% ที่มีกลยุทธ์การจัดการบุคลากรอย่างรอบด้าน โดยมีการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพนักงาน และใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุความจำเป็นในการฝึกอบรมเพิ่มเติม รวมถึงการพัฒนาอาชีพ ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการลดช่องว่างด้านทักษะความชำนาญของบุคลากร
นอกจากนี้ การบูรณาการเครื่องมือดิจิทัลและกระบวนการต่างๆ อย่างครบถ้วนจะช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบทรัพยากรได้อย่างรอบด้าน พร้อมทั้งกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกได้อย่างเหมาะสม และเพิ่มความคล่องตัวทางดิจิทัล อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน 61% ขององค์กรในไทยเริ่มดำเนินโครงการดิจิทัลต่างๆ ที่ระดับของสายงานธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างทันท่วงที แทนที่จะเป็นการปรับใช้แบบครอบคลุมทุกสายงานในระดับองค์กร
ในทางกลับกัน แนวโน้มดังกล่าวนับเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ อีกทั้งปัญหาท้าทายในการปรับใช้เทคโนโลยีก็แตกต่างกันไปในแต่ละฟังก์ชันการทำงาน โดยปัญหาท้าทายที่ผู้บริหารฝ่ายไอทีกล่าวถึงได้แก่ การขาดการบูรณาการระบบต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ 40% และความยากลำบากในการเลือกใช้โซลูชันเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อช่วยขับเคลื่อนความคล่องตัวของธุรกิจ 70% ในทางตรงกันข้าม ผู้บริหารฝ่ายการเงิน 80% ประสบปัญหาท้าทายในการสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อให้เงินสดหมุนเวียนมีเสถียรภาพและคาดการณ์ได้
ในโลกวิถีใหม่ที่ถูกชี้นำด้วยระบบเศรษฐกิจดิจิทัล การใช้ประโยชน์จากความคล่องตัวทางดิจิทัลจะช่วยเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขัน เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสม องค์กรจะต้องเร่งการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อลดช่องว่างด้านความคล่องตัวทางดิจิทัล และกำหนดแนวทางแบบบูรณาการเพื่อรองรับกลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยผู้บริหารฝ่ายการเงิน ฝ่าย HR และฝ่ายสารสนเทศ จะต้องประสานงานร่วมกันในโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน โดยครอบคลุมหลากหลายสายงาน พร้อมทั้งบูรณาการระบบดิจิทัลสำหรับการจัดการบุคลากร รวมไปถึงระบบงานด้านการเงินและ HR.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม
จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เปิดขุมทรัพย์จากพฤติกรรมสุดขี้เกียจ
เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี ทั้งที่ร้านอยู่ใกล้แค่ใต้คอนโดฯ สั่งซื้อของจากร้านสะดวกซื้อทั้งที่ร้านอยู่แค่ฝั่งตรงข้าม หรือยอมจ่ายเงินจ้างคนไปต่อคิวเพื่อซื้อของ ทำธุระ
สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0
อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต
แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น
OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย
ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง
แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ
จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว