มีคนมองกรณีการรวมทรูและดีแทคด้วยการมโนไปว่าจะก่อให้เกิดการผูกขาดบ้าง จะทำให้ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้นบ้าง มีคนบางกลุ่มออกมาเรียกร้องให้ กสทช.ระงับการควบรวม อย่างไรก็ตามหากพิจารณาให้ดีแล้ว การควบรวมของทั้ง
สองบริษัทนี้เป็นไปตามครรลองของกฎหมาย และการมองผลที่ตามมาในเชิงลบนั้น ขอบอกว่าเป็นการมโนแบบไม่ดูข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และไม่ศึกษาความเป็นมาของการแข่งขันที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด ที่ผ่านมาสังคมไม่เคยได้ยินเรื่องราวที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเขามีการรวมหัวกันฮั้วเพื่อผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ ถ้าหากมีเรื่องแบบนี้อยู่จริงมีหรือจะไม่เป็นข่าว เรื่องราวที่เราได้ยินมีแต่การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการบริการให้ดีขึ้น การจัด Promotion package ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากกว่า
ดังนั้นเมื่อมีการควบรวมทรูและดีแทคแล้วการแข่งขันก็ยังคงมีอยู่ และอาจจะเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิมด้วย เห็นได้จากตอนนี้ เอไอเอส ก็มีการส่งเสริมการขายเพื่อรักษาฐานลูกค้าแล้ว ในขณะเดียวกัน คนมองข้ามว่าผู้ให้บริการไม่ได้มีแค่ ทรู ดีแทค และเอไอเอสเท่านั้น ยังมีของบริษัทที่ควบรวมระหว่าง CAT และ TOT อีกด้วย ดังนั้นการแข่งขันก็จะยังคงมีต่อไป และน่าจะเข้มข้นขึ้นด้วย เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค
เพื่อให้สังคมมีความเข้าใจกฎหมาย และประกาศการควบรวมกิจการ ภายใต้การดูแลของ กสทช.อย่างถูกต้อง สังคมควรรู้ว่าการควบรวมไม่ใช่เรื่องใหม่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่ผ่านมาก็มีการควบรวมเกิดขึ้นเกือบ 10 ครั้งแล้ว ทุกครั้งที่เกิดขึ้นก็เป็นการแจ้งการควบรวมตามประกาศ กสทช. ปี 2561 การควบรวมไม่ได้เป็นกฎหมายใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นประกาศที่ใช้มาแล้วในทุกกรณีที่ผ่านมา รวมถึงการควบรวมการสื่อสาร (CAT) และองค์การโทรศัพท์ (TOT) ในครั้งนั้นก็ทำได้เลยโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ดังนั้นการรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคที่เป็นการควบบริษัท (Amalgamation) จึงไม่น่าจะต้องขออนุญาตจาก กสทช. น่าจะดำเนินได้การตามประกาศ กสทช. ปี 2561
เมื่อ กสทช.รับทราบและเกรงว่าจะมีผลกระทบในเชิงลบกับผู้บริโภค กสทช.ก็สามารถกำหนดเงื่อนไขที่อยู่ในกรอบของกฎหมายมาป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค เรื่องที่กังวลกันมากก็คือ ราคาค่าบริการจะสูงขึ้น เรื่องนี้ถ้าหากใครติดตามการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมก็จะเห็นได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ ประการแรก การแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ สังคมก็จะเห็นว่าเป็นการแข่งขันด้านราคา (Price Competition) เห็นได้จากการจัด Promotion Package ของแต่ละค่ายนั้น ผู้บริโภคได้รับผลประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ ประการที่สอง กสทช.มีกฎหมายและอำนาจในการกำหนดเพดานราคาอยู่แล้ว ดังนั้นการคาดคะเนว่าราคาจะสูงขึ้นจึงเป็นเรื่องของการมโน คิดกันไปเอง เป็นการตีตนก่อนไข้ สังคมจะไม่มีวันที่จะต้องเผชิญกับราคาค่าบริการที่เกินกรอบเพดานที่ กสทช.ควบคุม อย่าลืมว่าผู้ประกอบการทุกรายที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรคมนาคมนั้นจะต้องเคารพกฎระเบียบของ กสทช.อย่างเคร่งครัด ที่ผ่านมา กสทช.ก็ควบคุมเพดานราคาได้ดีจนประเทศไทยมีราคาค่าบริการด้านโทรคมนาคมถูกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้นสังคมจึงไม่ต้องกังวลเรื่องราคาจะสูงขึ้น และเรื่องผูกขาดก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะยังมีผู้ให้บริการมากกว่า 1 ราย และการแข่งขันหลังจากที่มีการควบรวมของทรูและดีแทคแล้วจะต้องเข้มข้นขึ้น และการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นย่อมเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค เพราะการบริการจะต้องดีขึ้น ราคาจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น Promotion Package จะต้องดีขึ้น
แทนที่เราจะมโนผลลัพธ์ในเชิงลบที่จะเกิดขึ้นแบบไม่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นความจริง เราลองมามองผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการควบรวมน่าจะดีกว่า
- การควบรวมคือก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources)
- การควบรวมทำให้มีงบประมาณในการลงทุนเพื่อการพัฒนามากขึ้น
- การควบรวมทำให้มีการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน (Shared Technology)
- การควบรวมทำให้ใช้ภูมิปัญญาร่วมกัน (Shared Know-how)
- การควบรวมกระตุ้นการแข่งขันจากผู้ให้บริการเข้มข้นขึ้น เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค
- การควบรวมระหว่างบริษัทของไทยกับบริษัทชั้นนำของยุโรป ทำให้สามารถเพิ่มศักยภาพของบริษัทหลังการควบรวมด้านการแข่งขันในเวทีโลก
- การควบรวมเป็นการสร้างโอกาสของการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันของ 2 บริษัทชั้นนำของประเทศไทย และบริษัทชั้นนำของยุโรป
- การควบรวมทำให้บริษัทที่เกิดขึ้นจากการควบรวมมีศักยภาพในการแข่งขันในประเทศดีขึ้น ทำให้การแข่งขันระหว่างผู้ดำเนินกิจการที่เป็น Brand Leader กับบริษัทที่เกิดจากการควบรวมจะมีการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านการบริการและด้านราคา ที่ล้วนแล้วจะเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค
การแสดงความกังวลเรื่องการผูกขาดและเรื่องราคาที่จะสูงขึ้นนั้น เป็นเรื่องของการจินตนาการเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าแบบไม่มีฐานข้อมูลรองรับความกังวล และเป็นการจินตนาการที่มองไม่ครบมิติ เป็นการมองด้วยรูปแบบทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีแต่ตัวเลข เป็นการพิจารณาด้วยสมองด้านซ้ายที่เป็นเรื่องเหตุผล ไม่ใช้สมองด้านขวาที่เป็นเรื่องของอารมณ์ ผู้ประกอบการตระหนักดีเรื่องธรรมาภิบาล ดังนั้นพวกเขาไม่มีวันที่จะทำเรื่องที่ผิดหลักธรรมาภิบาลให้ถูกสังคมต่อต้านและไม่สนับสนุนธุรกิจ ผู้เล่นในกรณีนี้ไม่ได้มีเพียงทรูและดีแทคที่เป็นสองบริษัทที่จะควบรวมกิจการกัน ยังมี กสทช.ที่เป็นผู้กำกับการดำเนินกิจการ ยังมีบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่จะต้องแข่งขันเข้มข้นขึ้น ยังมีผู้บริโภคที่จะต้องมีกระบวนการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ สังคมน่าจะสนับสนุนการควบรวมของสองบริษัทนี้ และมองไปที่ผลลัพธ์ที่ดีงามสำหรับผู้บริโภค ผู้ใช้บริการ อย่าให้อคติที่มองธุรกิจระดับใหญ่ในแง่ลบมาสร้างความรู้สึกต่อต้าน ในยุคปัจจุบันนี้ธุรกิจทั้งหลายถูกตรวจสอบโดยขบวนการของผู้บริโภคอย่างเข้มข้น ทำให้ธุรกิจทั้งหลายดำเนินงานด้วยหลักธรรมาภิบาลกันทั้งนั้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลัคนาธนูกับเค้าโครงชีวิตปี 2568
ยังอยู่ในช่วงเจ็ดปีของการเปลี่ยนแปลงใหญ่สุขภาพอนามัย-หนี้สิน-ลูกน้องบริวาร และเกือบตลอดปีผู้หลักผู้ใหญ่อวยสถานะ-ยศ-เงินทองให้ แต่มีช่วงซ้อมรับทุกข์และการได้ความผิดที่ไม่ได้ก่อ
ดร.เสรี ลั่นรังเกียจ วาทกรรมแซะสถาบัน
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า เกิดวาทกรรมใหม่ "ใบอนุญาตที่ 2"
เด็กฝึกงาน...ไม่ผ่านโปร
ฉากทัศน์ทางการเมืองของประเทศไทยหลังจากรู้ผลของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นภาพที่สร้างความกังวลให้กับคนไทยจำนวนมากที่ไม่ได้เลือกพรรคส้มหรือพรรคแดง
'ความเป็นไทย' กับกรณีน้ำท่วมภาคเหนือ-ภาคใต้
ถึงแม้จะก่อเกิด ถือกำเนิด ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี...แต่ด้วยเหตุเพราะไปเติบโตที่ภาคใต้ ไม่ว่าเริ่มตั้งแต่อำเภอทุ่งสง จังหวัดหน่ะคอนซี้ทำหมะร่าด ไปจนอำเภอกันตัง
ได้ฤกษ์ 'นายพล' ล็อต 2
ผ่านเดดไลน์ตามคำสั่ง ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ทุกหน่วยส่งบัญชีข้อมูลผู้เหมาะสมเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น
'ดร.เสรี' กรีดเหวอะ! ใครมีลูกสาวเก่งพอที่จะเป็นนายกฯ ต้องบอกลูกให้มีผัว 9 คนอยู่ใน 9 ภาค
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า ใครมีลูกสาวที่เก่งพอที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ต้องบอกลูกนะคะ