โลกกำลังจะเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า “เศรษฐกิจเรียลไทม์” หรือที่นิตยสาร The Economist เรียกว่า Instant (Real-time) Economics
นั่นแปลว่าข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและมีคุณภาพสามารถเกิดขึ้นได้โดยฉับพลัน
นำไปสู่การนำมาปรับใช้เพื่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่กำหนดวิถีชีวิตของผู้คนอย่างชนิดที่เราไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อน
เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้วก็เริ่มจะน่าสงสัยว่ามีใครเข้าใจจริงๆ หรือเปล่าว่ากำลังเกิดอะไรกับเศรษฐกิจโลกวันนี้
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่ผมสนทนาด้วยยอมรับว่าตำราเศรษฐศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมาหลายร้อยปีนั้นกำลังจะถูกท้าทายอย่างหนัก
เพราะไม่มีใครเข้าใจจริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นในเศรษฐกิจโลก
การระบาดใหญ่ของโควิดทำให้ทำให้วิธีคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมไม่สามารถจะตอบคำถามที่เกิดขึ้นวันนี้ได้
ก่อนหน้านี้จะมีผู้เชี่ยวชาญสักกี่คนที่คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบจะพุ่งเหนือบาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐฯ
ไม่ต้องพูดถึงปัญหาที่อยู่ดีๆ ก็เกิดปัญหาคอนเทนเนอร์ที่กองพะเนินอยู่นอกท่าเรือแคลิฟอร์เนียและจีน
จนเกิดกรณีการยื้อแย่งตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลก ทำให้ค่าระวางส่งสินค้าทางทะเลพุ่งพรวดพราดจนกระทบการส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ในโลก
ตอนที่โควิดเริ่มคลี่คลายช่วงหนึ่งในปี 2020 นักพยากรณ์ประเมินว่าว่างงานจะสูงไม่มากนัก เพราะคิดว่ามันจะจบลงในเร็ววันนี้
แต่เอาเข้าจริงๆ จำนวนคนตกงานสูงว่าที่ผู้เชี่ยวชาญประมาณเอาไว้มาก
อีกทั้งถึงวันนี้ก็ไม่มีใครแน่ใจว่าอัตราเงินเฟ้อและค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นหรือไม่
ต้องยอมรับว่าประเด็นสำคัญที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ต้องคลำอยู่ในความมืดในเรื่องสมการและทฤษฎีนั้น เป็นเพราะมีข้อมูลน้อยเกินไปที่จะนำเสนอนโยบายที่จะแก้ปัญหาได้
แต่วันนี้โลกแห่งความสับสนและงุนงงอาจจะเริ่มสลายหายไป เพราะโลกกำลังใกล้จะเกิดการ “ปฏิวัติ”
ก็ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “เศรษฐศาสตร์แบบเรียลไทม์” นี่แหละ
มันเป็นอย่างไรหรือ?
สิ่งที่กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงคือ การมีข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา
ด้วยคุณภาพและความทันเวลาของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี่แหละที่ทำให้บริษัทเทคฯ ยักษ์ๆ ที่นำเสนอบริการผ่านออนไลน์ เช่น Amazon ถึง Netflix
ที่สามารถใช้ข้อมูลปัจจุบันทันด่วนเพื่อตรวจสอบการส่งมอบสินค้าที่สั่งผ่านมือถือว่าไปถึงไหน ณ นาทีนั้นๆ และจะไปถึงผู้รับในสภาพเช่นไร
หรือ Netflix สามารถรู้ได้ว่ามีคนติดละครซีรีส์ชื่อดังอย่าง Squid Game เท่าไหร่และเป็นใครอย่างคล่องแคล่วว่องไว
อีกทั้งการระบาดของโควิดทำให้รัฐบาลและธนาคารกลางต่างๆ มาทดลองใช้ “ข้อมูล” กะทันหันมาตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน
เช่น การใช้ข้อมูลตรวจสอบการจองร้านอาหารไปจนถึงการติดตามการชำระเงินแบบดิจิทัล
ด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล เซ็นเซอร์ และการชำระเงินที่รวดเร็ว ทำให้พฤติกรรมใหม่นี้กระจายตัวอย่างแพร่หลาย
นำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการเกาะติดสถิติเศรษฐกิจอย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วขึ้น
ด้านบวกก็คือมันทำให้รัฐบาลตัดสินใจในหลายเรื่องใกล้เคียงความจริงมากขึ้น
แต่ด้านลบก็คือการเปิดทางให้ผู้มีอำนาจคิดเข้ามาแทรกแซงพฤติกรรมของประชาชนมากขึ้นเช่นกัน
ที่เห็นได้ชัดเจนคือการระบาดใหญ่ของโควิดครั้งนี้ได้กลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างปฏิเสธไม่ได้
แนวโน้มเช่นนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเทคโนโลยีแทรกซึมเข้าสู่เศรษฐกิจ เพราะการทำธุรกรรมจะผันตัวเองไปสู่ออนไลน์มากขึ้นแม้จะพ้นช่วงโควิดแล้วก็ตาม
แม้จะมีความเสี่ยงที่จะถูกมิจฉาชีพเจาะล้วงข้อมูลไปอย่างที่เราเห็นในเร็วๆ นี้ก็ตาม
แต่ผู้รู้ยอมรับว่าการได้ข้อมูลที่ทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงของการดำเนินนโยบายที่ล่าช้า ไม่ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น
เช่น ที่ผ่านมาธนาคารกลางของประเทศอาจจะต้องใช้เวลา 18 เดือน (หรือมากกว่า) ในการที่จะเห็นผลหลังการตัดสินใจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย
แต่ที่ฮ่องกงมีการทดลองใช้เงินสดใน “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่จะหมดอายุหากไม่ได้ใช้อย่างรวดเร็ว
เงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือ Central Bank Digital Currencies (CBDCs) อาจทำให้เกิดข้อมูลที่ทำให้การตัดสินใจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยซ้ำ
ยิ่งนับวันก็ยิ่งมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าข้อมูลที่ดีในช่วงวิกฤตอาจทำให้การสนับสนุนกำหนดเป้าหมายได้แม่นยำกว่าการรอข้อมูลเป็นไตรมาสเพื่อใช้ในการพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบาย
ปรากฏการณ์ “เศรษฐศาสตร์เรียลไทม์” กำลังเกิดขึ้นจริงๆ เพราะตอบโจทย์ของสังคมได้เร็วกว่า แม่นยำกว่า ได้ผลมากกว่า.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ