เชื่อหรือไม่? เรื่อง นกแอร์ ลื่นไถลตกรันเวย์เมื่อวันที่ 30 ก.ค.65 อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านการบินของไทยได้เลย!
น้ำผึ้งหยดเดียวแท้ๆ
เพราะการทิ้งผู้โดยสารอยู่บนเครื่องเป็นชั่วโมง กำลังสะท้อนข้อเท็จจริงว่า ท่าอากาศยานระดับนานาชาติของประเทศไทยขาดมาตรฐานและเครื่องมือ อุปกรณ์กู้ภัยต่างๆ หรือไม่?
หรือการปิดสนามบินยาวถึง 5 วัน เพื่อทำการกู้เครื่องบินที่เกิดอุบัติการณ์ลื่นไถลออกนอกทางวิ่ง กำลังสะท้อนถึงมาตรฐานของท่าอากาศยานที่ขาดอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับจัดการกับอากาศยานใช่หรือไม่?
การให้บริการด้านการบินเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญในการรักษามาตรฐานด้านต่างๆ และหน่วยงานรับผิดชอบต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรการบินระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนดไว้ โดยเฉพาะมาตรฐานด้านความปลอดภัย
ถ้าสายการบิน ท่าอากาศยานระดับนานาชาติ และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่ำกว่าระดับสากล หากถูกตรวจสอบพบโดย ICAO ว่ามันไม่ได้มาตรฐานจริงๆ เขาก็จะมีมาตรการในระดับต่างๆ มาบังคับใช้กับประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยเคยโดนมาตรการรุนแรงคือการ “#ติดธงแดง” มาแล้ว
ใครอยู่ในแวดวงการบินจะทราบดีว่า การติดธงแดงมีผลกระทบกับธุรกิจการบิน และประเทศจะต้องสูญเสียรายได้และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เป็นมูลค่ามหาศาลแค่ไหน
ที่แน่ๆ เครื่องลำเดียวไถลออกนอกทางวิ่ง ปิดสนามบิน 5 วัน ทั้งๆ ที่คืนเดียวน่าจะเสร็จเรื่อง เสียหายไม่รู้เท่าไหร่ แล้วโปรดอย่าไปโยนความผิดใส่กัน จนประชาชนสับสนไปหมดแล้วว่าใครรับผิดชอบกันแน่ เพราะข้อมูลที่สื่อสารกลายเป็นเอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนอื่น
สมมติว่ามีสายการบินสัญชาติไทยไปไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต ท่านผู้อ่านคิดว่าท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตเขาจะรอให้ใครมากู้ หรือเขาจะเป็นคนกู้
คำตอบนี้ชัดเจนว่า คงไม่มีใครปิดสนามบิน 5 วันเพื่อรอให้ใครมากู้ แต่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องย่อมต้องรีบกู้ให้เร็วที่สุด เพื่อรีบเปิดสนามบินให้กลับมาใช้งานได้ต่อไป
ดังนั้นที่สนามบินแม่ฟ้าหลวง จึงต้องตั้งคำถามไปยัง ทอท. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ร่ำรวยระดับต้นๆ ของประเทศว่า ทำไมต้องไปยืมอุปกรณ์จากกรมท่าอากาศยาน? ตัวเองไม่ลงทุนเตรียมการอะไรไว้เลยหรืออย่างไร? แล้วกรมท่าอากาศยานจะมีเครื่องมือหนักได้อย่างไร? สุดท้ายก็ต้องไปยืมจากศูนย์ซ่อมใหญ่ของการบินไทย ที่ ทอท.กำลังไล่บีบเขาออกจากพื้นที่นั่นแหละ
การปฏิบัติเมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ในความเป็นจริง ICAO มี Annex เกี่ยวกับการปฏิบัติเรื่องนี้อยู่ทั้ง Airport และ Airline เรื่องมาตรฐาน ICAO ที่กำหนดให้หน่วยงานในธุรกิจการบินต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดนั้น ต้องรีบทบทวนแล้วครับว่า หน่วยงานรับผิดชอบของไทยได้ใส่ใจในการปฏิบัติตามข้อบังคับที่เขียนกำหนดไว้หรือไม่?
เหตุการณ์นี้ต้องยอมรับกันได้แล้วว่า “Aerodrome Crisis Management” หรือมาตรฐานการจัดการภาวะวิกฤตในท่าอากาศยาน...แย่มากจริงๆ
ระเบียบ กฎหมาย ข้อไหนมันไม่ทันสมัย ล้าหลัง และไม่เป็นสากล ควรจะหยุดบังคับใช้ได้แล้ว
การปิดสนามบินอินเตอร์ 5 วันเป็นเรื่องที่...ทั้ง CAAT และ AOT ปัดสวะให้พ้นตัวไม่ได้.
T.MARK
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research