แพลนต์เบสกำลังบูม

ต้องยอมรับว่า ธุรกิจอาหารจะต้องอาศัยเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคและคนในสังคมเพื่อที่จะสามารถตอบสนองกับตลาดได้ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายชนิดของธุรกิจอาหารที่เกิดขึ้นและได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ช่วงหนึ่ง และความนิยมก็เริ่มน้อยลงไปเรื่อยๆ อย่างเช่น ร้านหมูกระทะ ร้านชานมไข่มุก ร้านบุฟเฟต์อื่นๆ ซึ่งทั้งหมดมักจะเกิดขึ้นมาตามเทรนด์ความต้องการนั้นๆ

แต่ร้านประเภทนั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากความนิยมในประเทศเท่านั้น หากก็มีบางกลุ่มธุรกิจที่เกิดขึ้นและสามารถจับตลาดต่างประเทศได้ จนต่อยอดและขยายธุรกิจโดยไม่พึ่งพาเทรนด์ของความนิยม หลังจากหมดความนิยมไปก็ยังสามารถผลักดันให้ตัวเองอยู่รอดมาได้ ซึ่งในช่วงนี้เทรนด์ธุรกิจอาหารที่น่าสนใจก็คงหนีไม่พ้นสินค้าที่ผลิตมาจากโปรตีนจากพืช หรือที่เราเคยได้ยินกันในชื่อ "แพลนต์เบส"

เทรนด์ของคนรักสุขภาพนั้นมีมานานและต่อเนื่อง แต่เมื่อได้มาผนวกกับการต้องการที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมแล้วด้วยนั้น แพลนต์เบสจึงเป็นตัวเลือกหลักๆ ที่ทำให้ผู้ที่สนใจอาหารด้านนี้เกิดความนิยมมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วแพลนต์เบสถือว่าเป็นอาหารที่มีมานานมากแล้วในสังคม แต่ในอดีตด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ก็ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองกับคนบางกลุ่มได้

แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีวิธีการเลียนแบบโปรตีนจากพืชให้มีคุณสมบัติคล้ายกับของเนื้อสัตว์ได้อย่างใกล้เคียงมากๆ จึงสามารถพัฒนาวงการอาหารแพลนต์เบสขึ้นไปได้อีกระดับ และยังสามารถดึงกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากคนรักสุขภาพอีกด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันตลาดของอาหารจากโปรตีนนั้นมีมูลค่าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ยังเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเช่นกัน

ซึ่งจากการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่างๆ ล่าสุดได้รับรายงานจาก น.ส.วิชาดา ภาบรรเจิดกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ถึงโอกาสในการส่งออกสินค้าโปรตีนจากพืชของไทยเพื่อเจาะตลาดสเปน รองรับความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จึงออกมาแนะนำผู้ประกอบการดังกล่าวถึงโอกาสที่จะผลิตสินค้าอาหารที่มุ่งใช้วัตถุดิบโปรตีนจากพืช เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการสร้างความยั่งยืนในการเข้าสู่ตลาดในระยะยาว

โดยโอกาสในการทำตลาดสินค้าดังกล่าว ทูตพาณิชย์ได้รายงานข้อมูลยืนยันว่า มีผลการศึกษาเรื่อง Route to the food transition โดย Louis Bonduelle Foundation ที่ระบุถึงผลการสำรวจว่า ราว 64% ของชาวสเปนยืนยันที่จะเพิ่มการบริโภคโปรตีนจากพืชในปีนี้ ด้วยเหตุผลหลักด้านสุขภาพ 78% และความยั่งยืน 48% เหตุผลรองลงมา ได้แก่ ราคา 26% และรสนิยม 21% โดยประชากรวัยหนุ่มสาวในยุค Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 18-28 ปี ยืนยันการบริโภคโปรตีนจากพืชเพิ่มขึ้นมากที่สุด

ซึ่งเห็นได้ว่า โปรตีนจากพืชมีบทบาทสำคัญต่ออาหารของสเปนและสร้างความมั่นคงทางด้านโภชนาการ และ 7 ใน 10 คนยืนยันว่าจะเพิ่มการบริโภคโปรตีนจากพืชในปีนี้ อีกทั้งจะบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ผลการศึกษาอีกหลายสถาบันระบุว่า มีจำนวนผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาหารเกินกว่าครึ่งหนึ่งที่รับผิดชอบดำเนินการเรื่องคาร์บอนฟุตปรินต์ หรือการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ และยังระบุว่า หากลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการบริโภคพืช ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมจะลดลงถึง 40% สำหรับตัวชี้วัดบางตัวในส่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แน่นอนว่า จากทัศนคติของชาวสเปนที่ได้จากผลการสำรวจ แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่สำคัญของผู้ประกอบการไทยที่จะเกาะเทรนด์อาหารครั้งใหม่นี้ และพัฒนาขึ้นไปให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทยหรือสเปน แต่อาจจะยังสามารถส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆ ที่กำลังให้ความสนใจกับกลุ่มอาหารแพลนต์เบสอยู่อีกด้วย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า