โซลาร์เซลล์เทรนด์ใหม่รับโลกเปลี่ยน

ราคาพลังงานที่พาเหรดจูงมือกันถีบตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจี ซึ่งมีปัจจัยมาจากสงครามยูเครน-รัสเซีย ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง กดดันประเทศไทยที่ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ให้ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อเนื่องไปยังค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคที่ต้องแบกรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่ต้นทุนด้านพลังงานซึ่งสะท้อนกลับมายังค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟทีที่เรียกเก็บในบิลค่าไฟของประชาชน ที่จะต้องทบทวนให้สอดรับกับต้นทุนทุกๆ 4 เดือน ได้ปรับขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี และล่าสุดในงวดใหม่ (ก.ย.-ธ.ค.) นี้ก็มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ปัจจุบันค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมที่เรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชน (รวมค่าไฟฟ้าฐาน) อยู่ที่ 4 บาทต่อหน่วย ส่วนงวดต่อไปก็ต้องมาลุ้นกันว่าจะปรับขึ้นมากน้อยแค่ไหน โดยการเปิดรับฟังความเห็นจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. มี 3 อัตราให้เลือก คือ ปรับขึ้นเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย, 4.92 บาทต่อหน่วย และสูงสุดเป็น 5.17 บาทต่อหน่วย

ซึ่งที่ผ่านมาต้นทุนพลังงานที่เพิ่มนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ทำหน้าที่หลักในการช่วยแบกรับภาระค่าเอฟทีแทนประชาชน ล่าสุดต้องควักเงินดูแลไปแล้วเกือบแสนล้านบาท จนต้องส่งสัญญาณว่าไม่อาจช่วยได้อีกต่อไป ดังนั้นคงต้องมาลุ้นกันว่าใน 3 สูตรที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นกันนั้น ท้ายสุดค่าไฟฟ้าจะปรับขึ้นเท่าไหร่

อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอันมีผลมาจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการให้ความสำคัญกับการลดภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจในด้านต่างๆ ของไทยต่างเสาะแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ มารับมือ ทั้งการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะพลังงานสะอาดซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ทั่วโลก โดยธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้พัฒนาในทุกกลุ่มเล็ก กลาง ใหญ่ต่างก็ให้ความสนใจและติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์รูฟท็อปให้กับโครงการหมู่บ้าน คอนโดมิเนียม พร้อมเสิร์ฟให้กับผู้บริโภคทันที เรียกว่าใครไม่ทำถือว่าตกเทรนด์! นับว่าตลาดที่อยู่อาศัยของไทยพลิกโฉมหน้าอีกครั้ง

อย่างเช่น บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ หรือ SENA ซึ่ง เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการได้ระบุว่า SENA เริ่มต้นพัฒนาหมู่บ้านโซลาร์รูฟท็อปเมื่อกว่า 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาบ้านโซลาร์แล้วถึง 47 โครงการ เป็นแนวสูง 22 โครงการ และแนวราบ 25 โครงการ รวมกว่า 700 หลังคาเรือน คิดเป็นการผลิตไฟกว่า 2,000 กิโลวัตต์

ล่าสุด เสนาฯ ยังจับมือบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) นำอุปกรณ์เข้ามาใช้ในโครงการบ้าน ไม่ว่าจะเป็น SMART PV INVERTER ซึ่งเป็นอุปกรณ์ แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ มีโซลูชันอินเวอร์เตอร์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น PID Recovery เป็นตัวช่วยฟื้นฟู เพิ่มประสิทธิภาพและลดการเสื่อมสภาพของแผงโซลาร์เซลล์ รวมทั้งนำฟังก์ชัน AFCI ป้องกันการเกิดไฟไหม้ ด้วยการตัดวงจรแบบอัตโนมัติมาใช้ในโครงการ

"จะเห็นว่า การพัฒนาโครงการต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานมาใช้ในโครงการหมู่บ้านต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโซลาร์ลอยน้ำในแหล่งน้ำของโครงการ การให้บริการชาร์จไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าได้อย่างมาก โดยในปี 2564 จนถึงปัจจุบันมีลูกบ้านเสนายื่นเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนทั้งหมด 295 ราย คิดเป็น 891.67 กิโลวัตต์ และจะยื่นเพิ่มเติมอีกในปีนี้"

อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมโซลาร์ฯ นั้นในต่างประเทศมีการตื่นตัวมากพอสมควร เพราะเป็นพลังงานสะอาด ช่วยขับเคลื่อนแผนลดโลกร้อนได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่น่าจับตาคือ นวัตกรรมแบตเตอรี่ที่กำลังเป็นความหวังให้โซลาร์ฯ กลายเป็นพลังงานที่มั่นคงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะเป็นตัวช่วยกักเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แต่ต้องยอมรับว่าขณะนี้ต้นทุนในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ปรับตัวสูงขึ้นมาก จากที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ 25 เซ็นต์ต่อวัตต์ ล่าสุดขยับมาสู่ 30 เซ็นต์ต่อวัตต์ เป็นผลมาจากความต้องการทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่จีนในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้ลดการผลิตลง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกไซด์จากกระบวนการผลิต ประกอบกับค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าลง การนำเข้าแผงโซลาร์จึงต้องจ่ายเพิ่มขึ้น รวมไปถึงทิศทางดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น ทำให้การผ่อนค่าติดตั้งโซลาร์ (ไฟแนนซ์) ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ซึ่งวันนี้แบตเตอรี่แม้มีแล้วแต่ยังไม่ตอบโจทย์ในเรื่องราคา หลายฝ่ายต่างคาดการณ์ว่านวัตกรรมแบตเตอรี่ราคาต่ำ ประสิทธิภาพสูง จะมาในไม่ช้านี้ .....และนี่จะเป็นอีกก้าวของการปฏิวัติวงการบ้านโซลาร์รูฟท็อปอีกระลอกหนึ่งอย่างแน่นอน.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร