เครื่องมือธุรกิจท่ามกลางวิกฤต

แน่นอนว่า ความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้เป็นเรื่องฉุดรั้งการทำงานและการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งใหม่และเก่าพอสมควร เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้เลย และยังสร้างผลเสียให้กับทุกกระบวนการ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายได้รับความเสียหายกับตัวธุรกิจโดยตรงจนไม่สามารถจะเดินหน้าต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ก็ยังต้องลุ้นต่อไป ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการลงทุน หากทำไปแล้วแต่ดันเกิดผลกระทบที่เป็นปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้นอีกอาจจะเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควร

แต่ก็ใช่ว่าการลงทุนในปัจจุบันจะไม่ใช่ผลดี เพราะมีหลายรายที่ประสบความสำเร็จจากช่วงที่เกิดวิกฤตรอบนี้ได้เช่นกัน ตัวเลือกในการดำเนินงานมีมากมายในตลาด แต่จะทำอย่างไรให้เลือกแล้วถูกต้อง เลือกแล้วประสบความสำเร็จ หรือเกิดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด ในด้านการผลิตเองมีเอกชนหลายรายที่ผ่านมาเกิดความสูญเสียและจำเป็นจะต้องถอนตัวเองออกไปจากภาคการผลิต แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมและเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือธุรกิจรับจ้างผลิต หรือ โออีเอ็ม ที่ปัจจุบันเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกใช้

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JP ซึ่งได้มองเห็นถึงปัญหาและช่องทางที่จะเดินหน้าธุรกิจรับจ้างผลิตให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของตลาดได้นั้น จึงดำเนินโครงการ ‘Z entrepreneur by JP’ ซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดันให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เช่น สินค้าด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สินค้าโอทอป และสมุนไพรต่างๆ ที่ต้องการโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP ได้มาตรฐานส่งออก แต่ไม่มีเงินลงทุนในการซื้อเครื่องจักร

ให้สามารถเข้ามาปรึกษากับ JP เพื่อสร้างสินค้าที่ได้มาตรฐาน ซึ่งในโครงการนี้ JP ได้เป็นพี่เลี้ยงในการวิเคราะห์ธุรกิจ การทำแผนธุรกิจ ด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงยังให้คำปรึกษาด้านบรรจุภัณฑ์ และการขออนุญาตขึ้นทะเบียน อย. โดยโครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับความสนใจจากทั่วโลก จึงมีคนรุ่นใหม่เกิดความต้องการที่จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจเหล่านี้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่ยังขาดความรู้ และขาดคำแนะนำที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้จริง

นอกจากนี้ ในช่วงเกิดวิกฤต ด้วยการทำให้ภาคธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลให้ภาคผู้ผลิตที่เป็นโรงงานขนาดเล็กมีความเสี่ยงต้องปิดกิจการชั่วคราว หรือปิดโดยไม่มีกำหนด เกิดการรวมกลุ่มใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยการเปิดบริการรับจ้างผลิตสินค้าให้กับโรงงานขนาดเล็ก เพื่อให้โรงงานขนาดเล็กไม่ต้องปิดกิจการ สามารถรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้ตามปกติ แต่ไม่ต้องแบกรับต้นทุนด้วยการดำเนินการผลิตเอง เพราะหากคำสั่งซื้อมีปริมาณไม่มากพออาจจะไม่คุ้มทุนกับการผลิตเอง และเสี่ยงต่อการปิดกิจการในที่สุด

ขณะที่มุมมองของผู้เข้าร่วมโครงการอย่างบริษัท มาโว่ เฮลธ์ จำกัด (MAWO) โดย ณัฐณิชา ดอนสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ปัญหาของผู้ประกอบการรายเล็กคือ การมีต้นทุนจำกัดในการลงทุนเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานระดับสากล การเข้ามาร่วมโครงการกับ JP จึงทำให้ธุรกิจสามารถเป็นจริงได้ง่ายขึ้น โดยใช้เงินลงทุนไม่มาก อีกทั้งได้รับคำแนะนำ และผ่านการอบรมทั้งด้านงานขาย การเข้าถึงสื่อออนไลน์ การวิเคราะห์ธุรกิจ เป็นต้น

แน่นอนว่า MAWO เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ JP ให้การสนับสนุนจนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นได้จริง จึงเป็นตัวอย่างของผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริมของตัวเอง โดยที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่สามารถสร้างสินค้าที่ได้มาตรฐาน และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ซึ่งมองว่าการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ขึ้นมาแข่งขันในตลาดนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี 

และเชื่อว่า การเลือกใช้บริการธุรกิจโออีเอ็มท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวนแบบนี้น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะทุกอย่างจะสามารถควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเยอะแต่สามารถต่อยอดและขยายกำลังการผลิตได้ง่าย รวมถึงมีต้นทุนและวัตถุดิบให้เลือกหลากหลาย น่าจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือของผู้ประกอบการที่ต้องการจะพัฒนาธุรกิจในยุคนี้ได้อย่างดีเยี่ยม.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเครื่องดึงนักท่องเที่ยว

จากสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสะสมในช่วงเกือบ 7 เดือนเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 ก.ค.2567 ทั้งสิ้น 20,335,107 คน

ต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้อง

หลังจากนายกรัฐมนตรีหญิง แพรทองธาร ชินวัตร รับตำแหน่งอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเอกชนต่างก็ดีใจ เพราะไม่ทำให้ประเทศเป็นสุญญากาศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสิ่งแรกที่ภาคเอกชนอย่าง

แนะเจาะใจผู้บริโภคด้วย‘ความยั่งยืน’

คงต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว

รัฐบาลงัดทุกทางพยุงตลาดหุ้น

หลังจากปล่อยให้ตลาดหุ้นซึมมาอย่างช้านาน จนปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า 1,300 จุด เรียกได้ว่าสำหรับนักลงทุนถือเป็นความเจ็บปวด เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ไปไหน

ดันอุตฯไทยไปอวกาศ

แน่นอนว่าในยุคที่โลกต้องก้าวหน้าไปสู่อุตสาหกรรมที่ทันสมัยมากขึ้น และต่อไปไม่ได้มองแค่ในประเทศหรือในโลกแล้ว แต่มองไปถึงนอกโลกเลยด้วยซ้ำ เพราะจะเป็นหนึ่งในกลไกในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นที่มีความแข็งแกร่งส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมอวกาศได้

แบงก์มอง ASEAN ยังมาเหนือ

ยังคงมีอีกหลายประเด็นที่ต้องจับตามองกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้า โดยมุมมองของ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า