คาถาสำหรับคนไทยผ่าวิกฤต วันนี้: บริหารความเสี่ยงให้ได้!

ช่วงนี้ผู้คนติดตามข่าวคราวที่เกี่ยวกับปากท้องของตัวเองด้วยการทำความเข้าใจกับตัวเลขชุดต่าง ๆ

เงินเฟ้อไปถึงไหน...ถ้าของสหรัฐฯล่าสุดเดือนมิถุนายนพุ่งไปที่ 9.1% ของไทยเราจะวิ่งขึ้นไปอีกไหม

ดอกเบี้ยจะขึ้นต่อไปอย่างไร...ถ้า Fed ของสหรัฐฯปรับขึ้นอีกรอบที่ 0.75% หรือ 1.00% เลย คณะกรรมการนโยบายหรือ กนง. ของแบ็งก์ชาติจะขยับขึ้นตามหรือไม่

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลล่าร์ที่เห็นตัวเลข 36.60 บาทต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐฯ อ่อนที่สุดใน 13 ปี (ตัวเลข ณ บ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา) จะยังอ่อนต่อไปอีกหรือไม่

อัตราเติบโตเศรษฐกิจของจีนไตรมาสที่สองอยู่ที 0.4% จะมีผลต่อการค้าการขายของจีนกับโลกและอาเซียนรวมทั้งไทยอย่างไรหรือไม่

อัตราเติบโตจีดีพีของไทยปีนี้ที่ปรับลดกันอย่างต่อเนื่องจะไปจบลงตรงไหน

ราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงมา (ตัวเลขวันศุกร์ที่ผ่านมา) อยู่ที 90-94 เหรียญต่อบาเรลซึ่งเป็นระดับก่อนสงครามยูเครนจะสามารถรักษาระดับนี้ได้หรือไม่ และจะมีผลต่อเงินเฟ้อและราคาสินค้าของบ้านเราอย่างไร

ทั้งหมดนี้คือตัวเลขที่จะบอกเราว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร

แต่ก่อนนี้ พอเราเอ่ยถึงตัวเลขต่าง ๆ ที่ว่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้รับความสนใจเท่าไหร่ เพราะนึกว่าดัชนีทั้งหลายนี้เป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ, นักเศรษฐศาสตร์หรือผู้วางนโยบายระดับชาติเท่านั้น

ชาวบ้านเคยนึกว่าเราไม่เกี่ยวเพราะมันเป็นเรื่องวิชาการทั้งนั้น

แต่ถึงวันนี้ ทุกความเคลื่อนไหวของดอกเบี้ย, เงินเฟ้อ, ราคาน้ำมัน, อัตราแลกเปลี่ยน, ราคาน้ำน้ำมันดิบและน้ำมันสุกล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น

ที่ยากขึ้นไปกว่านั้นคือตัวเลขเหล่านี้เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างผันผวน วิ่งขึ้นลงได้อย่างน่าใจหายใจคว่ำตลอดเวลา

แต่ก่อนนี้ช่วงของการขึ้นลงจะมีจำกัดและใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่ทุกวันนี้ความเปลี่ยนแปลงหนักหน่วงรุนแรงและพุ่งขึ้นและดิ่งลงอย่างน่าหวาดเสียวได้ตลอดเวลา

ไม่ต่างอะไรกับการนั่งเรือเหาะในงานวัดที่เรียกว่า roller-coaster 

ที่เหวี่ยงขึ้นลงอย่างไร้ทิศทาง ทำเอาผู้ที่นั่งอยู่บนนั้นต้องใจหายใจคว่ำ ใจคอไม่อยู่กับเนื้อกับตัวตลอดเวลา

เพราะไม่รู้ว่าวันนี้ขึ้นพรุ่งนี้จะลงหรือไม่ และถ้าขึ้นจะขึ้นเท่าไหร่ หรือถ้ากลับทิศทาง ร่วงลง จะหล่นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือจะเป็นลักษณะโหม่งโลก

ที่เราไม่เคยเห็นก็ได้เห็น ที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดก็เกิด

ในภาวะเช่นนี้ทักษะที่สำคัญที่สุดคือการ “บริหารความเสี่ยง”

หรือ risk management

แต่ทุกคน, ทุกองค์กร, ทุกบริษัท, ทุกรัฐบาลก็กำลังต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงกันตลอดเวลาและประมาทไม่ได้แม้แต่นาทีเดียว

เพราะทุกคนมีความเสี่ยงส่วนบุคคล

บริษัทมีความเสี่ยงเรื่องต้นทุน, วัตถุสำหรับการผลิตและความเปลี่ยนแปลงของอุปนิสัยผู้บริโภค

ระดับรัฐบาลก็มีความเสี่ยงเรื่องการใช้จ่ายและตระเตรียมเงินทองและแผนฉุกเฉินสำหรับการตั้งรับสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดการณ์หรือคิดไม่ถึงมาก่อน

คำว่า“ประกันความเสี่ยง” จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่เพราะเมื่อความเสี่ยงสูงขึ้นก็ต้องหาทางป้องกันความเสี่ยงนั้น ๆ

แต่ก่อนนี้มี “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่ทำหน้าที่หรือมีอาชีพเป็นผู้ประกันความเสี่ยง

แต่ทุกวันนี้ ภายในสภาวะของการเมืองและเศรษฐกิจที่ผันผวนปรวนแปรอย่างรุนแรงตลอดเวลา ทุกคน, ทุกองค์กร, ทุกชุมชนและทุกรัฐบาลต่างก็ล้วนต้องทำงานด้าน “ประกันความเสี่ยง” ทั้งสิ้น

ความเสี่ยงส่วนตัวคือเรื่องรายได้และรายจ่ายที่เกิดความไม่แน่นอนสูงขึ้นทุกขณะ

ความเสี่ยงที่จะตกงานสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากการลงทุนในทุกรูปแบบก็พุ่งพรวดพราดขึ้นมาในรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ทุกบริษัทล้วนต้อง “ประกันความเสี่ยง” ทั้งสิ้น

เช่นผู้ส่งออกก็ต้องประเมินว่าหากเงินบาทเทียบกับดอลล่าร์อ่อนต่อเนื่องเช่นนี้จะต้องวางแผนการส่งออกอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

ผู้นำเข้าก็ต้องเข้าใจว่าเมื่อเงินบาทอ่อนเช่นนี้ ต้นทุนของสินค้านำเข้ารวมถึงวัตถุดิบที่มาจากต่างประเทศก็จะแพงขึ้น

บางบริษัทแม้จะได้ประโยชน์จากการที่เงินบาทอ่อนเพราะเป็นผู้ส่งออกก็ต้องระวังว่าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้านั้นต้องนำเข้า...เงินบาทอ่อนก็กลายเป็นภาระหนักขึ้น

ดังนั้นแม้ในองค์กรเดียวกันก็ต้องบริหารความเสี่ยงทั้งด้านบวกและลบที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน

จึงทำให้การดำรงชีวิตอยู่และการบริหารอาชีพของแต่ละธุรกิจต้องเพิ่มความเป็นมืออาชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วันก่อนผมอ่านแนววิเคราะห์ของ ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องเศรษฐกิจไทยก็พอจะเห็นถึงความลำบากของการ “บริหารความเสี่ยง” ของธนาคารกลางของประเทศอีกเหมือนกัน

พรุ่งนี้จะได้ว่าต่อว่าผู้ว่า ธปท. ต้องบริหารความเสี่ยงเรื่องนโยบายการเงินอย่างไร

ทำไมท่านจึงบอกว่า Fed อเมริกาขึ้นดอกเบี้ย แต่เราไม่จำเป็นต้องขึ้นตามด้วย

มันเป็นเช่นไร? พรุ่งนี้ว่ากันเรื่องนี้ครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ