พอเกิดสงครามยูเครน ตะวันตกประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย หวังว่าจะตัดท่อน้ำเลี้ยงจากรายได้ที่ขายน้ำมันและก๊าซของยุโรปตะวันตก, แต่มอสโกหันไปหาจีนและอินเดีย
ผลปรากฏตามชาร์ตที่เห็นนี้คือในช่วง 3 เดือนหลังสงครามระเบิด จีนกับอินเดียใช้เงินซื้อพลังงานรัสเซียเพิ่มเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ารัสเซียกวาดรายได้ 24,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 864,000 แสนล้านบาท) จากการขายพลังงานให้อินเดียและจีนในเวลาเพียงสามเดือนนี้
เฉพาะจีนประเทศเดียว ควักกระเป๋าจ่ายเงินไป 18,900 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินของรัสเซียในช่วง 3 เดือนจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม
ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของปริมาณที่ซื้อเมื่อปีที่แล้ว
ขณะที่อินเดียจ่าย 5.1 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน
โดยรวมแล้ว รัสเซียมีรายได้เพิ่มขึ้น 13,000 ล้านดอลลาร์จากอินเดียและจีนจากการขายพลังงานเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกต่อการขายพลังงานของรัสเซียที่โยงกับสงครามกับยูเครนมีผล “บูมมาแรง” ต่อผู้สั่งการเอง
เพราะยักษ์ใหญ่อย่างอินเดียและจีนแย่งชิงสินค้าโภคภัณฑ์จากมอสโกอย่างคึกคัก...และยังแถมด้วยได้ราคาพิเศษที่ต่ำกว่าตลาดโลกปกติอีกด้วย
มาถึงวันนี้ ทั้งสองประเทศมีสัดส่วนคิดเป็น 50% ของการส่งออกน้ำมันทางทะเลของรัสเซีย
เท่ากับบ่อนทำลายความพยายามของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่จะลงโทษรัสเซีย
เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้ผลตามประสงค์
Bloomberg Economics คาดการณ์ว่าในปีนี้ปีเดียว รัสเซียจะได้รับรายได้ 285,000 ล้านดอลลาร์จากยอดขายน้ำมันและก๊าซที่เพิ่มขึ้น
ผลจากมาตรการคว่ำบาตรส่งผลให้ราคาพลังงานทั่วโลกพุ่งพรวดพราด เป็นผลจากอุปทานที่ตึงตัว ส่งผลไปดันภาวะเงินเฟ้อที่ร้อนแรงอย่างคาดไม่ถึง
ขณะที่รัสเซียกำลังได้รับ “ส้มหล่น” มหาศาลจากการส่งออกพลังงานในช่วงนี้ แต่รายงานล่าสุดของ Bloomberg ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มนี้อาจจะไม่สามารถรักษาระดับเดิมได้อีกต่อไป
การขนส่งสินค้าไปยังเอเชียลดลงมากกว่า 15% จากระดับสูงสุดในเดือนพฤษภาคม
อันเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าความต้องการหรืออุปสงค์อาจจะกำลังลดลง
นั่นแปลว่าจะต้องมีการเกาะติดสถิติการซื้อขายพลังงานระหว่างรัสเซียกับจีนและอินเดียต่อไปอีกหลายเดือนจึงจะได้ภาพที่แม่นยำ
ผมได้ข่าวอีกกระแสหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากันว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันของรัสเซียอาจมุ่งสู่ซาอุดีอาระเบียผ่านทางอียิปต์มากขึ้น
สำนักข่าว Bloomberg เจ้าเดียวกันรายงานว่าซาอุดีอาระเบียรับน้ำมันสำหรับโรงไฟฟ้า 3.2 ล้านบาร์เรลจากอียิปต์ในเดือนที่ผ่านมา
เป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี
ในขณะเดียวกันการนำเข้าเชื้อเพลิงของอียิปต์จากรัสเซียก็เพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.8 ล้านบาร์เรล
นักวิเคราะห์บางค่ายบอกว่าปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันของรัสเซียที่เพิ่มสูงขึ้นดูเหมือนจะส่งถึงซาอุดีอาระเบียผ่านอียิปต์
ก่อนหน้ารัสเซียจะบุกยูเครนนั้น อียิปต์เป็นฝ่ายส่งออกเชื้อเพลิงไปยังซาอุดีอาระเบีย
ทุกวันนี้ ซาอุดีอาระเบียได้รับเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าจากอียิปต์ 3.2 ล้านบาร์เรลในเดือนที่ผ่านมา
การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากซาอุดีอาระเบียมักจะเพิ่มความต้องการเชื้อเพลิงในช่วงฤดูร้อนเพราะอุณหภูมิที่แผดเผาทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น
เส้นทางลำเลียงบนเส้นทางนี้น่าสนใจ
ขั้นแรก รัสเซียส่งถังน้ำมันไปยังท่าเทียบเรือ Ain Sukhna ของอียิปต์ในทะเลแดง เพราะ Aramco Trading มีที่เก็บของเพียงพอ
จากนั้นก็ส่งไปยังท่าเรือตะวันตกในดินแดนซาอุดีอาระเบีย
นักข่าวสอบถามเจ้าหน้าที่ซาอุดีอาระเบียและอียิปต์เรื่องนี้ว่าจริงแท้แค่ไหนหรือไม่
ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนแต่อย่างไร
หรืออาจจะเป็นเพราะความละเอียดอ่อนของเส้นทางใหม่นี้ในภาวะสงครามยูเครนก็ได้
แม้สหรัฐฯ ได้กำหนดให้มีการคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซีย และสหภาพยุโรปกำลังยุติการห้ามบางส่วน แต่ไม่มีมาตรการคว่ำบาตรโดยตรงที่จะหยุดอียิปต์ไม่ให้นำเข้าได้
จากนั้น อียิปต์ก็สามารถนำผลิตภัณฑ์น้ำมันของรัสเซียส่งขายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
แวดวงภายในวิเคราะห์ว่าการเคลื่อนไหวแบบนี้ช่วยให้รัสเซียหลีกเลี่ยงความพยายามในการปิดบังรายได้จากการส่งออกพลังงาน
เพราะได้เจอผู้ซื้อที่กระตือรือร้นคือจีนและอินเดียแล้ว
“ซาอุดีอาระเบียได้เพิ่มการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงของรัสเซียอย่างเป็นกอบเป็นกำเพราะไม่มีการคว่ำบาตรที่ขัดขวางไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้น” Peter La Cour นักวิเคราะห์น้ำมันจาก Energy Aspects บอก Bloomberg
"น้ำมันเชื้อเพลิงของรัสเซียเป็นบาร์เรลที่ถูกที่สุดสำหรับความต้องการในการผลิตกระแสไฟฟ้าของซาอุดีอาระเบียและสมเหตุสมผลทางเศรษฐกิจ”
อินเดียสามารถเดินเกมการทูตได้อย่างแนบเนียน...คบได้ทั้งกับฝั่งมอสโกและวอชิงตัน
เมื่อเร็วๆ นี้นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดียได้ยกหูโทรศัพท์พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียเพื่อย้ำถึงจุดยืนของอินเดียต่อสถานการณ์ในยูเครน
และย้ำว่าอยากจะให้รัสเซียกับยูเครนเจรจาด้วยวิถีทางการทูต
รายงานข่าวบอกว่าในการสนทนากันนั้นโมดีและปูตินยังหารือกันถึงประเด็นต่างๆ ของโลก รวมถึงเรื่องพลังงาน และตลาดอาหาร ตลอดจนแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการค้าทวิภาคีในด้านสินค้าเกษตร, ปุ๋ย และยา
ทั้งสองผู้นำคุยกันเพียงไม่กี่วันหลังโมดีได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ชาติ หรือ G7 ที่ประเทศเยอรมนี ท่ามกลางบรรยากาศตึงเครียดของโลกและวิกฤตยูเครน
ระหว่างการประชุม G7 นายกรัฐมนตรีอินเดีย เรียกร้องแนวทางการเจรจาและการทูตเหมือนกัน
โมดีย้ำว่าผลกระทบจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ได้จำกัดอยู่ในยุโรป แต่ทำให้ราคาพลังงานและธัญพืชพุ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ
โมดีทิ้งท้ายว่าปัญหาที่หนักเป็นการเฉพาะอย่างยิ่งด้านพลังงาน และความมั่นคงในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตกอยู่ในความเสี่ยง
นายกฯ อินเดียย้ำความวิตกกังวลต่อความมั่นคงทางอาหาร ท่ามกลางความขัดแย้งในยูเครน
เรียกว่าโมดีได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง...การทูตภารตะส่งผลให้บทบาทของอินเดียโดดเด่นและน่าอิจฉาระดับโลกกันเลยทีเดียว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ