เจอกันแล้วครับ...รัฐมนตรีต่างประเทศจีนกับอเมริกา...และวาทะของทั้งสองฝ่ายแหลมคมไม่แพ้กัน
การพบปะระหว่าง 2 ฝ่ายที่ยาวถึง 5 ชั่วโมง และเป็นการเจอหน้ากันครั้งแรกนับจากเดือนตุลาคมปีก่อน
เวทีที่ให้ทั้ง 2 คนเจอกันตัวเป็นๆ ในตำแหน่งรัฐมนตรีคือที่บาหลี, อินโดนีเซีย
รัฐมนตรีต่างประเทศของ G-20 มาพบกันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อปูทางสำหรับการประชุมสุดยอดระดับผู้นำในปลายปีนี้
บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 คนนี้เป็นอย่างไร?
ผมอ่านถ้อยแถลงจากทั้งสองฝั่งแล้วก็สรุปได้ว่าแลกหมัดกันอย่างหนักหน่วง
ที่ซ่อนไว้ในภาษาการทูตที่ไม่ต้องการให้กลายเป็น “สงครามน้ำลาย” ในที่สาธารณะ
หวัง อี้ มุขมนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศจีน และแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้พูดคุยกันอย่าง "เป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์" เกี่ยวกับจีน-สหรัฐฯ
กระทรวงการต่างประเทศของจีนแถลงว่าความสัมพันธ์และประเด็นสำคัญระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคที่เป็นปัญหาร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
ภาษาทางการฝ่ายจีนบอกว่า ผลของการเจอกันครั้งนี้เป็นการสื่อสารที่ "ละเอียดถี่ถ้วน เจาะลึก ตรงไปตรงมา และยาวนาน" ช่วยส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน และลดความเข้าใจผิดและการตัดสินที่ผิดระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย และปูทางสำหรับการแลกเปลี่ยนระดับสูงในอนาคตระหว่างทั้ง 2 ประเทศ
หวังอี้กล่าวว่า เหตุผลพื้นฐานคือการรับรู้ของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน และนโยบายที่สอดคล้องกันของจีน “ได้เบี่ยงเบนไปจากแนวทางที่ถูกต้อง”
หวังอี้เน้นย้ำว่าจีนเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และความร่วมมือแบบ win-win เป็นหลักการ 3 ประการ ในการพัฒนาจีน-สหรัฐฯ ความสัมพันธ์
รัฐมนตรีต่างประเทศจีนบอกว่า เนื่องจากสหรัฐฯ ให้คำมั่นที่จะไม่เปลี่ยนระบบของจีน สหรัฐฯ จึงควรเคารพเส้นทางของลัทธิสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีนที่คนจีนเลือกไว้ รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าว
เนื่องจากสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะไม่แสวงหาสงครามเย็นครั้งใหม่กับจีน สหรัฐฯ จึงควรละทิ้งแนวความคิดเกี่ยวกับสงครามเย็น และแนวความคิดเกี่ยวกับเกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ เขากล่าวเสริม
เนื่องจากสหรัฐฯ สัญญาว่าจะไม่สนับสนุน "เอกราชของไต้หวัน" จึงควรหยุดบิดเบือนนโยบายจีนเดียว เขากล่าว
นอกจากนี้ จีนยังได้เสนอรายชื่อ 4 รายการให้กับสหรัฐอเมริกา ได้แก่
รายการการกระทำผิดกฎหมายของสหรัฐฯ ที่ต้องยุติ
รายการคดีสำคัญๆ ที่จีนมีความกังวล
รายการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจีนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญต่อจีน
และรายการ 8 ด้านของความร่วมมือของจีน-สหรัฐฯ
ด้านบลิงเคนสรุปนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีนว่าอเมริกาไม่แสวงหาสงครามเย็นครั้งใหม่กับจีน
ไม่มุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงระบบของจีน
ไม่ท้าทายสถานะการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
และไม่มีการสนับสนุน "เอกราชของไต้หวัน"
วอชิงตันบอกว่า ผลจากการพบปะกันครั้งนี้ทั้ง 2 ฝ่ายบรรลุฉันทามติในการผลักดันให้เกิดผลลัพธ์เพิ่มเติมจากการปรึกษาหารือระหว่างจีน-สหรัฐฯ คณะทำงานร่วมบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันและตอบแทนซึ่งกันและกัน
และตกลงที่จะกลับมาดำเนินการแลกเปลี่ยนและปรึกษาหารือระหว่างบุคคล
และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสาธารณสุข
ทั้ง 2 ฝ่ายยังได้เสนอวิสัยทัศน์เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และแลกเปลี่ยนมุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาของยูเครนและสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี
บลิงเคนบอก หวัง อี้ ว่าการสนับสนุนสงครามของรัสเซียในยูเครนทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีน “ซับซ้อนขึ้นไปอีก”
จากเดิมที่มีข้อขัดแย้งในประเด็นอื่นๆ อยู่แล้ว
หวัง อี้ ตำหนิสหรัฐว่าเป็นฝ่ายทำให้ความสัมพันธ์ย่ำแย่ลง
อีกทั้งยังตำหนินโยบายของสหรัฐมีสภาพตกราง เพราะการรับรู้มาผิดๆ ว่าจีนเป็นภัยคุกคาม
หวัง อี้ บอกว่ามีบางฝ่ายเชื่อว่าสหรัฐอเมริกามีความหวาดผวาจีน
เขาเตือนอเมริกาว่าถ้ายังปล่อยให้ความเชื่อเช่นนี้ขยายตัวต่อไปเรื่อยๆ นโยบายสหรัฐที่มีต่อจีนจะไปถึงจุดที่ไปต่อไม่ได้ และเป็นทางตัน
บลิงเคนตอบโต้ว่าอเมริกามีความกังวลถึงการเป็นแนวร่วมของจีนกับรัสเซีย
เขาบอกนักข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า “ผมคิดว่าจีนวางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งนี้ได้ยาก”
ก่อนหน้านี้ อเมริกาเรียกร้องให้จีนประกาศไม่สนับสนุนรัสเซียบุกยูเครน
แต่ก็ไร้ผล
ความไม่ลงรอยระหว่าง 2 ยักษ์มีประเด็นหลากหลายอยู่แล้ว
แต่เกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นเมื่อสำนักงานสืบสวนกลาง หรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐกับหน่วยข่าวกรองเอ็มไอไฟว์ (MI5) ของอังกฤษนัดแถลงร่วมกันว่า
โลกต้องระวังภัยคุกคามจากจีน โดยย้ำที่ข้อกล่าวหาว่าปักกิ่ง "ขโมยเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้แข่งขันกับตะวันตก"
ผอ. FBI คริสโตเฟอร์ เรย์ กล่าวหาว่าจีนจารกรรมและแฮ็กข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป
และซัดหมัดตรงว่ารัฐบาลจีนเป็นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดในระยะยาวต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ และสหรัฐฯ กับอังกฤษ รวมทั้งพันธมิตรในยุโรปและชาติอื่นๆ
ผอ.ของ MI5 เคน แมคคอลลัม ย้ำว่ารัฐบาลจีนและแรงกดดันที่ซ่อนอยู่ทั่วโลกเป็น “ความท้าทายสำคัญที่สุด” ที่ตะวันตกกำลังเผชิญอยู่
มีหรือที่จีนจะอยู่นิ่งเฉย
นายจ้าว หลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน เปิดแถลงตอบโต้ ว่านักการเมืองสหรัฐจงใจโจมตีจีนให้เสื่อมเสีย
และย้อนเกล็ดว่า “ความจริงพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสหรัฐเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาของโลก”
โฆษกฝีปากกล้าของจีนเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สหรัฐหันมาปรับมุมมองให้ถูกต้อง โดยตระหนักถึงวัตถุประสงค์และความสมเหตุสมผลในการพัฒนาของจีน
รวมทั้งขอให้หยุดพูดเท็จและคำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบ
และเรียกร้องให้ ผอ.ข่าวกรองอังกฤษออกจากเงามืดมาสู่มุมสว่าง ไม่คิดเอาแต่ผลประโยชน์และคิด “ที่จะเป็นศัตรูในจินตนาการ”
ผมสงสัยจริงๆ ว่าเมื่อแลกหมัดกันอย่างนี้...จะมีโอกาส “ร่วมมือและแข่งขันอย่างสร้างสรรค์” หรือ?.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ