ปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวในมุม LGBTQ+

ประสบการณ์อันน่าจดจำ การได้ออกผจญภัยและการออกไปเพลิดเพลินกับโลกกว้าง คือนิยามของ “การเดินทาง” แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เดินทาง LGBTQ+ ทั่วโลกต่างพบเจอประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากนิยามอันแสนสุขของการเดินทาง โดยผลการสำรวจล่าสุดของ Booking.com จากการสอบถามผู้เดินทาง LGBTQ+ ใน 25 ประเทศทั่วโลก เผยว่า 82% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ทั่วโลก และ 87% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยรู้สึกไม่ได้รับการต้อนรับ และเคยสัมผัสประสบการณ์ที่ชวนให้อึดอัดหรือไม่ค่อยเป็นมิตรนักเมื่อเดินทาง

การสำรวจข้อมูลนี้เผยให้เห็นถึงอุปสรรคในการเดินทางอย่างเท่าเทียมที่ผู้เดินทาง LGBTQ+ ยังต้องเผชิญ โดย 75% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยเปิดเผยว่า

พวกเขาเคยเผชิญการเลือกปฏิบัติระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการถูกตัดสินหรือถูกเหมารวม 34% การโดนจ้องมอง หัวเราะเยาะ หรือทำร้ายจิตใจด้วยวาจาจากผู้เดินทางคนอื่น 29% และจากคนในท้องถิ่น 23% ด้วยเหตุนี้เองผู้เดินทาง LGBTQ+ จึงมีความกังวลใจในการตัดสินใจออกเดินทางในแต่ละครั้ง ตั้งแต่การเลือกจุดหมายปลายทาง ไปจนถึงการเลือกกิจกรรมที่พวกเขาจะเข้าร่วมระหว่างเดินทาง 

โดยข้อพิจารณาของพวกเขามีดังนี้ คือ 74% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยกล่าวว่า การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ ส่งผลต่อการตัดสินใจของพวกเขาเมื่อวางแผนออกเดินทาง ส่วน 73% ระบุว่าพวกเขาต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีในฐานะผู้เดินทาง LGBTQ+ ขณะที่ LGBTQ+ ชาวไทยกว่าครึ่ง 58% รู้สึกว่าการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ มีผลต่อเลือกหรือจัดอันดับ “จุดหมายปลายทางในฝัน” ที่ต้องไปเยือนสักครั้งในชีวิต และ 58% รู้สึกว่าการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ มีผลต่อการเลือกผู้ร่วมเดินทาง

แม้ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งในชุมชน LGBTQ+ จะต้องเผชิญอุปสรรคมากมายบนเส้นทางของการเดินทางอย่างเท่าเทียม แต่ก็ยังมีพื้นที่อีกมากที่พร้อมต้อนรับและมอบประสบการณ์อันน่าประทับใจให้กับทุกคน โดย 85% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทย เห็นพ้องตรงกันกับผู้เดินทาง LGBTQ+ ทั่วโลกว่า ประสบการณ์การเดินทางส่วนใหญ่ที่พวกเขาเคยเผชิญถือเป็นเรื่องราวที่น่าประทับใจและน่าจดจำ และ 83% ระบุว่าการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม LGBTQ+ ทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจมากยิ่งขึ้นในฐานะผู้เดินทาง 

นอกจากนั้นพวกเขายังแชร์เรื่องราวน่ายินดีที่พบเจอระหว่างออกทริป เช่น 31% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นมิตร และได้รับข้อมูลที่จำเป็นจากผู้ให้บริการที่พัก, 29% เผยว่า พวกเขาได้รับคำแนะนำที่ดี อีกทั้งยังได้ข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ในการท่องเที่ยวระหว่างที่เข้าพัก และ 34% ได้รับความประทับใจแรกพบจากที่พัก ทั้งการได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพนักงาน หรือการได้เครื่องดื่มต้อนรับ 

ผลสำรวจของ Booking.com ยังเผยให้เห็นอีกว่า การให้ความสำคัญกับชุมชน LGBTQ+ ของผู้คนที่อยู่ในจุดหมายปลายทางนั้นๆ คือกุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้เดินทาง LGBTQ+ ตัดสินใจเลือกสถานที่ดังกล่าวเป็นปลายทางในการเดินทางท่องเที่ยว โดยกว่า 75% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยมีแนวโน้มที่จะเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ให้การสนับสนุนชุมชนและประวัติศาสตร์ของ LGBTQ+ ในท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้เดินทาง LGBTQ+ เลือกที่จะเดินทางไปยังจุดหมายที่สนับสนุนชุมชน LGBTQ+ และพวกเขายังคงมองหาบริการจากผู้ให้บริการหรือแบรนด์ที่สนับสนุน LGBTQ+ อีกด้วย 

โดย 75% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยเผยว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะมองหาสิ่งที่น่าสนใจหรือกิจกรรมที่เหมาะกับกลุ่ม LGBTQ+ โดยเฉพาะ ขณะที่ 71% ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก แบรนด์ และผู้จัดกิจกรรมต่างๆ ก่อนทำการจองที่พัก เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของที่พักและผู้ให้บริการด้านการเดินทาง รวมไปถึงแบรนด์เหล่านั้นในการสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ เหตุนี้เอง 82% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยจึงมีแนวโน้มที่จะเลือกที่พัก หรือแบรนด์ใดๆ ที่มีความทุ่มเทในการสนับสนุนชุมชน LGBTQ+ มากกว่า

อย่างไรก็ดี เนื่องจากการเดินทางที่จะต้องเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมและเป็นมิตรสำหรับทุกคน ผลสำรวจล่าสุดนี้จึงเผยให้เห็นถึงโอกาสสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการเดินทางและผู้เดินทาง ในการร่วมมือกันสร้างโลกแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้อย่างแท้จริง โดยในส่วนของ Booking.com หนึ่งในผู้ร่วมขับเคลื่อนแวดวงการเดินทาง ทราบดีว่าที่พักมีบทบาทสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่เท่าเทียมให้กับผู้เดินทางทุกคน จึงดำเนินการเชิงรุกเพื่อให้ทุกคนออกเดินทางโดยเป็นตัวของตัวเองได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น. 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความสำเร็จของแบรนด์กับการใช้Meta

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีประชากร 700 ล้านคน และมี GDP รวมประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก

หวยเกษียณแก้ปัญหาแก่ก่อนรวย

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือหวยเกษียณ ของกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งนี่ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมการออมของประชาชนในประเทศ

เจ็บแล้วจบ

หลังการบริหารงานของรัฐบาลเศรษฐาได้เข้ามาเดินหน้ามาตรการประชานิยมลด แลก แจก แถม จัดเต็ม ตามที่สัญญากันไว้ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ลดค่าไฟฟ้า

3แผนกรีนดันอุตฯไทยรักษ์โลก

เทรนด์รักษ์โลกยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และตลอดปี 2567 ที่ผ่านมานี้หลายหน่วยงาน หลายบริษัทก็ยังไม่ทิ้งอุดมการณ์อันแรงกล้านี้ และยังแห่ประกาศแผนดำเนินงานเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันอย่างคึกคัก

เร่ง“ปรับ”ก่อน(ถูก)“เปลี่ยน”

ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา หลายคนคงตกใจ เพราะหดตัวลงถึง 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าทั้งปีจะหดตัวลงอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี

เปิดไม้เด็ดธุรกิจขนาดเล็กสู้ในตลาด

หากย้อนเวลาไปเมื่อหลายปีก่อน ธุรกิจที่มีทุนหนาและมีส่วนแบ่งการตลาดมาก มักจะถูกมองว่าเป็น “ปลาใหญ่” ที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่าซึ่งเปรียบเหมือน “ปลาเล็ก” จนเป็นที่มาของคำว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หนึ่งในข้อได้เปรียบที่เห็นชัดที่สุดคือ การมี Economy of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าหรือบริการในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ “ยิ่งผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลิตยิ่งลดลง และยิ่งคุ้มค่ามากขึ้น” โดยต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการจะแบ่งออกเป็น ต้นทุนคงที่ (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายเป็นจำนวนคงที่ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่าใดก็ตาม เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่วนต้นทุนผันแปร