ผมตั้งวงคุยในหลายรายการเพื่อหาแนววิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจที่กำลังตกสะเก็ดอย่างแรงสำหรับทั้งโลก...และคนไทยเป็นจำนวนมาก
ผมมีคำถามว่า ประเทศไทยจะเจอกับภาวะ Stagflation คือเศรษฐกิจฝืดเคืองขณะที่เงินเฟ้อพุ่งขึ้นด้วยแล้วหรือยัง
และถ้าเกิดแล้วเราจะทำอย่างไร
คำตอบที่ได้มาน่าจะสรุปว่าเรากำลังเจอกับสภาวะ “ฝืดด้วยเฟ้อด้วย” ค่อนข้างแน่นอน
ไม่ว่าจะเข้าข่ายนิยามของคำว่า recession หรือ “เศรษฐกิจถดถอย” แล้วหรือยังก็ตาม
ผู้รู้ส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่า คนไทยต้องเผชิญกับความยากลำบากทางด้านเศรษฐกิจไปอีกระยะหนึ่งแน่นอน
ยิ่งถ้าหากสงครามยูเครนยืดเยื้อไปถึงสิ้นปีนี้ ก็คาดการณ์ได้ว่าปัจจัยที่เลวร้ายอยู่ขณะนี้จะยิ่งเสื่อมทรุดลงไปอีก
โดยเฉพาะคนหาเช้ากินค่ำและชนชั้นกลางที่อยู่ด้วยรายได้ประจำ
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อกำลังพุ่งทะยาน...แบงก์ชาติพยากรณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะวิ่งขึ้นไปประมาณ 7.5%
และจะขึ้นสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งอาจจะแตะ 8% ได้ด้วยซ้ำไป
แปลว่าราคาข้าวของที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะนี้จะขยับขึ้นไปอีก
โดยไม่สามารถจะบอกได้ว่ามันจะ “พีก” หรือถึงจุดสูงสุด ณ จุดไหนด้วยซ้ำ
ฝ่ายวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่า เศรษฐกิจไทยเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาดีขึ้นต่อเนื่องหากเทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น
แต่ภาคธุรกิจยังได้รับแรงกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่กำลังซื้ออ่อนแอ
โดยเผยว่า 5 เดือนแรกปีนี้ ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
คุณชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ข้อมูลว่า ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านนั้นเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ปัจจัยที่สำคัญคือ การใช้จ่ายภายในประเทศที่กระเตื้องขึ้น และการส่งออกสินค้า อีกทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่ตลาดแรงงานค่อยๆ ทยอยฟื้นตัว แม้ว่าจะยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ก็ตาม
แต่ภาคอุตสาหกรรมยังคงได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต
ทำให้การผลิตในบางภาคส่วนได้รับผลกระทบ และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นตามหมวดพลังงานเป็นสำคัญ
แล้วแนวโน้มสำหรับเดือนมิถุนายนเป็นอย่างไร
แบงก์ชาติคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง เพราะจากเครื่องชี้วัดทั้ง google mobility และดัชนีชี้วัดการเดินทางของประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ พบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
แต่จะไม่ใช่เป็นการเพิ่มขึ้นหวือหวา
จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการระหว่างวันที่ 1-20 มิ.ย.ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการระบุว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
แม้ว่าจะมีประเด็นเกี่ยวกับต้นทุนและราคาสินค้าที่สูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่กดดันการฟื้นตัวอยู่
โดยในกลุ่มภาคการผลิต ภาวะธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกอาหาร ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการที่หลายประเทศระงับการส่งออกอาหาร
ภาคบริการดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร รวมทั้งการขนส่งสินค้า จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ พบว่าความต้องการบ้านแนวราบยังมีอยู่
แต่จากสถานการณ์ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น และความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาพรวมยังทรงๆ อยู่
กลุ่มก่อสร้าง การลงทุนมีการฟื้นตัว แต่ยังมีแรงกดดันจากราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น
ส่วนภาคการค้า พบว่าสินค้าอุปโภคบริโภคได้รับแรงกดดันจากราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น และกำลังซื้อของประชาชนที่อ่อนแอ ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคบางหมวดลดลงบ้าง
ขณะที่ยอดขายสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ จะพบว่ารถยนต์บางรุ่นมียอดผลิตและจัดส่งเพิ่มขึ้น แต่บางรุ่นมียอดจองลดลง
ส่วนหนึ่งมาจากกำลังซื้อที่เปราะบาง และการขาดแคลนชิปเซต ทำให้การส่งมอบต้องใช้เวลา ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจ
คุณชญาวดีแจ้งว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ ธปท.ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่
1.การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้า
2.ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนว่าจะคลี่คลายได้เร็วแค่ไหน และ
3.การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ
โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง
“ตามเครื่องชี้ 2 เดือน (เม.ย.-พ.ค.2565) เศรษฐกิจในภาพรวมฟื้นตัวต่อเนื่อง และถ้าเทียบตัวเลขปีต่อปี เครื่องชี้หลายตัวขึ้นค่อนข้างดี เราจึงมองว่าเศรษฐกิจเรายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และนับตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไป ก็จะเห็นภาพการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และชัดเจนขึ้น ส่วนเงินเฟ้อนั้น ในช่วงไตรมาสที่ 3 น่าจะเป็นช่วงเงินเฟ้อสูงที่สุดในปีนี้” คุณชญาวดีบอก
มีความกังวลเรื่องเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดแตะที่ใกล้ 36 บาทต่อดอลลาร์
ผู้บริหาร ธปท.บอกว่าคงพูดลำบากว่าตัวเลขจะเป็นเท่าไหร่ ในช่วงที่ผ่านมา ด้วยสถานการณ์ของโลกที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นที่ต้องการ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า
ประกอบกับดอกเบี้ยในสหรัฐปรับเพิ่มขึ้น จึงทำให้คนหันไปถือเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น
“เราเป็นอีกด้านหนึ่งของเหรียญ เมื่อดอลลาร์แข็ง เราจะได้รับแรงกดดันด้านอ่อนค่าอยู่แล้ว แต่ถามว่าจะอ่อนไปแค่ไหนนั้น ต้องมองภาพเศรษฐกิจ เพราะค่าเงินควรสะท้อนภาพเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้น ในช่วงหลังของปี หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวกลับเข้ามา ก็คิดว่าความผันผวนด้านอ่อนคงไม่หวือหวา แต่ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านต่างประเทศด้วย”
พรุ่งนี้คุยเรื่อง 6 ความเสี่ยงสำหรับคนไทยในภาวะปั่นป่วนผันผวนยิ่งครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ