ปรับตัวมุ่งสู่ Net Zero

อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ชี้แนะว่า ทางรอดภาคธุรกิจส่งออกไทยต้องปรับตัวมุ่งสู่ Net Zero พร้อมนำนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขณะนี้ทุกเวทีการค้าโลก รวมถึงนักธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับเรื่องสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และพร้อมให้การสนับสนุนสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งในงานเสวนาเรื่อง Fast Track to the Net Zero ที่จัดขึ้นโดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง ซึ่งอรมนได้มีข้อแนะนำทางรอดภาคธุรกิจส่งออกไทยว่า ปัจจุบันทุกเวทีการค้าระหว่างประเทศมุ่งไปสู่การมีส่วนร่วมเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ล่าสุดบนเวที WTO มีสมาชิก 6 ประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฯลฯ

เสนอให้มีการลดภาษีสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม, จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการติดฉลากสิ่งแวดล้อม และขอให้ยกเลิกการอุดหนุนน้ำมันฟอสซิล

ขณะที่ เวทีการประชุม APEC ซึ่งปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ก็ให้ความสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะสมาชิกมีการจัดทำบัญชีรายการสินค้าเพื่อลดภาษีนำเข้าให้เหลือไม่เกิน 5% ใน 54 รายการสินค้า เช่นเดียวกับเวทีของ FTA ยุคใหม่ มักมีประเด็นการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นกัน

สำหรับเวทีใหญ่อย่างกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งมีสมาชิกถึง 197 ประเทศทั่วโลกก็เช่นกัน มีหลักการสำคัญระบุว่า ทุกประเทศมีความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเทศพัฒนาแล้วควรจะมีการดำเนินการที่เข้มข้นกว่าประเทศกำลังพัฒนา และมาตรการที่ใช้แก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ควรเป็นการแอบแฝงการกีดกันการค้า ซึ่งในการประชุมรัฐภาคี UNFCCC ครั้งที่ 26 เมื่อปลายปีที่แล้ว นอกจากข้อตกลงที่จะร่วมมือกันรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีข้อตกลงที่จะเร่งความพยายามในการลดการใช้พลังงานถ่านหิน ยกเลิกการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล และเร่งระดมเงินทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น

ในขณะที่รัฐบาลไทยก็ให้การสนับสนุนมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี พ.ศ.2573 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี พ.ศ.2608 ซึ่งที่ผ่านมามีการดำเนินงานที่สำคัญในเรื่องนี้

ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมของไทยต้องเร่งรีบปรับตัว โดยเฉพาะภาคการส่งออก คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในเรื่องของการปรับตัวให้ทันสถานการณ์ รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ และมุ่งสู่ Net Zero ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแบบ 'Bio-Circular-Green Economy' หรือ BCG ที่ประเทศไทยกำลังพยายามเดินไปในเส้นทางนี้อยู่แล้ว

โดยภาคธุรกิจด้านการผลิตควรเตรียมความพร้อมเรื่องการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรและผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สามารถเป็นที่ปรึกษาในการประเมินเรื่องนี้ รวมทั้งเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย และซื้อขายคาร์บอนเครดิต และสุดท้าย ใช้ความพยายามในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาเป็นจุดขาย เพื่อดึงดูดผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

และทางรอดอีกทางหนึ่งคือ แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยคาร์บอนฯ ซึ่งตอนนี้ FTA ไม่ได้คุยเฉพาะเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องการบริการและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งบริษัทเอกชนของไทยควรศึกษาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น ส่วนผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือ SME ก็ควรจะต้องติดตามและเรียนรู้เทรนด์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามทิศทางของโลก เพื่อนำไปปรับใช้กับการวางแผนธุรกิจด้วย

เพราะขณะนี้ได้เริ่มเห็นกลุ่มประเทศ EU ที่เตรียมจะใช้มาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้านำเข้า โดยมีผลบังคับใช้ในปี 2566 กับสินค้า 5 ประเภท ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอะลูมิเนียม และเตรียมขยายไปในสินค้าประเภทอื่นด้วยในอนาคต ในช่วง 3 ปีแรก (2566-2568) จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้ผู้นำเข้าเพียงแค่รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ EU ทราบ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่ตนนำเข้า.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผ่าแผนรับมือรถติดสร้างสายสีส้ม

จากการที่รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดการจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

เปิดขุมทรัพย์จากพฤติกรรมสุดขี้เกียจ

เชื่อหรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี ทั้งที่ร้านอยู่ใกล้แค่ใต้คอนโดฯ สั่งซื้อของจากร้านสะดวกซื้อทั้งที่ร้านอยู่แค่ฝั่งตรงข้าม หรือยอมจ่ายเงินจ้างคนไปต่อคิวเพื่อซื้อของ ทำธุระ

สงครามการค้าเวอร์ชัน 2.0

อย่างที่ทราบกันดีว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐล่าสุด ผู้ชนะก็คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งคว้าชัยแบบทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต

แห่ส่งเสริมนวัตกรรมพลิกโลก

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือ IoT(ไอโอที) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญในยุคสมัยนี้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้รอยต่อยิ่งขึ้น

OCAแก้วิกฤตพลังงานไทย

ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเข้าขั้นวิกฤต ส่งผลให้ต้องนำเข้าก๊าซ LNG ในราคาที่ผันผวนเพิ่มมากขึ้น มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นของประชาชนและรายได้งบประมาณของรัฐลดลง

แอ่วเหนือ...คนละครึ่งบูมเศรษฐกิจ

จากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทั้งในแง่ของการคมนาคม เดินทางเข้าสู่พื้นที่และความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว