นัวเนียกันจริงๆ!
ไม่รู้ใครเป็นใครแล้ว เปิดศึกกันรอบด้าน ใกล้มวยตับจากเข้าไปทุกที
วานนี้ (๒๗ มิถุนายน) มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองให้พูดกันหลายประเด็น แต่จุดมุ่งหมายตรงกันหมด เพื่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้า
เริ่มที่ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถึงมือรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว
คาดว่าวันที่ ๑๘ กรกฎาคม คงจะได้เปิดศึกน้ำลายกัน
จะกี่วันยังไม่รู้ครับ รอวิปสองฝ่ายหารือ จบเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
แต่เป้าหมายฝ่ายค้านประกาศชัดเจนว่า อภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อให้ประชาชนใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้
ถ้าเป็นตามนี้ฝ่ายค้านเองก็เชื่อว่าโหวตล้มรัฐบาลไม่ได้
ทำได้แค่รอลุ้นว่าจะมีการยุบสภาหรือไม่
หรือนายกฯ ลาออกเมื่อไหร่
หรืออยู่กันครบเทอม
แน่นอนครับในมุมของฝ่ายค้าน อยากเห็นการยุบสภาหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย เพราะ "อุ๊งอิ๊ง" กำลังขึ้นหม้อ
แต่ในมุมรัฐบาล การยุบสภา-ลาออก หลังศึกซักฟอกคือการฆ่าตัวตายชัดๆ
แม้การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะหาสาระอะไรได้ไม่มากนักก็ตามที แต่การสื่อสารยุคนี้โดยเฉพาะการปั่นกระแสในโซเชียลนั้น มองข้ามไม่ได้เลย
ครับ...อีกไม่เกินเดือน ได้เจอกันแน่...ศึกซักฟอกเพื่อการเลือกตั้ง
ช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงเวลา ๙๐ ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๙๐ ปีประชาธิปไตย ๙๐ ปีรัฐสภาไทย มีการจัดเสวนาต่อเนื่องกันมาตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน เถียงกันมานาน ประชาธิปไตยไทยไปไม่ถึงไหนเพราะอะไร
มีทัศนะจาก ๒ อดีตประธานรัฐสภา กับอีก ๑ ประธานรัฐสภา ลองเปรียบเทียบกันดูนะครับ
"วันมูหะมัดนอร์ มะทา"
"...รัฐสภาปัจจุบัน มีช่องทางในการถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภา ทำให้ประชาชนมีโอกาสติดตามบทบาทสมาชิกได้อย่างใกล้ชิด อันจะส่งผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกตามลำดับ และจะส่งผลต่อรัฐบาลด้วย แต่ต้องไม่มีการซื้อเสียง งูเห่า และการแจกกล้วย
ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทำงานของรัฐสภา คือ เราถูกเตะตัดขาจากการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะมีขุนศึก บวกนายทุน และอำนาจนิยมที่ชอบในอำนาจ ซึ่งวันนี้เราก็ยังไม่พ้นวังวนนี้ จนเราได้รัฐบาลที่มาจากการก่อเหตุนี้ ที่ต้องมาคอยดูแลขุนศึก และนายทุน จนทำให้ประชาชนเดือดร้อน เราจึงต้องสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยให้ประชาชน และสร้างความรู้สึกนึกคิดว่า การปฏิวัติเป็นสิ่งชั่วร้าย เพราะประชาธิปไตยที่กินได้ ไม่ได้เกิดจากรัฐประหาร..."
"โภคิน พลกุล"
"...๙๐ ปีรัฐสภา คือ ๙๐ ปีประชาชนบนเส้นทางประชาธิปไตย ผมผิดหวังพอสมควร เพราะคิดว่ารัฐธรรมนูญปี ๔๐ นั้นตกผลึกที่สุด อีกทั้งตอนนี้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติที่ระบุว่าคนไทยจะพ้นกับดักความยากจน แต่ตอนนี้หนี้ครัวเรือนมีกว่า ๙๐% และยังคงมีหนี้ภาครัฐอีก
แต่ผมเชื่อว่าประเทศเรายังมีโอกาส อีก ๑๐ ปีจะครบ ๑๐๐ ปีรัฐสภา เราจะมีมาตรการทางกฎหมายป้องกันการทำรัฐประหารอย่างไร เพราะเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ทุกครั้งที่มีรัฐประหาร พวกเราที่มาจากประชาชน มีจำนวนน้อยมากที่จะลุกขึ้นสู้กับรัฐประหาร ด้วยการไปฟ้องศาลว่าการยึดอำนาจนั้นผิดกฎหมาย
เพราะช่วงแรกพวกยึดอำนาจไม่กล้านิรโทษกรรมตนเอง แต่ปัจจุบันมีการยืนยันออกกฎหมายในรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมให้กับตนเอง ผมอยากให้ผู้ที่มาจากประชาชนทุกคนลุกขึ้นสู้กดดันศาล อย่าให้คนทำลายประชาธิปไตยกลับมาสร้างประชาธิปไตยใหม่ เพื่อให้เส้นทางรัฐสภามีความสง่างาม
ผมมองว่า ๙๐ ปีการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่นำมาซึ่งอำนาจนิยมฝังรากกดทับประชาชน ดังนั้นเราต้องขจัดความคิดนี้เพื่อให้รัฐเอื้อต่อประชาชน เพราะไม่เช่นนั้น อีก ๑๐ ปีก็แก้ไขไม่ได้..."
"ชวน หลีกภัย"
"...การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองน่าเป็นห่วง อดีตความรุนแรงมีอยู่บ้าง แต่ไม่มีการซื้อเสียง อย่างดีคือเลี้ยงเหล้า แต่ตอนนี้ไม่มีใครพูดเรื่องเลี้ยงเหล้าแล้ว เป็นเรื่องธุรกิจการเมือง คำว่าเสียงสามร้อย ห้าร้อย แปดร้อย สมัยก่อนไม่มี นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงในการเมืองเช่นนี้ ซึ่งต้องเอาทุนคืน เป็นที่มาของการทุจริตโกงกิน สภาจึงไม่นิ่งดูดาย เป็นที่มาของโครงการ 'บ้านเมืองสุจริต' โดยเน้นย้ำ รณรงค์เรื่องความสุจริตให้เด็กฟัง
๙๐ ปี วินัยของเรายังไม่ดีเท่าที่ควรก่อให้เกิดปัญหาร้อยแปด เราต้องให้ความสำคัญเรื่องวินัย เพราะคุณภาพคนเป็นสิ่งสำคัญ เป็นโจทย์สำคัญที่จะทำให้ประเทศพัฒนาไปในวันข้างหน้า ทั้งนี้ ช่วงที่เกิดวิกฤตต่อตำแหน่งรัฐมนตรี นักการเมือง มากที่สุด คือช่วงตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ไม่มียุคใดที่มีรัฐมนตรีติดคุกมากเท่าช่วงนั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความเชื่อเรื่องการหาผลประโยชน์ และความไม่เชื่อเรื่องหลักนิติธรรม การปกครองด้วยหลักคุณธรรม ถือเป็นบทเรียนสำคัญมาก เราต้องไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้มาทำลายสถิติ ๑๐๐ ปีข้างหน้าอย่ามาทำลายสถิติคนติดคุก นี่คือวิกฤตของบ้านเมืองอันเกิดมาจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต..."
๓ ทัศนะนี้มีความแตกต่างกันชัดเจน
"วันนอร์-โภคิน" เคยทำงานร่วมกับระบอบทักษิณ ฉะนั้นทั้งคู่โทษการทำรัฐประหารเป็นหลัก
และทั้งคู่หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง การคอร์รัปชันโดยนักการเมือง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทหารนำไปเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร
มันก็นำมาสู่ข้อถกเถียงเดิมๆ ที่ว่า ต้นเหตุความล้มเหลวของประชาธิปไตยไทยนั้นมาจากอะไรกันแน่ ระหว่างนักการเมืองโกง กับรัฐประหาร
ทัศนะจาก "นายหัวชวน" นั้นต่างออกไป
เป็นการตอกย้ำว่า หากการเมืองไม่โกง การเมืองสุจริต มีวินัย ใครก็มาทำลายประชาธิปไตยไม่ได้
รู้สึกประหลาดใจที่นักการเมืองในระบอบทักษิณยังพยายามจะเขียนกฎหมายต่อต้านการทำรัฐประหาร ทั้งๆ ที่รู้ว่าคณะรัฐประหาร สามารถยกเลิกกฎหมายลักษณะนี้ได้ทันทีที่ทำการรัฐประหารสำเร็จ
ขนาดรัฐธรรมนูญก็ไม่รอด ต้องเขียนกันใหม่หมด
คำถามคือทำไมไม่เห็นการนำเสนอกฎหมายปราบคอร์รัปชันจากพรรคการเมืองในระบอบทักษิณเลย
คดีคอร์รัปชันไม่มีอายุความ เพิ่งจะแก้ไขได้สำเร็จหลังการรัฐประหาร ๒๕๕๗ นี่เอง
ใครโกงต้องหนีตลอดชีวิต!
ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโอกาสแก้กฎหมายทำนองนี้เป็นไปได้ยากมาก
สาเหตุไม่มีอะไรมาก เพราะนักการเมืองอยู่ในอำนาจ อยู่ใกล้ผลประโยชน์
โอกาสโกงจึงอยู่แค่เอื้อมนั่นเอง
ฉะนั้นหากจะต่อต้านรัฐประหารแบบมีสาระได้ผลจริงก็มีทางเดียว ปราบโกงให้สิ้นซาก
เสียเวลาเปล่าครับกับการใช้กฎหมายป้องกันการทำรัฐประหาร มี ๑๐๐ ฉบับ ก็ถูกคณะรัฐประหารฉีกทิ้งทุกฉบับ
แต่กฎหมายปราบโกงที่ได้ผลฉบับเดียว ถามหน่อยเถอะครับ คณะรัฐประหารที่ไหนจะกล้าฉีก
ฉีกเมื่อไหร่โดนสหบาทาแน่นอน
ครับ...นี่คือทัศนคติทางการเมือง ของนักการเมืองระดับตำนาน
คนที่เคยทำงานการเมืองกับระบอบทักษิณ ยังคงหลีกเลี่ยงที่จะพูดเรื่องคอร์รัปชัน
โพสต์ในเฟซบุ๊กของ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ยกตัวอย่างไว้ชัดเจน
"...แค่เบื่อลุงตู่นี่ จะต้องหันไปหาลูกคนหนีคุกที่ศาลตัดสินว่าทำผิดในการโกงบ้าน โกงเมืองกันเลยเหรอคะ ไม่ลองเรียกหาคนเก่งคนดีกันหน่อยเหรอคะ
แม้จะเบื่อลุงตู่แค่ไหน ไม่ลองเปรียบเทียบดูหน่อยเหรอคะว่า ๘ ปีลุงตู่กับ ๑๐ กว่าปีของคนแดนไกล ทั้งตัวจริงตัวแทน ความก้าวหน้าของประเทศไทยเป็นเช่นไร
ลุงตู่อาจจะทำอะไรไม่ถูกใจหลายอย่าง แต่ก็ไม่มีเรื่องโกงกินนะคะ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมีเรื่องโกงกินกี่เรื่อง ศาลตัดสินแล้ว คำพิพากษาก็ชัดเจนเป็นเชิงประจักษ์นะคะ
หรือจะบอกว่าไม่คิดถึงอดีต ถ้าเช่นนั้นก็ขอถามว่า ถ้าได้ลูกมาเป็นผู้นำประเทศ มองอนาคตของประเทศไทยไว้ยังไงคะ คิดเรื่อง 'พ่อคิด ลูกทำ' ไว้บ้างไหมคะ
คิดว่าคนเราจะเปลี่ยนสันดานได้ง่ายๆ เหรอคะ..."
คิดอย่างไรกันบ้างครับ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จะล้มทั้งกระดาน
น่าเห็นใจครับ... วานนี้ (๑๒ มกราคม) หมอใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ "พล.ต.ท. นพ.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์" รูดซิปปากแน่น ใส่กุญแจอีก ๑๔ ชั้น ไม่บอกนักข่าวว่าส่งเอกสาร หลักฐาน การรักษาตัว "นักโทษเทวดา" ไปให้ คณะอนุกรรมการสอบสวนเฉพาะกิจ แพทยสภา แล้วหรือยัง
อย่าปล่อยให้เหลิง
นักร้องยังไม่ทำงาน... จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำร้องเกี่ยวกับการปราศรัยของ "ทักษิณ ชินวัตร" ไปยัง กกต.เลยครับ
เจอตอ ชั้น ๑๔
งวดเข้ามาทุกทีครับ... หากไม่มีอะไรผิดพลาด วันที่ ๑๕ มกราคมนี้ พยานหลักฐานกรณีนักโทษเทวาดาชั้น ๑๔ น่าจะอยู่ในมืออนุกรรมการสอบสวนชุดเฉพาะกิจแพทยสภา ชุดที่ คุณหมออมร ลีลารัศมี เป็นประธาน ครบถ้วนสมบูรณ์
'ทักษิณ' ตายเพราะปาก
แนวโน้มเริ่มมา... ปลาหมอกำลังจะตายเพราะปาก เรื่องที่ "ทักษิณ ชินวัตร" ไปปราศรัยใหญ่โต เวทีเลือกตั้งนายก อบจ.หลายจังหวัด ทำท่าจะเป็นเรื่องแล้วครับ
พ่อลูกพาลงเหว
มันชักจะยังไง.... พ่อลูกคู่นี้จะไปได้สักกี่น้ำกันเชียว ก่อนนี้ "ทักษิณ" ริ "ยิ่งลักษณ์" ยำ
นี่แหละตัวอันตราย
การเมืองปีงูเล็กจะลอกคราบ เริ่มต้นใหม่ ไฉไล กว่าเดิม หรือจะดุเดือดเลือดพล่าน ไล่กะซวก เลือดสาดกันไปข้าง