ประกันรายได้ ช่วยขับเคลื่อนเกษตรกร

ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานั้นมีหลายๆ พื้นที่ได้รับอิทธิพลจากพายุหลายลูกที่พัดผ่านประเทศไทย ทำให้ตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงปัจจุบันในเดือนตุลาคมนี้ มีฝนตกชุกจนเกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมใน 50 จังหวัด ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่า จากภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปีที่เกษตรกรได้ดำเนินการปลูกไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นช่วงที่ข้าวกำลังเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาด เมื่อผนวกกับการไหลของน้ำที่ท่วมหลากและในบางพื้นที่มีการแช่ขังของน้ำในระดับสูงนานหลายวัน ทำให้คาดว่าภาพรวมของผลผลิตข้าวนาปีจะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมดังกล่าว

ในเบื้องต้นมูลค่าความเสียหายของข้าวจากผลของน้ำท่วมในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมปี 2564 อาจอยู่ที่ราว 6,300-8,400 ล้านบาท ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าพื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งสิ้นราว 5 ล้านไร่ และเสียหายจากต้นข้าวตายไปประมาณ 30-40% ของพื้นที่นาข้าวทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

และแม้ผลผลิตข้าวบางส่วนจะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม แต่เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในเกณฑ์ดี เอื้อต่อการเพาะปลูกข้าวในภาพรวมทั้งปี ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วงต้นปี ทำให้ภาพรวมผลผลิตข้าวทั้งปี 2564 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ที่ราว 30 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 1.9% ขณะที่ราคาข้าวเฉลี่ยทั้งปี 2564 อาจอยู่ที่ราว 8,700-9,200 บาทต่อตัน หรือลดลง 18.9-23.3%

ทั้งนี้ แม้ในขณะนี้อิทธิพลของพายุคมปาซุได้คลี่คลายลงไปแล้ว ทำให้ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ระดับน้ำที่ท่วมได้ลดลงไปบ้างแล้ว แต่เมื่อมองต่อไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564 ประเทศไทยน่าจะได้รับอิทธิพลจากพายุเขตร้อนตามฤดูกาลที่มีแนวโน้มรุนแรงในภาคใต้ ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนให้อยู่ในระดับสูง ดังนั้นจึงยังคงต้องจับตาถึงระดับความรุนแรงของพายุที่อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชเกษตรหลักในภาคใต้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกร ยังมองว่า จากการประเมินในเบื้องต้นที่ไม่ได้รวมความเสียหายด้านทรัพย์สิน (เช่น ถนน สะพาน เป็นต้น) และยังต้องมีการติดตามระยะเวลาและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นระยะ และอาจมีการทบทวนตัวเลขตามความเหมาะสมในระยะต่อไป รวมทั้งยังต้องติดตามสภาพภูมิอากาศในช่วงระยะข้างหน้าโดยเฉพาะความเสี่ยงจากน้ำท่วมในภาคใต้

และแม้การประเมินตัวเลขความเสียหายดังกล่าวในปีนี้ ที่อาจมีมูลค่าไม่มากเมื่อเทียบกับในอดีตที่มีน้ำท่วมรุนแรงล่าสุดของไทยเช่นในปี 2560 ทั้งในมิติของมูลค่าความเสียหายของข้าวและสัดส่วนมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวมเศรษฐกิจระดับประเทศ แต่ในระดับภูมิภาค เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อคนในพื้นที่ ที่ครัวเรือนก็เผชิญความยากลำบากอยู่ก่อนแล้วจากปัญหารายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ราคาข้าวมีแนวโน้มลดลง) การมีงานทำ การเผชิญปัญหาสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งปัญหาในภาคธุรกิจ SMEs

ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังมองว่าในเดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นช่วงผลผลิตข้าวนาปีออกสู่ตลาดมากที่สุด อาจส่งผลกดดันต่อราคาข้าวให้ปรับตัวลดลงจากปริมาณผลผลิตข้าวที่มีในระดับสูง และข้าวอาจมีความชื้นสูงซึ่งจะถูกกดราคา ก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมรายได้ของชาวนาที่จากช่วงก่อนหน้าผลผลิตข้าวเสียหายจากน้ำท่วมไปแล้ว ประกอบกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังทำให้การส่งออกข้าวก็มีแนวโน้มไม่ดีนัก แถมราคาข้าวมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ

ดังนั้น นโยบายของภาครัฐในโครงการประกันรายได้เกษตรกรระยะที่ 3 (ปี 2564/2565) น่าจะสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนที่ดีในการช่วยประคับประคองรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่ให้ต้องเผชิญความยากลำบากมากนัก.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research