ทำไม นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องนำทีมประเทศไทยไปร่วมประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์, สหราชอาณาจักรในช่วงนี้?
น่าจะเป็นเพราะรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถแสดงตนว่ามีความพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาโลกร้อน หรืออาจจะเป็นเพราะว่าต้องการให้เกิดภาพของผู้นำไทยมีความเป็นสากล
แต่ตราบที่ยังไม่สามารถทำให้คนไทยตระหนักร่วมกันถึงอันตรายของปัญหาโลกร้อนในชีวิตประจำวัน ก็คงยังไม่อาจจะสรุปว่ารัฐบาลไทยประสบความสำเร็จในประเด็นนี้
ทำไมคนไทยต้องสนใจการประชุม COP26?
COP26 คือการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบอนุสัญญาของ UNFCCC ที่มีการลงนามตั้งแต่ปี 1992
ข้อตกลงนี้มีความสำคัญอย่างไรหรือ?
ที่คนไทยต้องรับรู้คือ การพบปะระดับโลกมีจุดประสงค์เพื่อหารือแนวทางที่แต่ละประเทศจะรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ให้ทุกประเทศได้สร้างความตระหนักถึง “ความรับผิดชอบร่วมกัน” ในการรักษาโลกใบนี้ไว้ เพราะมนุษยชาติมีหน้าที่ร่วมกันในการไม่ทำให้เกิดหายนะกับสิ่งแวดล้อมโลก
คนรุ่นนี้จะส่งโลกใบนี้ต่อให้คนรุ่นต่อไปอย่างรับผิดชอบอย่างไร คือคำถามใหญ่ที่ต้องร่วมกันหาทางออกระดับโลก
COP26 ย่อมาจาก Conference of the Parties ครั้งที่ 26 ปีนี้จัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์, สกอตแลนด์ของสหราชอาณาจักรช่วง 1-12 พฤศจิกายน
เจ้าภาพร่วมคือสหราชอาณาจักรกับอิตาลีจะเข้าร่วมประชุมคือผู้นำจากประเทศภาคีสมาชิก 197 ประเทศ
ถึงวันนี้ได้รับคำยืนยันว่าคนระดับโลกที่จะเข้าร่วม เช่น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (หากคณะแพทย์ประจำพระองค์อนุญาต), Sir David Attenborough, Pope Francis รวมถึงนักรณรงค์สิ่งแวดล้อมคนดังอย่าง Greta Thunberg
ไม่นับสื่อมวลชนและองค์กรเอ็นจีโออีกจำนวนมากมายที่ต้องการจะกดดันให้ผู้นำโลกทำตามเงื่อนไขตามข้อตกลงอย่างเป็นรูปธรรม
ปีนี้มีการตอกย้ำถึงความสำคัญของการประชุมรอบนี้อย่างมาก มีความเห็นและแนววิเคราะห์จากบุคคลระดับโลกหลายคนที่ตอกย้ำที่ความจำเป็นเร่งด่วนของการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง พูดมามากแล้ว ถึงเวลาต้องลงมือทำ
เลขาธิการสหประชาชาติอันโตนิโอ กูเตอร์เรส อ้างถึงรายงานของผู้เชี่ยวชาญล่าสุดที่บอกว่า สัญญาณต่างๆ ยืนยันตรงกันว่าโลกกำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า A code red for humanity แปลว่านี่คือการเตือนภัยแบบ 'รหัสแดง'
เท่ากับเป็นสัญญาณเตือนภัยที่รุนแรงอย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ อีกนัยหนึ่งคือคำเตือนที่ว่าภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะไม่จบสิ้นจนกว่ามนุษย์จะหยุดการปล่อยมลพิษเหล่านี้ได้
สาเหตุแห่งโลกร้อนนั้นส่วนใหญ่เป็นฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น
ใครที่ได้อ่านรายงานล่าสุดของคณะผู้เชี่ยวชาญที่ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มหัวข้อนี้จะตระหนักว่าโลกกำลังตกอยู่ในสภาพที่เปราะบาง, สุ่มเสี่ยงและอันตรายเป็นอย่างยิ่ง
คณะทำงานพิเศษชุดนี้มีชื่อว่า คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC หรือ Inter-governmental Panel on Climate Change)
ความจริงย้อนกลับไปรายงานเมื่อปี 2013 คณะนักวิจัยชุดนี้ก็ยืนยันว่า ต้นเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติทั้งสิ้นทั้งปวงนี้ล้วนเกิดจาก "การกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น"
จึงคาดหวังกันว่าการประชุมระดับโลกอย่าง COP26 จะเป็นความหวังสำคัญเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะความร่วมมือและการทำงานอย่างจริงจังของประเทศมหาอำนาจที่เป็น “จำเลยหลัก” ของปัญหานี้
เพราะประเทศยักษ์ๆ ที่มีเศรษฐกิจระดับนำของโลกนั้นมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นลำดับต้นๆ
ทำให้ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะชาติกำลังพัฒนาต้องได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
การพบปะกันครั้งที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้น่าจะเป็น COP21 เมื่อปี 2015 นั่นคือจุดกำเนิดของ “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement) ที่กลายเป็น “เสาหลัก” ของการเรียกร้องให้มีความร่วมมืออย่างจริงจังในระดับโลก
ทุกประเทศต้องมาประกาศเป้าหมายของตนเองว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปในชั้นบรรยากาศเท่าไหร่, เมื่อไหร่ และด้วยแผนปฏิบัติการอย่างไร
ข้อตกลง Paris Agreement ระบุถึงความร่วมมือในการจัดการกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
เช่น การรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส
และพยายามควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
เมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นการสร้างความร่วมมือครั้งแรกๆ และหากมวลมนุษชาติทำได้ จะเป็นการลดการเผชิญหน้ากับผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การประชุมรอบที่แล้ว หรือ COP25 ที่ผ่านมาเดิมทีจะมีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานให้ชัดเจน
เหตุเพราะปีถัดมาคือ 2020 เป็นปีที่ความตกลงปารีสเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการประชุมครั้งนั้นจบลงแบบไร้ข้อสรุปชัดเจน
ผลก็คือทำให้การบรรลุเป้าหมายตาม Paris Agreement ต้องร้องเพลงรอต่อไป การประชุม COP26 ในปีนี้จึงต้องพิสูจน์ว่าจะไม่เหลวอีก
เช่น จะต้องให้เร่งสร้างความร่วมมือจากแต่ละประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงปารีสให้ได้อย่างจริงจัง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลิกใช้ถ่านหิน การส่งเสริมการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน และการผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการระดมทุนครั้งใหญ่เพื่อผลักดันให้ทำสัญญาให้เป็นความจริง
ชาติยักษ์ๆ ได้รับปากว่าจะลงขันกันอย่างน้อย 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการร่วมมือแก้ปัญหาโลกร้อนให้ได้
แต่ถึงวันนี้ยังไปไม่ถึงไหน!
(พรุ่งนี้ : ไทยอยู่ตรงไหนของสมการโลกร้อน?)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'
เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ