ใครต้องรับผิดชอบกรณี วิกฤตอาหารโลกวันนี้?

ใครคือสาเหตุของการทำให้โลกต้องเผชิญกับ “วิกฤตอาหาร” วันนี้?

อเมริกาโทษรัสเซียที่เปิดศึกยูเครน

รัสเซียอัดกลับว่าเป็นความผิดของอเมริกาเอง เพราะไปหนุนหลังยูเครนให้สู้รัสเซีย

อีกด้านหนึ่งจีนกับอเมริกาก็ชี้นิ้วกล่าวโทษกันและกัน

สื่อของทางการจีน The China Daily กล่าวหารัฐบาลกรุงวอชิงตันว่า ราคาอาหารโลกได้ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะการส่งออกธัญพืชของรัสเซียและยูเครนต้องเผชิญกับภาวะชะงักงัน

สาเหตุสำคัญเพราะสงครามทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่งที่ท่าเรือต่างๆ

และเพราะโลกตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียหลายระลอก

แต่สหรัฐฯ แย้งว่าจีนคือผู้กักตุนอาหารรายใหญ่ ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน

ประธานาธิบดีจีนสี จิ้นผิง ได้ย้ำเตือนว่าความมั่นคงทางอาหารคือความกังวลที่สุดของรัฐบาลจีน

เร่งเร้าให้เกษตรกรจีนเพิ่มปริมาณผลผลิตเพื่อรับประกันว่าประเทศจีน ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในโลกจะสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตในครั้งนี้

อเมริกันอ้างว่าความจริงจีนกับสหรัฐฯ สามารถร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารโลก แต่วอชิงตันอ้างว่าจีนอาจกำลังกักตุนอาหารในประเทศ

อีกทั้งยังเดินหน้าเร่งรับซื้อธัญพืชในตลาดโลก ในขณะที่ปักกิ่งควรจะพยายามช่วยเหลือประเทศที่กำลังเดือดร้อนมากกว่า

จีนโต้สหรัฐฯ ว่าการกล่าวหาเช่นนั้นเป็นเรื่องเหลวไหล และเป็นวิธีคิดบนพื้นฐานของอคติต่อจีน

สื่อของทางการจีน Global Times ย้ำว่าทุกวันนี้จีนผลิตธัญพืชป้อนความต้องการในประเทศมากกว่า 95%

จึงไม่มีความจำเป็นเลยที่จีนต้อง 'กักตุนธัญพืช' ในตลาดโลก" และชี้นิ้วกลับมาที่สหรัฐฯ ว่าเป็น “ตัวการใหญ่เบื้องหลังวิกฤติอาหารโลกในปัจจุบัน”

จีนยืนยันว่าปักกิ่งต่างหากที่พยายามช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

ถามว่ามาตรการคว่ำบาตรจากตะวันตกหลายชุดที่มีจุดประสงค์เพื่อลงโทษรัสเซีย เป็นสาเหตุของวิกฤตอาหารโลกวันนี้หรือไม่

ธนาคารโลกชี้ว่า ณ วันที่ 1 มิถุนายน ราคาข้าวสาลีและข้าวโพดในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 60% และ 42% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับราคาในเดือนมกราคมปีที่แล้ว

พอเกิดสงครามยูเครนเท่านั้น ทั้งโลกก็กังวลเรื่องอาหาร เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญป้อนทั้งโลก

ยูเครนได้ชื่อว่าเป็น bread basket หรือ “ตะกร้าขนมปัง” ของยุโรปตะวันตกเลยทีเดียว

เพราะขนมปังส่วนใหญ่ของยุโรปใช้ข้าวสาลีและธัญพืชจากยูเครน

รัสเซียและยูเครนเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก

แต่ปริมาณการส่งออกข้าวสาลี ข้าวโพด และน้ำมันทานตะวัน ต่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังรัสเซียส่งทหารเข้าบุกยูเครน

ประเทศในแอฟริกาต้องพึ่งพาธัญพืชจากรัสเซียและยูเครนอย่างมากในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งผู้นำประเทศในแอฟริกาบางประเทศได้ตำหนิมาตรการลงโทษของชาติตะวันตกว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตอาหารที่เกิดขึ้น

ประธานาธิบดียูกานดา โยเวรี มูเซเวนี บอกว่า "สงครามในยูเครนและมาตรการลงโทษของชาติตะวันตกคือสาเหตุของปัญหาขาดแคลนข้าวสาลี"

ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ซีริล รามาโฟซา ย้ำว่า "แม้แต่ประเทศที่อยู่วงนอก หรือไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งนี้ก็ยังต้องได้รับผลกระทบจากมาตรการลงโทษที่ตะวันตกนำมาใช้กับรัสเซีย"

ประธานสหภาพแอฟริกา แม็กกี ซอลล์ ไปพบประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน สัปดาห์ก่อนระบุว่า ผู้นำรัสเซียพร้อมและต้องการจะเปิดทางให้มีการขนส่งธัญพืชออกจากยูเครน แต่ติดที่มาตรการลงโทษจากชาติตะวันตก

ผู้นำแอฟริกาคนนี้จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่าย "ยกเลิกมาตรการลงโทษในส่วนของข้าวสาลีและปุ๋ยต่างๆ"

แต่ทางนักการทูตของสหรัฐฯ แย้งว่า การพูดถึงมาตรการลงโทษต่อรัสเซียว่าส่งผลกระทบต่อตลาดอาหารโลกนั้นยังมีความเข้าใจผิดอยู่มาก

เพราะในความเป็นจริง สหรัฐฯ มิได้ลงโทษการผลิตและส่งออกอาหารและปุ๋ยของรัสเซีย แต่รัสเซียเองที่ขัดขวางเส้นทางการขนส่งอาหารจากยูเครนและรัสเซียลงไปประเทศทางใต้ของแผนที่โลก

วอชิงตันอ้างว่าอเมริกาและสหภาพยุโรปพยายามที่จะอำนวยความสะดวกในการส่งออกอาหารจากยูเครนให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ยูเครนส่งออกก่อนสงคราม

แต่เพราะรัสเซียได้ยึดครองหรือทำลายแหล่งผลิตธัญพืชของยูเครนไปราว 30% ซึ่งรวมถึงการโจมตีใส่โรงงานแปรรูปและโกดังเก็บธัญพืชขนาดใหญ่หลายแห่ง

คารี ฟาวเลอร์ ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารโลกยืนยันว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยูเครนกำลังผลักดันให้ประชากรโลกราว 40 ล้านคน ต้องเข้าสู่กลุ่มที่ไม่มีความมั่นคงด้านอาหาร

โดยยืนยันว่าที่ผ่านมายูเครนผลิตอาหารป้อนประชากรโลกราว 400 ล้านคน

แต่วันนี้มีธัญพืชปริมาณมากที่ยังคงค้างอยู่ตามโกดังต่างๆ ในยูเครน เพราะไม่สามารถออกจากท่าเรือที่ถูกกองทัพรัสเซียปิดทางหรือขัดขวางอยู่ได้

เดือนก่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ประกาศเพิ่มเงินช่วยเหลือด้านอาหารให้แก่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในแอฟริกา

รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยในประเทศเพื่อชดเชยส่วนที่หายไปของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ที่สุดในโลก

กระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า ได้ให้เงินบริจาค 130 ล้านดอลลาร์ แก่องค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติ หรือ FAO ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามรายงานของ Global Times

ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการเกษตรของจีน ยืนยันว่า จีนคือผู้บริจาครายใหญ่ให้แก่กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาทางการเกษตร หรือ IFAD ซึ่งช่วยสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการด้านการเกษตรในแอฟริกาหลายโครงการ

ผมฟังทุกๆ ฝ่ายที่โยนความผิดไปมาก็สรุปได้เพียงว่า ตราบที่สงครามยังไม่คลี่คลาย, ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องรับผิดชอบกับ “หายนะปากท้อง” ของผู้คนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับสงครามนี้อย่างปฏิเสธไม่ได้แน่นอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศเดียวในโลก ‘นายกฯทับซ้อน’ มหันตภัยปี 2568

นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าสำนักวิจัยต่าง ๆ กำลังวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายสาหัสอะไรบ้างใน

บิ๊กเซอร์ไพรส์ 'สุทธิชัย หยุ่น' เล่นซีรีส์ 'The White Lotus ซีซั่น 3'

เรียกว่าสร้างความเซอร์ไพรส์อย่างต่อเนื่อง สำหรับซีรีส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ซึ่งจะสตรีมผ่าน Max ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2025 เพราะนอกจากจะมี ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า BLACKPINK ไอดอลเกาหลีสัญชาติไทย ที่กระโดดลงมาชิมลางงานแสดงเป็นครั้งแรก ในบทของ มุก สาวพนักงานโรงแรม

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ