ใกล้เข้าไปอีกนิด ชิดๆ เข้าไปอีกหน่อย ขึ้นต้นเป็นเนื้อเพลงที่สอดคล้องกับการ “ปฏิรูปตำรวจ” ที่หลายคนรอคอย หลายคนอยากเห็น หลายคนอยากรู้ เมื่อปฏิรูปแล้ว “ตำรวจ” จะดีขึ้นเหมือนอย่างที่ทุกคนหวังและอยากเห็นหรือไม่
ยิ่งตอนนี้ ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... ใกล้เสร็จสิ้นกระบวนความ รอมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่อึดใจข้างหน้า
ก็อดใจรอกันแทบไม่ไหว
ทั้งการตั้ง “คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ” หรือ ก.พ.ค.ตร. ทำหน้าที่เหมือนศาลปกครองชั้นต้นดูแลให้ความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายให้ตำรวจทุกระดับ ปรับโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร.ใหม่ แม้ยังมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอยู่ แต่ ก.ตร.มีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของตำรวจ และอดีตผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่มาจากการเลือกตั้งของตำรวจเข้ามาเป็น ก.ตร.มากขึ้น เพื่อให้มีเสียงข้างมากคานอำนาจฝ่ายการเมือง
ให้ตำรวจทุกระดับตั้งแต่ ผบ.หมู่ขึ้นไปเลือกตั้ง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้เลือกอดีตผู้บังคับบัญชาที่ตัวเองมองว่าจะเป็นหลักประกันความสุจริตยุติธรรมให้ได้เข้ามาเป็นปากเป็นเสียง กำหนดเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายไว้ในกฎหมายหลักมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ยึดหลักอาวุโสและความรู้ความสามารถ เพื่อให้ยากต่อการแก้ไขกว่าที่ผ่านมา กำหนดให้นำผลการประเมินความพึงพอใจที่ประชาชนได้รับจากตำรวจมาประกอบการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย มีการตัดบทบัญญัติที่เปิดช่องให้มีข้อยกเว้นทุกกรณีในการจะเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายที่กำหนดไว้ในกฎหมายหลัก
แค่โหมโรงหนังตัวอย่างการ “ปฏิรูป” ที่ออกมา ก็ดูสดใสซาบซ่า ดูน่าจะมีแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้เหล่าบรรดา “สีกากี” ไร้เส้น ไร้สาย ได้ลืมตาอ้าปาก
จะว่าไปเรื่องการ “ปฏิรูปตำรวจ” เคยมีโอกาสได้คุยกับอดีตตำรวจระดับ “นายพล” แบบเว้ากันซื่อๆ ว่า จริงๆ หัวใจในการปฏิรูปตำรวจคืออะไรกันแน่
คำตอบที่ได้รับดูน่าสนใจ เป็นอีกมุมมอง ที่ต้องพยักหน้าพร้อมบอก...เออก็ใช่
อดีตนายพลท่านนั้นบอก...ปัญหาความวุ่นวายของตำรวจที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากกฎ ไม่ได้เกิดจากระเบียบ ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างอะไรเลย ทุกอย่างที่ “ผู้บังคับบัญชา” ในอดีตวางไว้ดีอยู่แล้ว อาจมีการแก้ไข ปรับปรุงกันบ้าง ให้ทันยุคทันสมัย ทันสถานการณ์
แต่สิ่งที่ควร “ปฏิรูป” มากที่สุด คือ “ผู้บังคับบัญชา” ผู้ที่ใช้อำนาจ!!!
หลายยุค หลายสมัย “ผู้บังคับบัญชาตำรวจ” ไม่ยึดกฎ ไม่ยึดกติกา ไม่ยึดระเบียบที่มีอยู่ ปล่อยตัวเป็นไม้หลักปักขี้เลน ใช้ช่องโหว่ ช่องว่างของกฎ ของระเบียบ เอื้อต่อ “อำนาจ” ที่เหนือกว่า จากคนเป็นสองคน เป็นสามคน เป็นสิบคน เป็นร้อยคน บางครั้งก็ปล่อยให้มีการแก้กฎ แก้ระเบียบ เพื่อประโยชน์แก่บางคน บางกลุ่ม
สุดท้าย “องค์กรตำรวจ” ก็เสียหาย จนสังคมเรียกร้องให้มีการ “ปฏิรูป” เกิดขึ้น
ไหนๆ เมื่อมีการ “ปฏิรูปตำรวจ” ผ่านร่าง พ.ร.บ.ตำรวจฉบับใหม่ ที่ทุกฝ่ายพยายามทำให้เกิดความเป็นธรรมทั้งกับ "ตำรวจ” และ “ประชาชน” แล้ว
“ผู้บังคับบัญชา” ผู้มีอำนาจ ก็ต้องปฏิรูปตัวเองด้วย ทุกอย่างถึงจะดีขึ้น
ไม่เช่นนั้นจะ “ปฏิรูปตำรวจ” เป็นร้อยรอบ พันรอบ ก็ไม่มีความหมาย
สุดท้ายก็เหลวเป๋วเหมือนเดิม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นัดประชุม ก.ตร.
การนัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ที่มี นายกฯ อิ๊งค์-แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน
เกร็งไปหมด!
ออกอาการเกร็งอย่างเห็นได้ชัด การจัดโผ "นายพล" ล็อตสอง ระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.)-ผู้บังคับการ (ผบก.) วาระประจำปี 2567 หรือนายพลเล็ก ยศ พล.ต.ต. ทั่วประเทศ
แต่งตั้ง ตร.วุ่น!
ปวดหมองแทน ผบ.ต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร แม่ทัพใหญ่สีกากี กว่าจะฝ่าฝุ่นตลบงวดแต่งตั้ง "นายพลใหญ่" ระดับ รองผบ.ตร.และจเรตำรวจแห่งชาติ ถึง ผู้บัญชาการ(ผบช.) ยศ พล.ต.อ.-พล.ต.ท.วาระประจำปี 2567 มาได้ก็แทบต้องเรียกหายาพารา
เชื่อมือ 'ผบช.ไซเบอร์'
แก๊งคลอเซ็นตอร์ แก๊งมิจฉาชีพ แก๊งหลอกลงทุน ที่มาในหลากหลายรูปแบบ ยังคงออกอาละวาดสร้างความวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อน ให้ผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกสถานะ ไม่หยุดหย่อน
'นายพล' ล็อตสอง!
ไม่ปล่อยให้รอนาน บิ๊กต่าย-พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. เคาะระฆังส่งสัญญาณเริ่มการแต่งตั้ง "นายพล" ล็อตสอง ระดับ รองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.) ถึง ผู้บังคับการ (ผบก.) วาระประจำปี 2567 เรียบร้อยแล้ว
ประสบการณ์ใหม่!
ต้องเรียกว่าเป็นการเปิดโลกแวดวง "สีกากี" ครั้งใหม่ ครั้งใหญ่ ครั้งสำคัญ ในการแต่งตั้ง "ตำรวจ" ระดับ "นายพล" ที่ "ก.ตร." จับมือยึดกฎ ยึดเกณฑ์ ยึดกติกา ยึดข้อกฎหมายเป็นกำแพงเหล็ก